พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 18)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-18

      

      อาการแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรัง (ต่อ)

  • ระดับโพแตสเซียมในเลือดที่สูงอย่างรวดเร็ว (Hyperkalemia) ซึ่งทำให้หัวใจไม่สามารถทำงานและอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular)
  • กระดูกอ่อนและเพิ่มความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักง่าย
  • โลหิตจาง (Anemia)
  • ความต้องการทางเพศลดลงหรือมีบุตรยาก
  • ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย เป็นเหตุให้ไม่มีสมาธิ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป หรือ ชัก
  • ระบบภูมิต้านทานลดลง ทำให้อ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
  • หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงทั้งตัวแม่และทารก
  • ไตถูกทำลาย จนต้องใช้การฟอกไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต

      ในส่วนของการวินิจฉัย แพทย์สามารถตรวจสุขภาพ สอบประวัติครอบครัว วัดความดัน สอบถามประวัติสุขภาพว่า มีการรับยาอะไรที่มีผลต่อไตได้บ้าง นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งให้ทำการ

  • ตรวจเลือด - เพื่อดูระดับของเสียในเลือด เช่น ครีเอตินิน (Creatinine) และ ยูเรีย (Urea) ซึ่งถ้ามีมากแสดงว่าไตอาจมีปัญหาในการกรองของเสีย
  • ตรวจปัสสาวะ – เพื่อดูระดับโปรตีนในปัสสาวะ ถ้ามีมากแสดงว่าไตทำงานไม่ดี
  • วัดความดันโลหิต – ถ้าสูงอาจมีสาเหตุมาจากไตทำงานได้ไม่ดี
  • ประมวลผลภาพ (Imaging tests)
  • ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Kidney biopsy)

      สำหรับการรักษาสามารถทำได้ด้วยการ

  • หาสาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อมและทำการรักษา
  • เปลี่ยนไต หรือ ปลูกถ่ายไต (Kidney transplant)
  • ควบคุมอาการแทรกซ้อนของโรคไตเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น เช่น การให้
  • ยาลดความดันโลหิต –เช่น ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors หรือ ยากลุ่ม Angiotensin II receptor blockers ยาขับปัสสาวะ และกินอาหารที่ลดเค็ม ทั้งนี้ เพื่อให้ไตทำงานได้ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้ไตทำงานได้น้อยลง
  • ยาลดคลอเรสเตอรอล – เพราะผู้ป่วยโรคไตมักมีคลอเรสเตอรอลและมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจที่สูง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Chronic kidney disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521 [2019, December 15].
  2. Chronic kidney disease (CKD). https://www.kidneyfund.org/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/ [2019, December 15].