ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

กลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) เป็นยาปฏิชีวนะประเภท เบต้า-แลคแตม (B- Lactam antibiotic) โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากเชื้อราที่รู้จักกันในชื่อว่า Cephalosporium โดยยา เซฟาโลสปอริน มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและชนิดแกรมลบ และถูกจำแนกออกเป็น 5 รุ่นย่อย (Generation) ดังนี้

รุ่นที่ 1 (First generation ): ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แต่ต่อต้านแบคทีเรีย แกรมลบได้ในระดับกลางๆเท่านั้น ยาในกลุ่มนี้บางตัวถูกขับออกจากร่างกายได้เร็ว แต่บางตัวถูกขับออก ได้ช้าด้วยมีการจับกับโปรตีนในเลือดสูง หากใช้กับผู้ป่วยโรคไตต้องลดขนาดยาหรือปรับขนาดการ ใช้ให้น้อยลง ตัวอย่างยาในรุ่นนี้ ได้แก่ Cefacetrile, Cefadroxil, Cephalexin, Cefaloglycin, Ceftezole, Cefalonium, Cefaloridine, Cefalotin, Cefapirin, Cefatrizine, Cefazaflur, Cefazedone, Cefazolin, Cefradine Cefroxadine ในบรรดาเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 1 Cefazolin เป็นยาที่ใช้กันมากที่สุด

รุ่นที่ 2 (Second generation): ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบได้มากยิ่งขึ้น และยังใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก ยาในรุ่นนี้อยู่ในร่างกายได้นานและมีการจับกับโปรตีนในเลือดสูง สามารถให้ยาคนไข้ได้วันละครั้งหรือ 2 ครั้งแล้วแต่รูปแบบของยา ที่มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายของการรักษาได้ระดับหนึ่ง หากใช้กับผู้ป่วยโรคไตต้องลดขนาดยาเช่นเดียวกับรุ่นที่ 1 ตัวอย่างยาในรุ่นนี้ ได้แก่ Cefaclor, Cefonicid, Cefprozil, Cefuroxime, Cefuzonam , Cefmetazole, Cefotetan, Cefoxitin, Cefoxitin, Cefotiam, loracarbef, Cephamycins, Cefmetazole, Cefminox, Cefotetan, Cefbuperazone

รุ่นที่ 3 (Third generation ): ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ อีกทั้งครอบคลุมเชื้อแบค ทีเรียที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อยากลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่น 1, 2 เช่น เชื้อแบคทีเรีย Enterobacter Serratia และเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas แต่ในเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกกลับมีผลตอบสนองน้อยลง ยารุ่นนี้นำมาใช้รักษาโรคหนองในเทียม รวมถึงโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่ซับซ้อนมากขึ้น ตัวอย่างยาในรุ่นนี้ ได้แก่ Cefcapene, Cefdaloxime, Cefdinir, Cefmenoxime, Cefditoren, Cefetamet, Cefixime, Cefodizime, Cefotaxime, Cefovecin, Cefpimizole, Ceftamere, Ceftibuten, Ceftiofur, Cefpodoxime, Cefteram, Ceftiolene, Ceftizoxime , Cefoperazone, Ceftazidime

รุ่นที่ 4 (Fourth generation): ใช้ได้ดีกับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกเหมือนรุ่นที่ 1 และครอบคลุมถึงเชื้อแบคทีเรียที่มีความต้านทานกับยากลุ่มเซฟาโลสปอริน รุ่นที่ 3 อีกด้วย มีการนำยาในรุ่นนี้มารักษาการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง(เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) ด้วยตอบสนองการรักษาได้ดี ตัวอย่างยาในรุ่นนี้ ได้แก่ Cefclidine, Cefepime, Cefluprenam, Cefoselis, Cefozopran, Cefpirome, Cefquinome

รุ่นที่ 5 (Fifth generation): ใช้ได้ดีกับเชื้อแบคทีเรียที่มีการดื้อยาทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ ตัวอย่างยาในรุ่นนี้ ได้แก่ Ceftobiprole, Ceftaroline

หมายเหตุ:

ยาบางตัวในกลุ่มเซฟาโลสปอรินได้ถูกบรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมวดยาอันตราย มีข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง คำเตือนที่แตกต่างกันออกไป การใช้ยาที่ปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วย จึงต้องอยู่ภายในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

ยาเซฟาโลสปอรินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาเซฟาโลสปอริน

ยาเซฟาโลสปอรินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน (Soft-tissue) ตามร่าง กาย
  • รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั้งชนิดที่ไม่ซับซ้อนและซับซ้อน เช่น จากโรคหนองในเทียม ทั้งนี้ขึ้นกับรุ่นของยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน
  • รักษา การติดเชื้อแบคทีเรียของเยื่อหุ้มสมอง/เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง
  • รักษาการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง/ปอดอักเสบ/ปอดบวม
  • ป้องกันการติดเชื้อระหว่างการผ่าตัด

ยาเซฟาโลสปอรินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มเซฟาโลสปอรินคือ ตัวยาจะรบกวนการสังเคราะห์เปปทิโด ไกลแคน (Peptidoglycan) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ในแบคทีเรีย ส่งผลให้แบค ทีเรียหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด ยาในกลุ่มนี้ยังสามารถทนต่อเอนไซม์เบต้าแลคแตมของแบคทีเรีย ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ได้อีกด้วย (จึงใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเพนิซิลลิน) จากกลไกที่กล่าวมาจึงทำให้ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ตามสรรพคุณ

ยาเซฟาโลสปอรินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเซฟาโลสปอรินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ยาผงชนิดน้ำเชื่อม ขนาดความแรง 100, 125, และ 250 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
  • ยาผงชนิดน้ำเชื่อม ขนาดความแรง 36 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • ยาแคปซูลขนาด 100, 250, 400, และ 500 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาฉีดขนาด 500 มิลลิกรัม, 750 มิลลิกรัม, 1 กรัม, 1.5 กรัม, และ 2 กรัม

ยาเซฟาโลสปอรินมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ขนาดรับประทานของยาเซฟาโลสปอรินขึ้นอยู่กับ การตอบสนองของอาการโรคต่อยาเซฟาโลสปอรินแต่ละรุ่น ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป อีกทั้งขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายที่มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด แพทย์เท่านั้นจึงเป็นผู้ปรับขนาดการให้ยานี้ ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดรับประทานหรือยาฉีดก็ตาม

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเซฟาโลสปอริน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเซฟาโลสปอรินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเซฟาโลสปอริน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาเซฟาโลสปอรินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินสามารถก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • มีอาการท้องเสีย
  • คลื่นไส้-อาเจียน
  • ผื่นคัน
  • สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายถูกรบกวน
  • ปวดหัว
  • วิงเวียน
  • ช่องปากหรืออวัยวะเพศมีการติดเชื้อรา
  • ไตอักเสบ
  • มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  • มีไข้
  • ลมพิษ

*****อนึ่ง: ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลิน (Penicillin) ก็สามารถแพ้ยาในกลุ่มเซฟาโล สปอรินได้เช่นเดียวกัน

มีข้อควรระวังการใช้ยาเซฟาโลสปอรินอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาเซฟาโลสปอริน เช่น

  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้แพ้ยากลุ่มเซฟาโซลิน
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลิน
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะ ไต และ/หรือ ตับ ทำงานผิดปกติ
  • ระวังการใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคท่อทางเดินน้ำดีอุดตัน
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มเซฟาโลสปอรินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาเซฟาโลสปอรินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเซฟาโลสปอรินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • สามารถทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของยาเหล่านั้นเปลี่ยนไป หรืออาจส่งผลให้คนไข้ ได้รับพิษหรือมีอาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงของยาต่างๆติดตามมามากขึ้น ซึ่งยาบางกลุ่มที่ไม่สมควรใช้ร่วมกับยากลุ่มเซฟาโลสปอริน เช่นยา
    • Calcium acetate ยาใช้ในผู้ป่วยล้างไต
    • Calcium chloride ยาใช้ช่วยในการรักษาสมดุลของเกลือแร่ร่างกาย
    • Calcium gluceptate ยาใช้ช่วยในการรักษาสมดุลของเกลือแร่ร่างกาย
    • Calcium gluconate ยารักษาภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
    • สารละลายน้ำเกลือ เช่น Lactated ringers solution /Ringer’s solution
    • Heparin (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด)
  • การใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือร่วมกับการสูบบุหรี่ สามารถรบกวนฤทธิ์การรักษาของยาเซฟาโลสปอริน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มจำพวกผสมแอลกอฮอล์ และเลี่ยงการดูดบุหรี่ในระหว่างที่มีการใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน

ควรเก็บรักษายาเซฟาโลสปอรินอย่างไร?

สามารถเก็บยาเซฟาโลสปอริน เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และ
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาเซฟาโลสปอรินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเซฟาโลสปอริน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Cedax (ซีแดกซ์) MSD
Cef-3 (เซฟ-3) Siam Bheasach
Cef-4 (เซฟ-4) Siam Bheasach
Cefadin (เซฟาดิน) Atlantic Lab
Cefamax (เซฟาแม็กซ์) Siam Bheasach
Cefamezin (เซฟาเมซิน) Astellas Pharma
Cefazillin (เซฟาซิลลิน) T P Drug
Cefazol (เซฟาซอล) General Drugs House
Cefazolin Meiji (เซฟาโซลิน เมจิ) Meiji
Cefclor T P (เซฟคลอร์ ทีพี) T P Drug
Cef-Dime (เซฟ-ไดม์) Millimed
Cefmandol (เซฟแมนดอล) General Drugs House
Cefobid IM/IV (เซโฟบิด ไอเอ็ม/ไอวี) Pfizer
Cefodime (เซโฟไดม์) L. B. S.
Cefomic (เซโฟมิก) L. B. S.
Ceforan (เซโฟแรน) General Drugs House
Cefox (เซฟอกซ์) Utopian
Cefoxin (เซโฟซิน) M & H Manufacturing
Cefozone (เซโฟโซน) Atlantic Lab
Cefspan (เซฟสแปน) Astellas Pharma
Ceftime (เซฟไทม์) Utopian
Ceftrex (เซฟเทร็กซ์) Biolab
Ceftriaxone T P (เซฟไทรอะโซน) T P Drug
Ceftriphin (เซฟทริฟิน) General Drugs House
Cefurim (เซฟูริม) General Drugs House
Cefurox (เซฟูร็อกซ์) Bangkok Lab & Cosmetic
Cefute Forte (เซฟิวท์ ฟอร์ด) T P Drug
Cefxitin (เซฟซิทิน) Siam Bheasach
Cefzolin (เซฟโซลิน) Utopian
Cef-Zone (เซฟ-โซน) Millimed
Celex (เซเล็กซ์) Millimed
Cephalexyl (เซฟาเลซิล) Bangkok Lab & Cosmetic
Cephin (เซฟิน) General Drugs House
Claforan (คลาฟอแรน) sanofi-aventis
Claraxim (คลาราซิม) Siam Bheasach
Clorotir (คลอโรเทีย) Sandoz
C-Tri T (ซี-ไทร ที) Emcure Pharma
Distaclor (ดีสแทคลอร์) DKSH
Farmacef (ฟาร์มาเซฟ) Farmaline
Farmalex (ฟาร์มาเล็กซ์) Farmaline
Faslex (ฟาสเล็กซ์) Pharmahof
Fazolin (ฟาโซลิน) Siam Bheasach
Felexin (เฟเลซิน) Remedica
Ferome (เฟโรเม) MacroPhar
Fortum (ฟอร์ทุม) GlaxoSmithKline
Fotax (โฟแท็กซ์) M & H Manufacturing
Furoxime (ฟูโรซิเม) Siam Bheasach
Gomcephin (กอมเซฟิน) Daewoong Pharma
Hofclor/Hofclor Forte (ฮอฟคลอร์/ฮอฟคลอร์ ฟอร์ด) Pharmahof
Ibilex (ไอบีเล็กซ์) Siam Bheasach
Keflex (เคเฟล็กซ์) DKSH
Magnaspor (แม็กนาสปอร์) Ranbaxy
Maxipime (แม็กซิพิม) Bristol-Myers Squibb
Megapime (เมกะพิม) Alkem
Meiact (เมแอ็ค) Meiji
Meicelin (เมเซลิน) Meiji
Mycef (มายเซฟ) Unique
Necaxime (เนกาซิม) Nectar Lifesciences
Neurox-250 (นิวร็อกซ์-250) Nectar Lifesciences
Oframax (โอฟราแม็กซ์) Ranbaxy
Omnicef (ออมนิเซฟ) Pfizer
Pime (ไพม์) MacroPhar
Rocephin (โรเซฟิน) Roche
Samnir (แซมเนีย) Siam Bheasach
Sedalin (เซดาลิน) Chi Sheng
Sefpime (เซฟพิม) Shenzhen Zhijun Pharma
Sefuxim (เซฟูซิม) Shenzhen Zhijun Pharma
Sialexin (ซิเอเลซิน) Siam Bheasach
Sifaclor (ซิฟาคลอร์) Siam Bheasach
Sixime (ซิซิม) Siam Bheasach
Sporicef (สปอริเซฟ) Ranbaxy
Sporidin (สปอริดิน) Ranbaxy
Suphalex (ซูฟาเล็กซ์) Suphong Bhaesaj
Tefaclor (เทฟาคลอร์) T.O. Chemicals
Teplexin (เทเพล็กซิน) T P Drug
Toflex (โทเฟล็กซ์) T.O. Chemicals
Trixone (ไทรโซน) L. B. S.
Trixophin (ไทรโซฟิน) Shenzhen Zhijun Pharma
Ulflex (อัลเฟล็กซ์) Utopian
Uto Ceftriaxone (ยูโท เซฟไทรอะโซน) Utopian
Vercef (เวอร์เซฟ) Ranbaxy
Zedim (เซดิม) Great Eastern
Zefa M H (เซฟา เอ็ม เฮช) M & H Manufacturing
Zefaxone (เซฟาโซน) M & H Manufacturing
Zeftam M H (เซฟแทม เอ็ม เฮช) M & H Manufacturing
Zeplex (เซเพล็กซ์) M & H Manufacturing
Zinacef (ซินาเซฟ) GlaxoSmithKine
Zinnat (ซินแนท) GlaxoSmithKine
Zocef (โซเซฟ) Alkem

บรรณานุกรม

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Cephalosporin [2020,Oct17]
2. http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/evidance_file/20170503184421.pdf [2020,Oct17]
3. https://www.drugs.com/drug-class/third-generation-cephalosporins.html [2020,Oct17]
4. https://www.drugs.com/cdi/ceftriaxone.html [2020,Oct17]
5. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=cephalosporins&page=0 [2020,Oct17]