พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 22 และตอนจบ)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-22

      

      นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยวิธี

  • กายภาพบำบัด (Physical therapy) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการปวด ซึ่งสามารถทำได้เอง เช่น การว่ายน้ำหรือการวิ่ง
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational therapy) เช่น การใช้เก้าอี้นั่งอาบน้ำจะช่วยลดอาการปวดจากการยืนกรณีที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
  • วิธีอื่นๆ เช่น

      o การฉีดคอร์ติโซน (Cortisone injections) – ซึ่งในแต่ละปีจะให้ฉีดได้ไม่เกิน 3-4 เข็ม เพราะยานี้อาจทำลายข้อได้ระยะยาว

      o การฉีดยาหล่อลื่น (Lubrication injections) เช่น กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) เพื่อช่วยกันกระแทก (บางงานวิจัยระบุว่าการฉีดยานี้ไม่ได้ช่วยแต่อย่างใด)

      o การจัดแนวกระดูกใหม่ (Realigning bones) ด้วยการผ่าตัดแต่งกระดูก (Osteotomy)

      o การเปลี่ยนข้อ (Joint replacement) – ด้วยการตัดเอาข้อที่เสื่อมออกและแทนที่ด้วยข้อเทียม

      สำหรับการดูแลตัวเอง สามารถทำได้ด้วยการ

  • ออกกำลังกาย – ชนิดที่มีแรงกระแทกน้อย (Low-impact exercise) จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงและช่วยทำให้ข้อดีขึ้น เช่น การเดิน การขี่จักรยาน หรือ แอโรบิคในน้ำ อย่างไรก็ดี หากรู้สึกปวดก็ให้หยุดพักชั่วคราวสัก 1-2 วัน แล้วค่อยออกกำลังใหม่ในระดับที่เบาลงกว่าเดิม
  • การลดน้ำหนัก – น้ำหนักตัวที่มากทำให้ข้อต่อ เช่น เข่า และ สะโพก ต้องรองรับน้ำหนักมาก การลดน้ำหนักจะช่วยแรงกดบนข้อและลดอาการปวดได้
  • การบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว (Movement therapies) – การออกกำลังแบบเบาๆ และยืด เช่น ไทเก็กและโยคะ จะช่วยลดอาการปวดและทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ให้หลีกเลี่ยงท่าที่อาจเป็นสาเหตุให้ปวดข้อ
  • การประคบร้อนและเย็น – เพื่อลดอาการปวดบวมที่ข้อ โดยการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดปวด ส่วนการประคบเย็นจะช่วยลดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle Spasm)
  • ใช้ยาทาเฉพาะที่อย่างสารสกัดจากพริก (Capsaicin) – เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยและอาการปวดระดับเบาที่บริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ โดยใช้วันละ 3-4 ครั้ง นานนับสัปดาห์
  • การใช้เครื่องช่วยพยุง (Braces or shoe inserts) ขณะยืนหรือเดินเพื่อรองรับแรงกดลงบนข้อ
  • การใช้เครื่องลดปวดTranscutaneous electrical nerve stimulation (TENS) ซึ่งเป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมอาการปวด ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นปลายประสาทในผิวหนังซึ่งส่งต่อสัญญาณของความเจ็บปวดไปยังสมอง สัญญาณเหล่านี้สามารถถูกขัดขวางเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดได้
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น ไม้เท้า วอล์กเกอร์ (Walkers) ที่ช้อนรองเท้าด้ามยาว (Long-handled shoe horns) เป็นต้น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Osteoarthritis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteoarthritis/symptoms-causes/syc-20351925 [2019, December 19].
  2. What is Osteoarthritis?. https://www.arthritis.org/about-arthritis/types/osteoarthritis/ [2019, December 19].