มินเนอรอลออย (Mineral oil)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 3 มกราคม 2563
- Tweet
- ทั่วไป
- ยามินเนอรอลออยมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยามินเนอรอลออยออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยามินเนอรอลออยมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยามินเนอรอลออยมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยามินเนอรอลออยมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
- ยามินเนอรอลออยมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
- มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยามินเนอรอลออย?
- ควรเก็บรักษายามินเนอรอลออยอย่างไร?
- ยามินเนอรอลออยมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาแก้ท้องผูก (Anticonstipation)
- ท้องผูก (Constipation)
- ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (Diarrhea)
- วิตามินเอ (Vitamin A)
- วิตามินดี (Vitamin D)
- วิตามินอี (Vitamin E or Alpha-tocopherol)
- วิตามินเค (Vitamin K)
- ปอดบวม ปอดอักเสบ (Pneumonia)
ทั่วไป
ยามินเนอรอลออย (Mineral oil) หรือ ยาลิควิดพาราฟฟิน(Liquid paraffin) เป็นยาตัวหนึ่งในกลุ่มยาแก้ท้องผูก (ยาระบาย) เป็นของเหลวพวกน้ำมัน มีลักษณะใส มีคุณสมบัติหล่อลื่นดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย
ยามินเนอรอลออยมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยามินเนอรอลออยมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:
- ใช้เป็นยาระบาย/ ยาแก้ท้องผูก
ยามินเนอรอลออยออกฤทธิ์อย่างไร?
ยามินเนอรอลออย ออกฤทธิ์โดยช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้สะดวกขึ้น
ามินเนอรอลออยมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยามินเนอรอลออย มีรูปแบบจัดจำหน่าย
- เป็นยาน้ำแขวนตะกอนความเข้มข้น 50%
ยามินเนอรอลออยมีขนาดรับประทานอย่างไร?
การรับประทานยามินเนอรอลออย สำหรับผู้ใหญ่ขนาดยาสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 45 มิลลิลิตร/วัน และในการกินยาแต่ละครั้งมีขนาดยาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะอาการป่วย เพศ อายุ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและเหมาะสมควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายขนาดรับประ ทานในผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉพาะในเด็กไม่ควรซื้อยากินเอง
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยา (ยารักษาโรค)ทุกชนิดรวมทั้งยามินเนอรอลออย ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดและอาการจากการแพ้ยาเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือแน่น หาย ใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- โรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพราะยาอาจส่งผลให้อาการของโรค(โรค-อาการ-ภาวะ)เหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายตัวสามารถผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยามินเนอรอลออยสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ยามินเนอรอลออยมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
ผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) ของยามินเนอรอลออย เช่น
- ระคายเคืองบริเวณทวารหนัก จึงอาจก่อการไหลซึมของอุจจาระออกจากทางทวารหนักโดยที่ยังไม่ถ่ายอุจจาระ (อุจจาระเล็ด)
- คลื่นไส้-อาเจียน
ยามินเนอรอลออยมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
การกินยามินเนอรอลออยมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- เมื่อกินร่วมกับยาวิตามินบางกลุ่ม จะรบกวนการดูดซึมโดยเฉพาะยาวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น
- วิตามินเอ
- วิตามินดี
- วิตามินอี
- วิตามินเค
มีข้อควรระวังไหม เมื่อกินยามินเนอรอลออย?
ข้อควรระวังในการกินยามินเนอรอลออย เช่น
- ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก จะก่อภาวะอุดตันหลอดอาหารได้
- ไม่ควรกินยามินเนอรอลออยต่อเนื่องนานเกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจากการใช้นานเกินไปร่างกายจะดูดซึมยาผ่านผนังลำไส้ และเป็นสาเหตุเกิดกลุ่มก้อนไขมันบริเวณผิวหนัง หรือถ้าดูดซึมเข้าปอดจะทำให้เกิดปอดอักเสบจากการมีกลุ่มไขมันเข้าไปอุดตันบริเวณถุงลม
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงยามินเนอรอลออยด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ควรเก็บรักษายามินเนอรอลออยย่างไร?
ควรเก็บรักษายามินเนอรอลออย เช่น
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดสนิท
- เก็บยาภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเชลเชียส (Celsius) เพื่อลดการเหม็นหืน
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยามินเนอรอลออยมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
ยามินเนอรอลออย มีชื่ออื่นตามชื่อทางการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
- EMULSION OF LIQUID PARAFFIN (อีมัลชั่น ออฟ ลิควิดพาราฟิน) Suphong Bhaesaj
บรรณานุกรม
- นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์. (2551). แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคท้องผูก ท้องเสีย และ IBS (ดีวีดี). กรุงเทพฯ: โรงแรมสยามซิตี้
- Laxative. http://www.mims.com/Thailand/drug/ [2021,Jan2]
- Laxative. http://en.wikipedia.org/wiki/Laxative [2021,Jan2]
- www.Drugs.Com [2021,Jan2]