รังสีร่วมรักษา (Interventional radiology)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 กันยายน 2558
- Tweet
- รังสีวิทยา (Radiology) รังสีวินิจฉัย (Diagnostic Radiology) ฉายาเวชศาสตร์ (Imaging Medicine) รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา (Therapeutic Radiology and Oncology) และ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Medicine)
- รังสีที่ใช้ตรวจและรักษาโรค
- รังสีจากการตรวจโรค รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา (Ionizing radiation)
- รังสีรักษา ฉายรังสี ใส่แร่ (Radiation therapy)
- อัลตราซาวด์ (Ultrasonogram)
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (X-ray Computerized Tomography) / ซีทีสแกน (CT-scan)
- เอมอาร์ไอ (MRI / Magnetic Resonance Imaging)
- เอกซเรย์: การถ่ายภาพเอกซเรย์ (X-ray imaging)
รังสีร่วมรักษา (Interventional radiology) คือ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรควิธีการหนึ่งโดยแพทย์เฉพาะทางสาขารังสีวินิจฉัยและ/หรือรังสีวิทยาทั่วไป (แผนกเอกซเรย์)
การวินิจฉัยโรคทางรังสีร่วมรักษาโดยการเจาะ/ดูดเซลล์เพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา แต่ทั้งนี้ที่แตกต่างจากแพทย์สาขาอื่นคือ ตรวจและ/เจาะ/ดูดภายใต้การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ และ/หรือด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ จึงเพิ่มความแม่นยำในการตรวจ
การรักษาโรคทางรังสีร่วมรักษาคือ การรักษาโดยการสอดสวนท่อขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง เข้าสู่หลอดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดโรค โดยทำภายใต้การตรวจทางเอกซเรย์เช่นกันจึงเพิ่มความแม่นยำในการรักษา หลังจากนั้นจึงใส่ยาฉีดเข้าทางท่อนั้นสู่เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆโดยตรงเพื่อรักษาโรคนั้นๆ (เช่น ในการรักษาโรคมะเร็งตับ) หรือใส่สารอุดตันหลอดเลือดนั้นๆเพื่อให้หลอดเลือดอุดตัน จึงตัดการหล่อเลี้ยงก้อนเนื้อมะเร็ง ก้อนเนื้อเหล่านั้นจึงตายเพราะขาดเลือดเช่น ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ในการรักษาภาวะเลือดออกรุนแรงเช่น ภาวะเลือดออกในลำไส้ใหญ่รุนแรง หรือในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
Updated 2015, Aug 29