พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 16)

พระก็ป่วยเป็นนะโยม-16

      

      โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease = CKD)

      ปกติไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและของเหลวออกจากเลือดและขับออกทางปัสาวะ โรคไตเรื้อรังเป็นโรคความเสื่อมของไตที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการของโรคแต่อย่างใดหรือแสดงอาการแต่เพียงเล็กน้อย หากเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังจนถึงจุดๆ หนึ่ง อาจทำให้ระดับของเหลว เกลือแร่ และของเสียสะสมอยู่ในร่างกายจนทำให้ไตเสื่อมและไตวาย (Kidney failure / End-stage renal disease = ESRD) ได้

      โดยมีการประมาณว่า ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังอยู่ถึง 30 ล้านคน

      สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคไตเรื้อรังอาจเกิดได้จาก

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) โดยมีการอักเสบของกลุ่มเลือดฝอยของไตที่ทำหน้าที่กรองของเสีย (Glomeruli)
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อไต (Interstitial nephritis) ซึ่งเป็นการอักเสบของท่อไตและโครงสร้างโดยรอบของไต
  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic kidney disease)
  • ทางเดินปัสสาวะอุดตันเรื้อรัง เช่น ต่อมลูกหมากโต เป็นนิ่ว หรือ เป็น มะเร็ง
  • ปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux)
  • การติดเชื้อซ้ำที่ไตหรือที่เรียกว่า โรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

      ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรัง ได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular)
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต
  • โครงสร้างไตผิดปกติ
  • อายุมากขึ้น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Chronic kidney disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521 [2019, December 13].
  2. Chronic kidney disease (CKD). https://www.kidneyfund.org/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/ [2019, December 13].