ฟันเสียชีวิต (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ฟันเสียชีวิต-2

      

ฟันปกติจะมีสีโทนขาวขึ้นกับอาหารและการดูแลฟัน เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ ซึ่งจะมีสีโทนเดียวกันทั้งปาก ส่วนฟันที่กำลังตายจะมีสีที่แตกต่างไปจากฟันซี่อื่น เช่น มีสีเหลือง น้ำตาลอ่อน เทา ดำ หรือ มีลักษณะฟันช้ำ สีคล้ำ (Discoloration) ยิ่งขึ้นเมื่อฟันผุและเส้นประสาทตาย

นอกจากนี้ อาการติดเชื้อ เป็นหนองกดเยื่อหุ้มรากฟัน (Periodontal membrane) จะทำให้มีอาการปวดมาก ซึ่งอาการติดเชื้ออาจมีลักษณะดังนี้

  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • การรับรู้รสแย่
  • เหงือกบวม
  • มีปุ่ม (Pimple) ที่เหงือก

ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการเห็นและเอ็กซเรย์ฟัน ซึ่งกรณีที่ฟันตายแม้จะไม่มีอาการปวด ควรรีบรักษาให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ เชื้อแบคทีเรียจากฟันที่ตายอาจแพร่กระจายไปยังฟันซี่อื่นซึ่งรวมถึงกรามและเหงือก

สำหรับการรักษาฟันตายทันตแพทย์อาจรักษาด้วย

  • การรักษารากฟัน (Root canal) และตามด้วยการครอบฟัน (บางกรณี)
  • การถอนฟัน (Removal) กรณีที่ฟันเสียมากและไม่สามารถรักษาได้

ทั้งนี้ ระหว่างรอการรักษาและมีอาการปวดฟันมาก สามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อน ที่จะทำให้เกิดการอักเสบและปวดมากขึ้น
  • กินยาแก้อักเสบ
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารแข็ง

สำหรับการป้องกันฟันตายมีวิธีดังนี้

  • รักษาสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และขัดฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟัน กรณีที่พบปัญหาจะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เช่น รักษาฟันผุก่อนที่จะลามไปถึงประสาทในฟัน
  • ใส่ฟันยาง (Mouth guard) เพื่อป้องกันการกระแทกฟัน กรณีที่ต้องเล่นกีฬาที่อาจถูกแรงกระแทก เช่น ต่อยมวย ฮอกกี้ หรือ กรณีที่นอนกัดฟัน
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารหวานที่เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุ
  • ดื่มน้ำ โดยเฉพาะหลังอาหาร เพื่อล้างเชื้อแบคทีเรียจากฟัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Identifying and Treating a Dead Tooth. https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/dead-tooth [2020, August 30].
  2. Everything you need to know about a dead tooth. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319062#causes [2020, August 30].