ยาประดง (Eczema Drug)

ยาประดง คือ ยาแผนไทย/ยาแผนโบราณ ที่ใช้รักษาอาการผื่นคันตามผิวหนัง ที่ภาษาชาว บ้านเรียกว่า "โรคประดง" ทั้งนี้ “ประดง” ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ชื่อโรคผิวหนังจำพวกหนึ่ง ทำให้คัน เป็นต้น ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม

***สาเหตุของโรคประดง

โรคประดง/ผื่นคัน เกิดจากสาเหตุหลายประการ ที่สำคัญคือ

  • การแพ้สิ่งกระตุ้น จากสิ่งภายนอกร่างกาย สิ่งกระตุ้นเหล่านี้อาจเป็น สารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยางจากต้นไม้ เครื่องสำอาง ฝุ่น หรือ อาจเกิดจากอาหารที่รับประทาน เช่น อาหารทะเล เครื่องดื่มแอล กอฮอล์ หรือจากยาที่รับประทาน รวมทั้งอาจเกิดจาก ความร้อน ความเย็น ผิวหนังถูกกดทับ หรือรัด เช่น บริเวณขอบเสื้อหรือกางเกงชั้นใน เป็นต้น

    แต่ละคน จะมีความไวในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นแตกต่างกัน ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายที่รุนแรงแตกต่างกัน การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น บางอย่างอาจรุนแรงมากจนทำให้เสีย ชีวิตได้ เช่น การแพ้ยา หรือการแพ้สารเคมี บางชนิด

  • การผิดปกติในระบบน้ำเหลือง (Lymphatic disorders) เป็นอีกสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดอา การผื่นคันตามผิวหนัง การผิดปกติของน้ำเหลือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำเหลืองเสีย” เช่น การติดเชื้อ การอุดตันในระบบทางเดินน้ำเหลือง อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการ บวม คัน แผลเปื่อย และพุพองได้

***วิธีรักษาโรคประดง

การรักษาโรคประดง คือ

  • การป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้/ผื่นคันที่ผิวหนัง โดยต้องพยายามหาว่า สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการแพ้/ผื่นคันฯคืออะไร และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นนั้นๆ

    แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว การบำบัดรักษาอาการผื่นคันฯจากการแพ้ ขึ้นอยู่กันความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมการรักษาด้วยการใช้ยาภายนอก/ยาทา หรือใช้ยาภายนอก ร่วมกับการรับประทานยา อย่างไรก็ตาม ยาแก้แพ้บางชนิด มีส่วนผสมของสาร สเตอรอยด์ (Steroid) ซึ่งพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่า มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น อาจทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น โรคกระดูกพรุน เลือดออกในทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ/ติดเชื้อได้ง่าย

  • ส่วนน้ำเหลืองเสีย เกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ดังนั้นการใช้ยาภายนอกจึงเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น ควรรักษาตามสาเหตุ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเมื่ออาการเกิดจากระ บบน้ำเหลืองติดเชื้อ เป็นต้น

***วิธีใช้ยา

ยารักษาโรคประดงที่เป็นยาแผนไทย มีขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี/CC./Cubic centimeter) วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร (เขย่าขวดก่อนรินยา)

***ข้อควรระวังในการใช้ยาประดง

สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน และควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในเด็ก

***ผลข้างเคียงของยาประดง

บางท่านอาจมีการอ่อนเพลียหลังใช้ยานี้ ทางการแพทย์แผนไทย แนะนำให้ลดปริมาณยาลง อาจเหลือเพียง วันละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน หรือ ให้หยุดยาชั่วคราว เมื่อหายอ่อนเพลียจึงเริ่มรับประทานใหม่

***ข้อแนะนำ

  • เมื่อมีอาการ ผื่นคัน และอาการผื่นคันไม่ดีขึ้นใน 2-3 วันหลังดูแลตนเอง ควรพบแพทย์แผนปัจจุบันเสมอ แต่ถ้าอาการขึ้นผื่นรุนแรงตั้งแต่แรก เช่น ผื่นทั้งตัว และโดยเฉพาะเมื่อเกิดร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มีไข้ ตาแดง บวมที่ปาก ที่เนื้อตัว หรือมีปัญหาทาง การหายใจ (เช่น หายใจลำบาก) ควรรีบไปโรงพยาบาล หรือไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน
  • ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ยาแผนโบราณ/ยาแผนไทยทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะ ยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

บรรณานุกรม

  1. http://pradongherbal.blogspot.com/2012/03/blog-post_3704.html [2014.Jan11].
  2. http://www.tigerdragon.in.th/?page_id=2 [2014,Jan11].
  3. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7c373240eb038790 [2014,Jan11].