รู้ตัวอีกที (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

รู้ตัวอีกที-3

      

      สำหรับวิธีทดสอบต่างๆ ได้แก่

• การตัดชื้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy) ซึ่งเป็นวิธีแน่นอนที่แพทย์จะสามารถรู้ว่าบริเวณนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่

• การตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเชื้อ (Molecular testing)

• การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Endoscopy / gastroscope)

• การส่องกล้องติดอัลตราซาวนด์ตรวจทางเดินอาหาร (Endoscopic ultrasound = EUS)

• การเอ็กซเรย์

• การกลืนแป้ง (Barium swallow) แล้วจึงถ่ายเอ็กซเรย์

• การตรวจซีทีสแกน

• การตรวจเอ็มอาร์ไอ

• การตรวจเพ็ท (PET) หรือ เพ็ทซีทีสแกน (PET-CT scan)

• การใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะทางอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy)

      สำหรับการรักษาโรคขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรค ผลข้างเคียง สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เช่น

• การผ่าตัด เป็นการผ่าเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงออก ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัดแบบเอากระเพาะอาหารออกบางส่วน (Subtotal gastrectomy) หรือเอาออกทั้งหมด (Total gastrectomy) โดยแพทย์จะเชื่อมหลอดอาหารให้ต่อกับลำไส้เล็กโดยตรง

      อย่างไรก็ดี การผ่าตัดกระเพาะอาหารมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เพราะหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกินอาหารได้ครั้งละไม่มาก และมีภาวะที่อาหารผ่านกระเพาะอย่างรวดเร็วเข้าสู่ลำไส้ (Dumping Syndrome) ซึ่งได้แก่ อาการเป็นตะคริว คลื่นไส้ ท้องเสีย และเวียนศีรษะหลังการกิน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ตัดกระเพาะออกทั้งหมดอาจต้องมีการฉีดวิตามินบี 12 เป็นประจำ เพราะไม่มีกระเพาะอาหารที่ทำหน้าที่ดูดซึมวิตามินนี้ได้อีกต่อไป

• การใช้รังสีบำบัด (Radiation therapy) หากใช้ก่อนการผ่าตัดจะมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ขนาดของก้อนมะเร็งเล็กลง แต่ถ้าใช้หลังการผ่าตัดจะเป็นการทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่

      โดยผลข้างเคียงของรังสีบำบัด ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย มีปฏิกริยาของผิวหนังบริเวณที่ถูกรังสี

• การใช้ยา (Systemic therapies) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งประกอบด้วย

      o เคมีบำบัด (Chemotherapy)

      o การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)

      o การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

      ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สิ่งที่ทำได้คือ การลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การกินอาหารที่มีประโยชน์ กินผักและผลไม้สด กินธัญพืชไม่ขัดสี กินปลา สัตว์ปีก หรือถั่ว แทนการกินเนื้อที่ผ่านกระบวนการ (Processed meat) หรือสัตว์เนื้อแดง (Red meat) การออกกำลังกาย และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เป็นต้น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stomach cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stomach-cancer/symptoms-causes/syc-20352438 [2019, April 30].
  2. Stomach Cancer: Introduction. https://www.cancer.net/cancer-types/stomach-cancer/introduction [2019, April 30].
  3. Can Stomach Cancer Be Found Early? https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/other-conditions/myelodysplastic-syndromes/about [2019, April 30].