มาม่าบลู แม่เศร้าจัง (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 28 พฤศจิกายน 2561
- Tweet
ส่วนอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression = PPD) ได้แก่
- อารมณ์ซึมเศร้าหรืออารมณ์แปรปรวนมาก
- ร้องไห้หนักมาก (Excessive crying)
- แยกตัวเองจากครอบครัวและเพื่อน
- ไม่อยากอาหารหรือกินมากกว่าปกติ
- นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
- เหนื่อยหมดแรงมาก (Overwhelming fatigue)
- ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
- หงุดหงิดและขี้โกรธมาก
- กลัวว่าจะเป็นแม่ที่ไม่ดี
- สิ้นหวัง
- รู้สึกไร้ค่า ละอายใจ หรือ บกพร่อง (Inadequacy)
- ความสามารถในการคิดอ่านหรือตัดสินใจลดลง
- กระวนกระวาย กระสับกระส่าย (Restlessness)
- วิตกกังวลและตื่นตระหนกมาก
- มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูก
- คิดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตายอยู่เรื่อย
สำหรับอาการโรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis = PPP) ได้แก่
- งุนงงสับสน ปรับตัวไม่ได้ (Disorientation)
- มีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับลูก
- ประสาทหลอน (Hallucinations) และหลงผิด (Delusions)
- การนอนผิดปกติ (Sleep disturbances)
- กระสับกระส่าย ทุรนทุราย (Agitation)
- อาการทางจิตที่หวาดระแวง (Paranoia)
- พยายามทำร้ายตัวเองหรือลูก
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดี่ยวๆ แต่เกิดจากสาเหตุร่วมของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ โดย
- การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (Physical changes) – เพราะหลังการคลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนจะตกลง รวมถึงฮอร์โมนอื่นที่ต่อมไทรอยด์สร้างก็อาจจะตกลงอย่างฮวบฮาบ จนทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย เอื่อยเฉื่อย และหดหู่ซึมเศร้า
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Emotional issues) – เมื่อมีการอดนอนเนื่องจากการที่ต้องดูแลลูก อาจทำให้การจัดการกับปัญหาเป็นไปได้ลำบาก อาจมีความวิตกกังวลในการดูแลลูก สูญเสียความมีชีวิตของตัวเอง และอื่นๆ จนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
แหล่งข้อมูล:
- Postpartum depression. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/postpartum-depression/symptoms-causes/syc-20376617 [2018, November 26].