ยามเอ็นไม่เล่นด้วย (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 6 มกราคม 2562
- Tweet
อาการของเอ็นอักเสบที่พบ คือ
- ปวดที่เอ็นและบริเวณโดยรอบ ความปวดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น หรือปวดทันทีและรุนแรง โดยเฉพาะกรณีที่มีแคลเซียมเกาะด้วย
- กดเจ็บ (Tenderness)
- บวม
- กรณีเป็นที่ไหล่ ข้อไหล่จะติดและเคลื่อนไม่ได้ (Adhesive capsulitis / Frozen shoulder)
สำหรับการหลีกเลี่ยงการเกิดเอ็นอักเสบทำได้ด้วยการ
- เริ่มทำกิจกรรมช้าๆ แล้วค่อยเพิ่มระดับความเร็ว
- ใช้แรงที่พอดีตัวและไม่ทำซ้ำๆ มากเกินไป
- หยุดเมื่อรู้สึกเจ็บและไปทำกิจกรรมอื่นก่อน ค่อยกลับมาลองทำใหม่ หากเจ็บอีกให้หยุดกิจกรรมนั้นตลอดวันไปเลย
การรักษาอาการเอ็นอักเสบ มีเป้าหมายที่จะทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้โดยไม่ปวดและคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบ ดังนั้นการพักผ่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ การกลับมาทำกิจกรรมแบบเดิมอาจทำให้เกิดอาการเอ็นอักเสบเรื้อรังหรือเอ็นฉีกขาดได้ โดยการรักษาจะเริ่มต้นด้วยการ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปัญหาแย่ลง
- พักการใช้งานบริเวณส่วนที่เจ็บ
- ประคบเย็นภายใน 48 ชั่วโมง นาน 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นจึงประคบร้อน
- ยกบริเวณที่เป็นให้สูงขึ้น เช่น เอาหมอนหนุนวางขาให้สูงกว่าปกติเวลาที่นั่งหรือนอน
- ใช้ยา
- ลดอาการปวด เช่น ยา Aspirin ยา Naproxen sodium หรือ ยา Ibuprofen (สำหรับยา Ibuprofen ควรใช้หลังการบาดเจ็บ 48 ชั่วโมง เพราะยาอาจทำให้หายช้าลง)
- ลดอาการอักเสบ
ส่วนระยะเวลาในการหายจากเอ็นอักเสบอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ทั้งนี้ ควรไปพบแพทย์กรณีที่มีอาการดังต่อไปนี้
- เป็นไข้
- บวม แดง และอุ่น
- ปวดหลายจุด
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวบริเวณที่เป็น
แหล่งข้อมูล:
- Tendinitis. https://www.webmd.com/fitness-exercise/arthritis-tendinitis#1 [2018, January 5].
- Tendinitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/symptoms-causes/syc-20378243 [2018, January 5].
- Tendonitis. https://www.nhs.uk/conditions/tendonitis/ [2018, January 5].