ยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ยานอร์จีสิก (Norgesic)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

ทั่วไป

ยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) หรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อการค้าว่า ยานอร์เจสิก/นอร์จีสิก (Norgesic) นี้ ถูกสังเคราะห์ขึ้นในประเทศแถบยุโรป และถูกใช้อย่างแพร่หลายในอเมริกา วง การแพทย์มักนำยานี้มาใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ อีกทั้งทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและผ่อนคลาย รูปแบบยาที่ถูกเตรียมขึ้นมีทั้งเป็นชนิดเม็ด ยาน้ำ และยาฉีด ซึ่งมีหลายขนาด แต่ในประ เทศไทย รูปแบบยาเม็ดจะพบเห็นเป็นที่แพร่หลายมากที่สุด

ยาออเฟเนดรีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาออเฟเนดรีน

ยาออเฟเนดรีนมีสรรพคุณ ดังนี้

  • รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการปวด/ปวดตึงศีรษะ
  • ลดอาการปวดไขข้อ (non-articular rheumatism)

ยาออเฟเนดรีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาออเฟเนดรีน ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง และส่งผลให้กล้ามเนื้อลายของร่างกายมีภาวะผ่อนคลาย และลดอาการตึงตัว จนเป็นเหตุให้ลดภาวะเจ็บ ปวดของกล้ามเนื้อลงได้

ยาออเฟเนดรีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาออเฟเนดรีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย ดังนี้ ยาเม็ดขนาด 35 มิลลิกรัม ในประเทศไทยพบรูปแบบยาที่ผสมกับยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาด 450 มิลลิกรัมได้

ยาออเฟเนดรีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาออเฟเนดรีน ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ วันละ 3 ครั้ง แต่ในเด็กควรต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งใช้ยาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาออเฟเนดรีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาออเฟเนดรีน อาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาออเฟเนดรีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาออเฟเนดรีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาออเฟเนดรีนนี้สามารถส่งผลให้มีอาการ คลื่นไส้ ปากแห้ง การมองเห็นผิดปกติ ง่วงนอน และอาจพบอาการผื่นคันเกิดขึ้นได้

มีข้อควรระวังการใช้ยาออเฟเนดรีนอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาออเฟเนดรีน ได้แก่

  • ห้ามใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยากับผู้ป่วยด้วย โรคต้อหิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคต่อมลูกหมากโต ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดตัน เพราะอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
  • ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ

***** อนึ่ง

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมถึงยาออเฟเนดรีน) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาออเฟเนดรีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

การใช้ยาออเฟเนดรีนนี้ ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ยาที่มีฤทธิ์ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติดังกล่าว เช่น โปแตสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chloride)

การใช้ยาออเฟเนดรีน ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคลมชัก สามารถก่อให้เกิดอาการวิงเวียน และง่วงนอนเป็นอย่างมาก ยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคลมชักดังกล่าว เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin) โคลนาซีแปม (Clonazepam)

การใช้ยาออเฟเนดรีน ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ สามารถก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ วิงเวียน และเป็นลม ยาที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะดังกล่าว เช่น ฟูโรซิไมด์ (Furosemide)

ควรเก็บรักษายาออเฟเนดรีนอย่างไร?

สามารถเก็บยาออเฟเนดรีน ในอุณหภูมิห้องได้ ควรต้องเก็บให้พ้นแสงแดดและความชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กเสมอ

ยาออเฟเนดรีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่ออื่นๆของยาออเฟเนดรีน และชื่อบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Canasic (คานาสิก)Pharmasant Lab
Corilax (โคริแลกซ์)Community Pharm
Dorpane (ดอร์เพน)MacroPhar
Dysmenic (ดิสเมนิก)V S Pharma
GPO Gesic (จีพีโอ จีสิก)GPO
Medgesic (เมดจีสิก)Medifive
M-Gesic (เอ็ม-จีสิก)2M (Med-Maker)
Muscol (มัสโคล)Teva
Muscolic (มัสโคลิก)Osoth Interlab
Muslexac (มัสลีแซก)Inpac Pharma
Myodrine (มายโอดรีน)Charoen Bhaesaj Lab
Myoflex (มายโอเฟลกซ์)Siam Bheasach
Myopa (มายโอปา)Charoen Bhaesaj Lab
Myopas (มายโอพาส)T. Man Pharma
Myosic (มายโอสิก)M & H Manufacturing
Myospa (มายออสปา)B L Hua
Mypara Plus Orphenadrine (มายพารา พลัส ออเฟเนดรีน)Greater Pharma
Nabesac (แนบีแซก)Masa Lab Care
Neosec (นีโอเสก)Masa Lab
Noraphen (นอราเฟน)Bangkok Lab & Cosmetic
Norflex (นอร์เฟล็กซ์)iNova
Norgesic (นอร์จีสิก)iNova
Norgetex (นอร์จีเท็กซ์)The United Drug (1996)
Norgic (นอร์จิก)Pond’s Chemical
Norphen (นอร์เฟน)Atlantic Lab
Norsica (นอร์ซิกา)Suphong Bhaesaj
Nuosic (นูโอสิก)Millimed
Nurasic (นูราสิก)T.O Chemicals
Ofee 100 (ออฟี 100)Masa Lab
Orano (โอราโน)Unison
Orapa (โอราปา)The Forty-Two
Orfenal (ออร์ฟีนอล)Remedica
Orflex (ออร์เฟล็กซ์)Chew Brothers
Orgesic (ออร์จีสิก)Burapha
Orkelax (ออร์เคแล็กซ์)Kenyaku
Ornadine (ออร์นาดีน)Vesco Pharma
Orpar (ออร์พาร์)Pharmasant Lab
Orphengesic (ออร์เฟนจีสิก)Bangkok Lab & Cosmetic
Orphensic (ออร์เฟนสิก)General Drugs House
Paradine (พาราดีน)Medicpharma
Parina (พารินา)Pharmasant Lab
Patargesic (พาทาร์จีสิก)Patar Lab
Phemax (ฟีแมกซ์)Pharmasant Lab
Poli-Relaxane (โพลิ-รีแลกซ์เซน)Polipharm
Polydol (โพลีดอล)Pharmasant Lab
Pormus (พอร์มัส)Unison
Pronadrine (โพรนาดรีน)Inpac Pharma
Prospa (พรอสปา)Medicine Products
Relar (รีลาร์)Pharmaland
Relaxic (รีเลซิก)Chinta
Rena (รีนา)Pharmaland
Rexodrin (เรกโซดรีน)R.X
Sinogesic (ซินโนจีสิก)Pharmahof
Togesic (โทจีสิก)Utopian

บรรณานุกรม

  1. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/orphenadrine?page=5 [2014,Jan3].
  2. http://www.drugs.com/drug_interactions.html [2014,Jan3].
  3. http://en.wikipedia.org/wiki/Orphenadrine [2014,Jan3].