ยาเจริญอาหาร (Appetite Enhancers)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 13 ธันวาคม 2556
- Tweet
โดยทั่วไปยาที่ใช้เพื่อช่วยเจริญอาหารจะมี 2 ตัวหลักๆ คือ Mosegor และ Cyprohepta dine ซึ่งความปลอดภัยในการใช้ยานั้น ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยด้วยว่า มีอะไรบ้าง แต่ผู้ ป่วยปรกติที่ไม่มีโรคใดๆ หรือไม่ใช่ผู้สูงอายุ แต่อยากให้น้ำหนักเพิ่ม ก็สามารถใช้ยากลุ่มนี้ได้อย่างปลอดภัย
ถ้าเป็นผู้สูงอายุ ก็ควรปรับลดขนาดยาลงบ้าง เช่น อาจให้ Mosegor กินครึ่งเม็ด วันเว้นวัน แต่ยากลุ่มนี้จะทำให้ง่วงนอน ดังนั้นควรบริหารยา/กินยาตอนก่อนอาหารเย็นหรือก่อนนอน
ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาต้านสารซีโรโททิน (Serotonin, สารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง) จัดอยู่ในยากลุ่มประเภทแก้แพ้ โดยยาพวกนี้ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินสูง ทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อน้ำตาลต่ำ ก็จะไปกระตุ้นที่ศูนย์ความหิวในสมอง ทำให้เกิดอาการหิว อันได้แก่ ยาซัยโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) และ ยาปิโซทิเฟน (Pizotifen) ที่ชื่อการค้า คือ Mosegor รายละเอียดของยาทั้ง 2 ชนิด มีดังนี้
1. ซัยโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อการค้าว่า เปอริแอคติน (Periactin)
ก. กลไกการออกฤทธิ์ (Action)
- ต้านฤทธิ์ของสารฮิสตามีน (Antihistamine) ที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งใช้ในการรักษาอา การแพ้ และ ลดน้ำมูก
- ต้านฤทธิ์สารซีโรโทนิน (Serotonin)
- กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และยังมีผลให้กระตุ้นศูนย์ความหิว (Feeding Center) ในสมองส่วน ไฮโปทาลามัส
- ทำให้เกิดอาการง่วงนอน จึงนอนมากกว่าปกติ
- กลไกสุดท้าย ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่เมื่อหยุดยา น้ำหนักตัวจะไม่เพิ่ม และยังอาจลดลงด้วยซ้ำ
ข. ขนาดการใช้ยา (Dosage)
- ผู้ใหญ่ เริ่มต้นด้วยวันละ 1/2 - 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือ ก่อนนอน
- เด็ก อายุ 2- 6 ปี รับประทาน ครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่
- เด็กโต ใช้ขนาดครึ่งหนึ่ง หรือขนาดเดียวกับในผู้ใหญ่ขึ้นกับน้ำหนักตัวของเด็ก
ค. ผลข้างเคียง
- ทำให้ง่วงนอน จึงอาจกระทบกระเทือนผลการเรียน
- ทำให้เกิดอาการอยู่ไม่สุข พลุ่งพล่าน และเกิดพิษได้ง่ายในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
- ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต อาจทำให้เด็กตัวเตี้ยได้ถ้ากินต่อเนื่อง
2. โมเสะกอร์/ไปโซติเฟน (Mosegor หรือ Pizotifen Malate)
ก. กลไกการออกฤทธิ์ (Action)
เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านสารพวกอะมีน (Amine, สารที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน) ที่สร้างขึ้นในร่างกาย จึงใช้ ปิโซติเฟน ในการป้องกันและรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ด้วย
ยาไปโซติเฟน ถูกดูดซึมเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงสามารถดูดซึมได้เกือบหมด (80%) ในผู้ป่วยที่ไตทำงานบกพร่อง อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาที่ใช้
ข. ขนาดการใช้ยา (Dosage)
- ผู้ใหญ่ เริ่มต้นด้วย วันละ 0.5 mg. (ยา 1 เม็ดมีขนาด 0.5 mg.) แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 0.5 มก. วันละ 3 มื้อ
ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ (Precaution & Adverse Effects): เท่าที่ทราบยังไม่มี
*****อนึ่ง
- ยาทั้ง 2 ชนิด สามารถใช้ได้ในสตรีตั้งครรภ์ และให้นมบุตร แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยที่สุด สตรีทั้ง 2 กลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้
- โดยทั่วไปแพทย์จะใช้ยา 2 ชนิดนี้ ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการทำ งานของต่อมไร้ท่อ และแพทย์มักแนะนำให้เด็กกินยา 2 ชนิดนี้ เฉพาะเวลาก่อนนอน เพื่อหลีกเลี่ยงฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการง่วงนอนในเวลากลางวัน
- ส่วนยาจำพวกวิตามินต่างๆ ความจริง ยาประเภทวิตามิน ไม่ได้ทำให้เจริญอาหารเลย นอก จากในรายที่มีอาการเบื่ออาหารจากการขาดวิตามินเท่านั้น และถ้ากินมากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถกินอาหาร (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่) ได้ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายแล้ว วิตามินจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่จำ เป็นเลย
*****หมายเหตุ
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ยาเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดัง นั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่ม เติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอเช่นกัน
บรรณานุกรม
- http://thairx.com/dmdrug.asp?did=msg [2013,Nov24].
- http://www.healthcarethai.com/ [2013,Nov24].
- http://www.doctor.or.th/article/detail/5354 [2013,Nov24].