มาม่าบลู แม่เศร้าจัง (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

มาม่าบลูแม่เศร้าจัง-5

      

      และเนื่องจากการไม่รักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งกับคุณแม่และลูกได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรไปพบแพทย์ในกรณีที่

• มีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์

• ไม่สามารถทำหน้าที่ปกติได้

• ไม่สามารถจัดการกับเรื่องประจำวันได้

• มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือลูก

• มีความรู้สึกส่วนใหญ่ที่ กระวนกระวาย กลัว และ ตื่นตระหนกอย่างมาก

      ส่วนเทคนิคการดูแลหลังการคลอดมีดังนี้

• สร้างความผูกพันที่ดีกับลูก ให้ความรักความอบอุ่นกับลูก (แม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย ไม่ค่อยให้ลูกกินนมตัวเอง ไม่ค่อยเล่น หรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง) ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขและมีความมั่นใจในการเป็นแม่มากขึ้น

• ตั้งเป้าที่เป็นไปได้ อย่ากดดันตัวเองให้ทำทุกอย่าง ทำเท่าที่ทำได้

      o หาคนช่วยทำงานบ้านแทน

• ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งจะช่วยทำให้ความเครียดลดลงได้อย่างรวดเร็ว

      o หลีกเลี่ยงการอยู่โดดเดี่ยว

      o ติดต่อครอบครัวและเพื่อน

      o พูดคุยกับคู่ครอง ครอบครัว และเพื่อน ว่ารู้สึกอย่างไร และต้องการความช่วยเหลืออะไร

      o คุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณแม่คนอื่น

• ดูแลตัวเอง

      o ให้เวลากับตัวเองและออกไปทำกิจกรรมผ่อนคลายนอกบ้านบ้าง

      o ออกกำลังกาย เช่น เดินเล่น โยคะ

      o หัดทำสมาธิเพื่อให้สงบและมีกำลัง

      o นอนหลับพักผ่อนให้มากเท่าที่จะทำได้ (นอนพักเมื่อลูกหลับหรือให้คนอื่นช่วยดูลูกแทน)

      o กินอาหารที่มีประโยชน์

      o หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

• ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง

      o ด้วยความเครียดที่ต้องดูแลลูกและอดนอน อย่าโทษกันเอง ให้ช่วยกันแบ่งเบาภาระในการดูแล

      o มีอะไรให้พูดคุยกันให้ชัดเจน อย่าเก็บไว้ และอย่าคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะต้องเข้าใจความรู้สึกของตนเอง

      o มีเวลาส่วนตัวให้กันและกัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Postpartum Depression and the Baby Blues. https://www.helpguide.org/articles/depression/postpartum-depression-and-the-baby-blues.htm [2018, November 30].
  2. Postpartum Depression. https://www.webmd.com/depression/guide/postpartum-depression#1 [2018, November 30].