ฟลูคลอกซาซิลลิน (Flucloxacillin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 9 กันยายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ฟลูคลอกซาซิลลินอย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาฟลูคลอกซาซิลลินอย่างไร?
- ฟลูคลอกซาซิลลินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- สิว (Acne)
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Endocarditis and Infective endocarditis)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- เพนิซิลลิน (Penicillin)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
บทนำ
ยาฟลูคลอกซาซิลลิน (Flucloxacillin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria) ได้ดี วงการแพทย์นำมาใช้รัก ษาการติดเชื้อของทางเดินหายใจ หู จมูก คอ การติดเชื้อที่ผิวหนังเช่น บาดแผล ฝี สิว หรือแม้แต่การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ/เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) การติดเชื้อที่กระดูกและที่ข้อต่างๆตามร่าง กาย การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง/เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อวัยวะในช่องทางเดินอาหาร การติดเชื้อในกระ แสเลือด/ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ การติดเชื้อที่ไต ถุงน้ำดีและช่องทางเดินปัสสาวะ
รูปแบบยาฟลูคลอกซาซิลลินในยาแผนปัจจุบันมีทั้งชนิดแคปซูล ยาเม็ด ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน และยาฉีด
จากการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของยาฟลูคลอกซาซิลลินในร่างกายพบว่า หลังจากยาเข้าสู่กระแสเลือด ก็จะรวมตัวกับพลาสมาโปรตีนถึงประมาณ 95% ตัวยายังสามารถผ่านไปกับน้ำนมมารดาได้อีกด้วย ตับจะคอยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของยาอยู่ตลอดเวลา ร่างกายต้องใช้เวลาประ มาณ 1 ชั่วโมงในการกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือด
ยาฟลูคลอกซาซิลลินจัดเป็นยาอันตรายที่มีผลข้างเคียงข้อห้ามใช้หรืออาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ยาในผู้ป่วยบางราย การใช้ยาที่ปลอดภัยควรต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ผู้บริโภค/ผู้ ป่วยไม่สมควรซื้อหายานี้มารับประทานเอง
ยาฟลูคลอกซาซิลลินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาฟลูคลอกซาซิลลินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ที่ดื้อต่อยาเบนซิลเพนิซิลลิน (Benzylpenicillin/Penicillin G) เช่น การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ), การติดเชื้อที่กระดูก(กระดูกอักเสบ)
ฟลูคลอกซาซิลลินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาฟลูคลอกซาซิลลินคือ ตัวยาจะเข้าจับกับผนังเซลล์ของแบคทีเรียและยับยั้งการสังเคราะห์หรือการสร้างผนังเซลล์ดังกล่าว ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียแตกออกและตายลงในที่สุด
ฟลูคลอกซาซิลลินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาฟลูคลอกซาซิลลินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 125 และ 250 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน ขนาด 125 มิลลิกรัม/ 5 มิลลิลิตร
- ยาฉีดชนิดผง (ใช้ผสมสารละลายก่อนใช้ยา) ขนาดความแรง 500 มิลลิกรัม/ขวด
ฟลูคลอกซาซิลลินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาฟลูคลอกซาซิลลินมีขนาดรับประทาน เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 250 มิลลิกรัมวันละ 4 ครั้ง
- เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก)อายุ 2 - 10 ปี: รับประทานครั้งละ 125 มิลลิกรัมวันละ 4 ครั้ง
- เด็กอายุมากกว่า 10 ปี: ขนาดรับประทานเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี: ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดถึงผลข้างเคียงของยานี้ในเด็กกลุ่มนี้ การใช้ยาในเด็กกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
*****หมายเหตุ:
- ควรรับประทานยานี้ในช่วงท้องว่างหรือรับประทานก่อนมื้ออาหาร ½ - 1 ชั่วโมง
- ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาฟลูคลอกซาซิลลิน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาฟลูคลอกซาซิลลินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาและ/หรือกับอาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาฟลูคลอกซาซิลลินสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ฟลูคลอกซาซิลลินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาฟลูคลอกซาซิลลินสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ต่างๆ เช่น
- อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ยา
- เกิดลมพิษ
- มีไข้
- ปวดข้อ
- ผื่นคัน
- เกิดภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Haemolytic anaemia)
- ไตอักเสบ
- ตับอักเสบ
- ตัวเหลือง
- เกิดความผิดปกติของเลือดเมื่อ ตรวจเลือด ซีบีซี /CBC (เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำ/Neutropenia และ เกล็ดเลือดต่ำ/Thrombocytopenia)
- ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการ
- Stevens-Johnson syndrome
- เกิดอาการทางสมอง (เช่น ทำให้เกิดการชัก)
มีข้อควรระวังการใช้ฟลูคลอกซาซิลลินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาฟลูคลอกซาซิลลิน เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้และที่แพ้ยากลุ่ม เพนิซิลลิน (Penicillin)
- การใช้ยานี้เกินขนาดสามารถทำให้ไตทำงานหนักจนอาจเกิดไตวายเฉียบพลันหรืออาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
- ในกรณีที่ใช้ยานี้เป็นเวลานานๆระวังการดื้อยาของเชื้อโรคชนิดอื่นๆติดตามมา
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับผิดปกติ
- ระวังการใช้ยานี้กับ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ถึงแม้จะมีข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาว่าปลอดภัยเมื่อใช้กับหญิงตั้งครรภ์ก็ตาม การจะใช้ยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาฟลูคลอกซาซิลลินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ฟลูคลอกซาซิลลินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาฟลูคลอกซาซิลลินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาฟลูคลอกซาซิลลิน ร่วมกับ ยา Probenecid สามารถทำให้ฟลูคลอกซาซิลลินอยู่ในกระแสเลือดได้นานขึ้นและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ การจะใช้ยาทั้งคู่ร่วมกันจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
- การใช้ยาฟลูคลอกซาซิลลิน ร่วมกับ ยา Warfarin สามารถเพิ่มระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดได้ยาวนานขึ้นและเสี่ยงกับภาวะเลือดออกง่าย หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประ ทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาฟลูคลอกซาซิลลิน ร่วมกับ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีตัวยา Ethinyl Estradiol เป็นองค์ ประกอบจะทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพลงไปและเสี่ยงกับการตั้งครรภ์ตามมา ระหว่างการใช้ยาร่วมกันควรต้องป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้วิธีอื่นร่วมด้วยเช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย
- การใช้ยาฟลูคลอกซาซิลลิน ร่วมกับ ยาต่อต้านแบคทีเรียบางตั วเช่นยา Oxytetracycline, Tetracycline, Rolitetracycline, จะทำให้ฤทธิ์ของฟลูคลอกซาซิลลินด้อยประสิทธิภาพลงไปจึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษาฟลูคลอกซาซิลลินอย่างไร?
ควนเก็บยาฟลูคลอกซาซิลลิน:
- เก็บยาภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
- สำหรับยาน้ำแขวนตะกอนที่ผสมน้ำแล้วให้เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/ แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
ฟลูคลอกซาซิลลินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาฟลูคลอกซาซิลลิน มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Aofolin (อาฟูลิน) | Bright Future |
Fu Wei (ฟู่ เหวย) | Haibin Pharm |
Kun Bai (คุน ไบ) | Tai Sheng Pharm |
Kun Te (คุน เท) | Hisun Pharm |
Yifen (ยี่เฟน) | Tai Sheng Pharm |
NEOFLOX (นีโอฟลอกซ์) | Neon Labs |
Flucloxil (ฟลูคลอกซิล) | CCM Duopharma BioTech |
Flubex (ฟลูเบกซ์) | Beximco |
Flumed 500 (ฟลูเมด 500) | Medicon Lab |
Flumox (ฟลูมอกซ์) | Zifam India |
Evilox (อีวีลอกซ์) | ACME |
Fluclox (ฟลูคลอกซ์) | Lloyd |
Fluxin (ฟลูซิน) | Shanxi Taisheng |
Stafloxin (สแตฟลอกซิน) | Westmont |
Genaflox (เจนาฟลอกซ์) | General Pharma |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Flucloxacillin [2020,Sept5]
- http://www.mims.com/Philippines/drug/search/?q=flucloxacillin [2020,Sept5]
- http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fUSA%2fdrug%2finfo%2fflucloxacillin%2f%3ftype%3dfull%26mtype%3dgeneric#Dosage [2020,Sept5]
- http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fvietnam%2fdrug%2finfo%2fGenaflox%2f [2020,Sept5]
- http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fMalaysia%2fDrug%2finfo%2fFlucloxil%2f [2020,Sept5]
- https://www.drugbank.ca/drugs/DB00301 [2020,Sept5]