วัคซีนที่แนะนำและตารางการรับวัคซีนของเด็กช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่นและวัยรุ่น:อายุ 7-18 ปี (Recommended Immunizations for age 7-18 Years Old)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

วัคซีน (Vaccines) เป็นสารชีววัตถุ (Biological preparation หรือ Biological product) ที่ได้จากจุลชีพ หรือสารชีวพิษ (Toxin) ของเชื้อโรค เพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน/ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ มนุษย์ได้เรียนรู้การพัฒนาวัคซีนมานานแล้วจากความพยายามในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่น การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) เป็นต้น

แม้วัคซีนมีที่มาจากตัวของจุลชีพเองหรือจากสารพิษ แต่ก็ได้มาผ่านกระบวนการทางการ แพทย์ที่ทำให้จุลชีพหรือสารพิษเหล่านั้นไม่คงฤทธิ์ต่อการเกิดโรคได้ หากแต่ยังมีความ สามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

วัคซีนมี 4 ประเภทได้แก่

1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ทำให้เชื้อโรคนั้นๆตายแล้วเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ

2. วัคซีนเชื้อเป็น (Live attenuated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากเชื้อโรคที่ยังมีชีวิต แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคได้แล้ว หากแต่ยังมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันร่างกายได้อยู่เช่น วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนโปลิโอ

3. วัคซีนซับยูนิต (Subunit Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากบางชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสหรือของแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคสูงเช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี

4. วัคซีนทอกซอยด์ (Toxoid): เป็นวัคซีนที่ผลิตได้จากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นเช่น วัค ซีนบาดทะยัก

เมื่อกล่าวถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันนั้น กลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก จึงมีการกำหนดแผน การให้บริการวัคซีน หรือ “ตารางการรับวัคซีน/ตารางวัคซีน/ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน (Immunization schedules)” ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆและของประ เทศไทย (ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีตารางวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขแตกต่างกันตามลักษณะ ของโรคต่างๆของแต่ละประเทศนั้นๆ) และยังมีตารางวัคซีนที่แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ สตรี รวมถึงวัยชรา/ผู้สูงอายุนั้น ในกลุ่มคนบางกลุ่มอาจมีความจำเป็นที่ต้องได้รับวัคซีนด้วย ตารางวัคซีนจึงไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ เท่านั้นที่ควรทราบ หากมีข้อสงสัยในเรื่องของการรับวัคซีนชนิดต่างๆ สามารถสอบถามได้จาก แพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ใกล้บ้านของท่าน หรือจากสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ก็ได้

อนึ่ง สามารถอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละวัคซีนได้ในเว็บ haamor.com เช่น ในเรื่องตารางการให้วัคซีนที่รวมถึงตารางการฉีดกระตุ้น วิธีให้วัคซีน ผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นๆ เป็นต้น เช่น วัคซีนหัด วัคซีนหัดเยอรมัน วัคซีนคางทูม

กลุ่มคนในช่วงวัยก่อนวัยรุ่นรวมถึงวัยรุ่นเองนั้น เป็นกลุ่มที่ยังคงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อชนิดต่างๆ แม้ร่างกายได้มีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายได้ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดีคนกลุ่มวัยนี้ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับวัคซีนบางชนิด หรือพิจารณาเข้ารับวัคซีนบางชนิดที่ตนอาจมีความเสี่ยง ผู้ที่มีอายุในช่วงนี้ กระทรวงสาธารณ สุขไทยยังมีแผนการให้บริการวัคซีนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในบางรายการ รวมถึงยังมีวัคซีนบางชนิดที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อประ เทศสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำได้แก่

ตารางวัคซีนสำหรับเด็กอายุก่อนเข้าสู่วัยรุ่นและวัยรุ่น (7 - 18 ปี)

วัคซีนที่แนะนำและตารางการรับวัคซีนของเด็กช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่นและวัยรุ่น

หมายเหตุ:

/สีชมพู: คือวัคซีนที่อยู่ในแผนการให้บริการแก่เด็กของกระทรวงสาธารณสุข และวัคซีนที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำให้แก่เด็กไทยทุกคน

/สีม่วง: คือวัคซีนที่ได้รับการแนะนำเป็นวัคซีนเสริมของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย หรือเป็นวัคซีนแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อ ประเทศสหรัฐอเมริกา

คำอธิบายตัวย่อของชื่อวัคซีนในตาราง:

1. MMR หรือ MMRV (Mump, Measle, Rubella Vaccine): วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม

2. Influenza (Influenza Vaccine): วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

3. Td (Tetanus and Diptheria Vaccine): วัคซีนป้องกระตุ้นภูมิโรคคอตีบ และโรคบาด ทะยัก

4. Tdap (Tetanus, Diptheria, Pertussis Vaccine): วัคซีนกระตุ้นภูมิ โรคคอตีบ โรคบาด ทะยัก โรคไอกรน

5. HPV (Human papilloma virus vaccine): วัคซีนเอชพีวี

6. Meningococcal (Meningococcal Vaccine): วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

7. V: คือ Vaccine

บรรณานุกรม

  1. Guidelines for Vaccinating Pregnant Women. US CDC. http://www.cdc.gov/vaccines/pregnancy/hcp/guidelines.html [2016,Nov19]
  2. Immunization Schedules for Infants and Children. US CDC. https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/child.html [2016,Nov19]
  3. Immunization Schedules for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/preteen-teen.html [2016,Nov19]
  4. Meningococcal Vaccines for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/parents/diseases/teen/mening.html [2016,Nov19]
  5. Recommended Adult Immunization Schedule United States 2016. US CDChttps://www.cdc.gov/vaccines/schedules/downloads/adult/adult-combined-schedule.pdf [2016,Nov19]
  6. สันต์ ใจยอดศิลป์. วัคซีนในผู้ใหญ่ (Adult Vaccination)http://visitdrsant.blogspot.sg/2013/05/adult-vaccination.html [2016,Nov19]
  7. Immunological products and vaccines. บัญชียาหลักแห่งชาติ. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/14 [2016,Nov19]
  8. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. http://www.pidst.net/A478.html [2016,Nov19]
  9. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal vaccine). บลอคคลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน http://www.thaitravelclinic.com/blog/th/travel-medicine-issue/thai-meningococcal-vaccine.html [2016,Nov19]
  10. วิทยา ภิฐาพันธุ์. วัตซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในรายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=428 [2016,Nov19]
  11. สธ. และ สปสช. รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน จำนวน 3.1 ล้านโด๊ส เริ่มดำเนินการ 1 พ.ค. 59 ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=82415 [2016,Nov19]
  12. หน่วยของ Anti-D ทำไมแตกต่างกัน. ศิริราชเภสัชสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 2558