ฟันผุซี่เดียวก่อปัญหาได้ทั่วตัว (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 17 มิถุนายน 2562
- Tweet
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฟันผุ ได้แก่
- ขนาดและรูปร่างของฟัน – ฟันซี่เล็กที่มีร่อง (Grooves) หลุม (Pits) และซอก (Crannies) มักมีโอกาสผุมากกว่าฟันซี่ใหญ่ เพราะทำความสะอาดได้ยากกว่าจึงเกิดคราบง่าย
- ตำแหน่งของฟัน – ฟันผุมักเกิดที่ฟันกรามและฟันกรามน้อย (Molars and premolars) เพราะเป็นฟันที่มีร่อง หลุม ซอก และรากเป็นจำนวนมากที่เศษอาหารไปติดได้ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
- ความหนาของเคลือบฟัน (Enamel) – หากมีความหนามาก การผุจะใช้เวลานานในการที่กรดจะเจาะเข้าสู่เนื้อฟัน
- อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด - เช่น นม ไอศครีม น้ำผึ้ง น้ำตาล โซดา ผลไม้แห้ง เค็ก คุกกี้ ลูกกวาด ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดฟันผุได้มากกว่าอาหารอื่น
- การกินของว่างหรือจิ๊บเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลบ่อยๆ – ทำให้แบคทีเรียในปากมีน้ำตาลคอยเลี้ยงอยู่ตลอด จึงมีกำลังในการสร้างกรดทำลายฟันได้มาก
- ทารกที่กินนม น้ำผลไม้ ขณะนอน – จะทำให้เครื่องดื่มเหลานี้คงอยู่ที่ฟันเป็นชั่วโมง เป็นสาเหตุให้แบคทีเรียทำลายฟันได้
- การแปรงฟันไม่พอ – ไม่ได้แปรงฟันหลังการกินและดื่ม ทำให้เกิดคราบฟันได้ง่าย
- ได้รับฟลูออไรด์ไม่พอ – เพราะฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุได้
- เด็กหรือผู้ที่สูงวัย – ในผู้สูงวัยอาจมีการใช้ยาบางตัวที่เป็นผลทำให้น้ำลายลดลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการมีฟันผุ
- ปากแห้ง – เพราะขาดน้ำลายซึ่งอาจมีสาเหตุจากใช้รังสีบำบัดที่บริเวณศีรษะหรือคอ หรือเคมีบำบัดที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำลายได้น้อยลง เนื่องจากน้ำลายจะช่วยทำให้กรดเป็นกลาง ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้
- การอุดฟัน (Dental fillings) ที่นานแล้ว อาจมีการแตกซึ่งทำให้เป็นที่สะสมของคราบได้ง่าย แต่ยากต่อการทำความสะอาด
- กรดไหลย้อน (Heartburn / gastroesophageal reflux disease / GERD) ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนเข้าสู่ปาก ทำให้ฟันมีโอกาสถูกทำลายได้มากขึ้น
- ความผิดปกติในเรื่องของการกินอาหาร (Eating disorders) เช่น โรคคลั่งผอม (Anorexia) โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ (Bulimia) ทำให้กรดในกระเพาะผ่านปากทำลายเคลือบฟันได้ และยังมีผลต่อการผลิตน้ำลายในปากด้วย
สำหรับอาการแทรกซ้อนของฟันผุที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- ปวด
- บวมหรือเป็นหนองรอบฟัน
- ฟันแตก
- มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว
- ตำแหน่งฟันเคลื่อนหลังจากที่ฟันหลุด
แหล่งข้อมูล:
- Cavities/tooth decay. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cavities/symptoms-causes/syc-20352892 [2019, Jun 16].
- Dental Cavities (Dental Caries). https://www.medicinenet.com/cavities/article.htm[2019, Jun 16].