พลาสมาผู้พิทักษ์ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 7 สิงหาคม 2564
- Tweet
โดยผู้ที่สามารถบริจารคพลาสมาได้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- อายุอย่างต่ำ 18 ปี
- น้ำหนักตัวอย่างต่ำ 55 กิโลกรัม
- ผ่านการตรวจสอบร่างกาย
- กินโปรตีนวันละ 50-80 กรัม
- สามารถบริจาคพลาสมาได้ทุก 28 วัน หรือไม่เกิน 13 ครั้งต่อปี
ทั้งนี้ก่อนการบริจาคพลาสมา ผู้บริจาคต้องปฏิบัติตนดังนี้
- ดื่มน้ำให้มาก
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกรณีที่มีการผ่าตัดมาไม่นาน
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกรณีที่มีการสักร่างกายภายในระยะเวลา 12 เดือน
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกรณีที่อยู่ระหว่างการใช้ยา
สำหรับขั้นตอนการบริจาคพลาสมาหรือที่เรียกว่า การกรองพลาสมา (plasmapheresis) จะมีการแยกพลาสมาออกจากเลือด และนำเซลล์เม็ดเลือดแดงกลับคืนสู่ร่างกาย ซึ่งการบริจาคครั้งแรกจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และครั้งต่อไปประมาณ 90 นาที พลาสมาจะถูกแช่แข็งภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 ปี
พลาสมาเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ไฟลวก ช็อคหมดสติ เป็นโรคตับรุนแรง หรือ มีปัจจัยที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดพร่องไป เป็นตัวช่วยกระตุ้นปริมาณเลือดของผู้ป่วยซึ่งเป็นการช่วยป้องกันภาวะช็อคหมดสติ เลือดไหลไม่หยุด (bleeding disorders) เนื่องจากพลาสมามีส่วนประกอบที่สำคัญหลายอย่าง กล่าวคือ
- ปัจจัยที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด (clotting factors)
- อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin or IVIG) ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทาน
- แอลฟาวัน-แอนติทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin) ซึ่งเป็นโปรตีนในกลุ่มเซอร์ปินที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านโปรตีเอส
- อัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ
- Hyperimmuneglobulins ซึ่งเป็นแอนติบอดีหรือสารภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อโรคจากเลือดของผู้ป่วยที่หายดีจากโรคนั้น ๆ
ทั้งนี้ พลาสมาของผู้ที่มีเลือดกลุ่ม AB เป็นพลาสมาที่ต้องการมากที่สุดเพราะสามารถใช้รักษาได้กับทุกคน
แหล่งข้อมูล:
- What is Plasma? https://www.donatingplasma.org/donation/what-is-plasma [2021, August 6].
- What Is Plasma? https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=160&ContentID=37 [2021, August 6].
- The Importance Of Plasma In Blood. https://www.redcrossblood.org/donate-blood/dlp/plasma-information.html [2021, August 6].