มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 26 กันยายน 2554
- Tweet
- มะเร็ง (Cancer)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- เอดส์ (AIDS)
- ซาร์โคมา มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma)
- มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue sarcoma) / มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue sarcoma)
- ยาเคมีบำบัด (Cancer chemotherapy)
- รังสีรักษา ฉายรังสี ใส่แร่ (Radiation therapy)
- มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma)
- ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretroviral Agent)
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma) ซึ่งแพทย์บางท่านเรียกย่อว่า โรคเคเอส (KS) เป็นโรคได้ชื่อตามแพทย์ผู้วินิจฉัยโรคนี้เป็นคนแรกคือ นพ. คาโปซิ เป็นโรคพบบ่อยมากในผู้ป่วยเอดส์ เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อมีเซ็นคัยมาล (Mesenchymal) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่จะเจริญเปลี่ยนเป็นเซลล์เนื้อเยื่อได้หลายชนิดเช่น หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ดังนั้น มะ เร็งชนิดนี้จึงพบได้ในทุกอวัยวะทั่วตัวเช่น ผิวหนังทุกส่วน ในช่องปาก ในเนื้อเยื่อปอด และในลำไส้ และมักเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆจุดทั่วตัว แต่ที่พบบ่อยคือ บริเวณขาและใบหน้า
อาการมะเร็งชนิดนี้มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อค่อนข้างกลม สีคล้ำ มีขนาดต่างๆกัน ตั้งแต่เล็ก กว่า 1 เซนติเมตรไปจนถึง 10 เซนติเมตร เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่มักทำให้เกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อข้างเคียงและมีต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงโตคลำได้เช่น อาการขาบวมและต่อมน้ำเหลืองขาหนีบด้านเกิดโรคโตเมื่อโรคเกิดขึ้นในบริเวณขา เป็นต้น
สาเหตุมะเร็งคาโปซิเกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิด Human herpesvirus 8 (HHV8) ซึ่งไวรัสตัวนี้เป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection) โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ก็คือ การมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายบก พร่องสาเหตุจากโรคเอดส์ อย่างไรก็ตาม สามารถพบโรคนี้เกิดได้บ้างในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ
การวินิจฉัยโดยการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทุกชนิด และโดยทั่วไปยังไม่มีการแบ่งระยะโรค
การรักษาคือ การให้ยาต้านไวรัสเอดส์/Antiretroviral Agent ยาเคมีบำบัด และอาจให้รัง สีรักษาร่วมด้วยเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตมาก หรือไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด แต่เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดเล็กและเกิดเฉพาะที่ แพทย์บางท่านใช้การตัดออกโดยการจี้ด้วยความเย็นหรือด้วยแสงเลเซอร์
ความรุนแรงของโรคหรือโอกาสรักษาหายขึ้นกับการรักษาควบคุมโรคเอดส์ ถ้าควบคุมโรคเอดส์ได้ มะเร็งคาโปซิมักตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่ถ้าควบคุมโรคเอดส์ไม่ได้ ก็มักควบคุมมะเร็งคาโปซิไม่ได้
การติดต่อ ไวรัสชนิดก่อโรคมะเร็งคาโปซินี้มีอยู่ในน้ำลายและในเลือดของผู้ป่วย ดังนั้น จึงสามารถติดต่อกันได้ในหมู่รักร่วมเพศโดยการสัมผัสน้ำลายและเลือดของผู้ป่วย
บรรณานุกรม
- Haffty, B., and Wilson, L. (2009). Handbook of radiation oncology. Boston: Jones andBartlett Publishers.
- Kaposi’s sarcom http://en.wikipedia.org/wiki/Kaposi's_sarcoma [2015,July25]
Updated 2015, July 25