ลิโดเคน วิสคัส (Topical Lidocaine Viscous)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ลิโดเคน (Lidocaine หรือ Lidocaine hydrochloride หรือ Lidocaine HCl หรือ Lignocaine) จัดเป็นสารเคมีกลุ่มอะมิโน เอไมด์ (Amino amide: สารเคมีที่ทำให้ เกิดอาการชา) ถูกสังเคราะห์โดยนักเคมีชาวสวีเดน และวางจำหน่ายภายใต้ยาชื่อการค้าที่คนรู้จักกันดีว่า ไซโลเคน (Xylocaine) เมื่อปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492)

ลิโดเคน ถูกนำมาใช้เป็นยาชา ลดอาการเจ็บปวดในการทำหัตถการทางการแพทย์ได้มาก มายโดยไม่ต้องพึ่งยาสลบ อีกทั้งยังออกฤทธิ์เร็ว ตัวอย่างของการใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ได้แก่ ลดอาการปวดตามปลายประสาทของผู้ป่วยด้วยโรคงูสวัด ลดอาการเจ็บแผลในปาก (เช่น แผลร้อนใน ) เจ็บคอจากทอลซิลอักเสบ เป็นต้น

ยาลิโดเคนสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานได้ประมาณ 35% และจากการทาสัมผัสผิวหนังได้ประมาณ 3% โดยยาเริ่มออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 - 90 วินาทีนับจากได้รับยา และฤทธิ์ของยาชาจะคงอยู่ประมาณ 10 - 20 นาที อวัยวะตับจะเป็นตัวเปลี่ยนโครงสร้างของลิโดเคน ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 1½ ชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง เพื่อกำจัดยานี้ออกจากร่างกาย 50% (Half Life) โดยผ่านมากับปัสสาวะ

ยาลิโดเคน วิสคัส (Lidocaine Viscous) คือ ยาลิโดเคนที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ที่จัดจำ หน่ายในรูปแบบของยาน้ำซึ่งทำเป็นสารละลายข้น เพื่อใช้เป็นยาทาหรือยาอม

นอกจากใช้เป็น ยากิน ยาอม และยาทาแล้ว ยาลิโดเคนยังมีการจัดจำหน่ายในรูปแบบของยาฉีดเข้าเส้นเลือด, ฉีดเข้าผิวหนัง, และชนิดสเปรย์พ่นอีกด้วย เราสามารถพบเห็นและซื้อยาลิโดเคนในรูปแบบของยาชาเฉพาะที่ได้ตามร้านขายยาใหญ่ๆ อีกทั้งมีใช้ในสถานพยาบาลทั่วไป

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ลิโดเคน

สรรพคุณของยาลิโดเคน วิสคัส ได้แก่

  • บรรเทาอาการเจ็บแผลในปากและลำคอ เช่น จากแผลร้อนใน, จากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง, หรือผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งในส่วนศีรษะ และลำคอ
  • ใช้กับหัตถการทางทันตกรรม เช่น ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดเหงือก

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาลิโดเคน วิสคัส/ยาลิโดเคน มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยจะปิดกั้นการส่งกระแสประสาทในบริเวณที่ได้รับยา ทำให้ความรู้สึกต่างๆถูกจำกัดและมีอาการชาเกิดขึ้น

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาลิโดเคนที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ มีรูปแบบการจัดจำหน่าย ดังนี้

  • ยาน้ำที่เป็นสารละลายข้นที่เรียกว่า ยาลิโดเคน วิสคัส (Lidocine Viscouse) ขนาดความแรง 2%

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นของการใช้ยาลิโดเคน เป็นยาชาเฉพาะที่ (Topical Lidocaine) เช่น

  • ยาเจล (Lidocaine Jelly) ขนาดความแรง 2%
  • ยาพ่น (Lidocaine Spray) ขนาดความแรง 10%

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีวิธีการใช้อย่างไร?

วิธีการใช้ยาลิโดเคนวิสคัส ได้แก่

  • วิธีการใช้ยาลิโดเคน วิสคัส เพื่อบรรเทาอาการเจ็บจากแผลในปาก ของผู้ใหญ่: เทยาใส่ช้อนตวงตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ โดยที่ปริมาณสูงสุดในการใช้ต่อครั้งต้องไม่เกิน 15 มิลลิลิตร จากนั้นให้อมกลั้วยาภายในช่องปาก ทิ้งไว้สักพัก จนรู้สึกชาหรือหายปวด แล้วบ้วนทิ้ง ห้ามกลืน และไม่ต้องบ้วนน้ำตาม (หรือใช้ยาตามวิธีที่แพทย์แนะนำ) โดยใช้ยาลิโดเคน วิสคัสได้ทุก 3 ชั่วโมง หรือไม่ควรใช้เกิน 8 ครั้งต่อ 24 ชั่วโมง
  • ขนาดการใช้ ลิโดเคน วิสคัส สำหรับเด็ก:

ให้คำนวณขนาดการใช้ยาจากน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเด็ก โดยต้องใช้ยาตามคำแนะนำของ แพทย์เท่านั้น และต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงลิโดเคน วิสคัส ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดัง นี้

  • ประวัติแพ้ยาทาเฉพาะที่ชนิดใดหรือไม่
  • มีโรคประจำตัว เช่น โลหิตจาง หรือโรคจี-ซิก-พีดี (G-6-PD: ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี) หรือไม่

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ที่อาจพบได้หลังการใช้ยาลิโดเคน วิสคัส เช่น คลื่นไส้ วิงเวียน ง่วงนอน

สำหรับผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงมากกว่านี้ เช่น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ง่วงนอนมาก หงุด หงิด สับสน มีอาการชัก เป็นลม ตาพร่า เป็นต้น และ

หากมีอาการเข้าขั้นแพ้ยา จะมีอาการผื่นคันขึ้นที่ผิวหนัง มีอาการบวมตามหน้า-ลิ้น-ลำคอ วิงเวียนศีรษะมาก หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก

ดังนั้น หากมีอาการข้างต้นให้รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที

มีข้อควรระวังการใช้ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาลิโดเคน วิสคัส ได้แก่

  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาลิโดเคน
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชาตัวอื่นที่นอกเหนือจากยาลิโดเคน
  • หลังใช้ยานี้แล้ว มีอาการวิเวียนหรือง่วงนอน แนะนำว่าไม่ควรขับรถหรือไปทำงานที่เกี่ยว กับการควบคุมเครื่องจักร
  • ระวังการใช้ยากับหญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาลิโดเคน วิสคัสด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

การใช้ยาลิโดเคน วิสคัส ร่วมกับยาบางกลุ่ม อาจทำให้เกิดภาวะที่เม็ดเลือดแดงของร่างกายลดความสามารถในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายหรือที่เรียกว่า Methemo globinemia นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเสี่ยงของการใช้ยานี้ร่วมกันกับผู้ป่วยด้วยโรคจี-ซิก-พีดี (G-6-PD) และโรคโลหิตจาง โดยจะพบอาการบ่งบอก เช่น ผิวหนังและปากซีด คลื่นไส้ ปวดศีรษะ วิง เวียน อ่อนเพลีย หายใจแผ่วและระรัว หัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล และสับสน ยากลุ่มดังกล่าวเช่น ยาชาเฉพาะที่ตัวอื่น (เช่น Prilocaine), ยารักษาพิษจากสารไซยาไนด์/Cyanide (เช่น Sodium Ni trate และ Sodium Thiosulfate) เป็นต้น

ควรเก็บรักษายาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสอย่างไร?

ควรเก็บยาลิโดเคน วิสคัส ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส บรรจุในภาชนะที่ปิดมิด ชิด เก็บให้พ้นแสงสว่างและแสงแดด ไม่เก็บยาในห้องน้ำ และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน วิสคัสมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาลิโดเคน วิสคัสในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Xylocaine Topical viscous (ไซโลเคน ท็อปปิคัล วิสคัส)AstraZeneca

บรรณานุกรม

  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Lidocaine#History[2017, July29]
  2. http://www.rxlist.com/xylocaine-viscous-drug/patient-images-side-effects.html[2017, July29]
  3. http://www.mims.com/thailand/drug/info/xylocaine%20topical[2017, July29]
  4. http://www.rxlist.com/xylocaine-viscous-drug.html[2017, July29]
  5. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-7454/xylocaine-viscous-mucous-membrane/details[2017, July29]
  6. https://www.drugs.com/drug-interactions/lidocaine-topical.html[2017, July29]
Updated 2017,July29