พระก็ป่วยเป็นนะโยม (ตอนที่ 10)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 4 ธันวาคม 2562
- Tweet
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง (ต่อ)
- ยากลุ่ม Vasodilators เช่น ยา Hydralazine และ ยา Minoxidil ช่วยกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดแดง (Arteries) โดยตรง ด้วยการป้องกันกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงและป้องกันหลอดเลือดตีบ
- ยากลุ่ม Central-acting agents เช่น ยา Clonidine ยา Guanfacine และ ยา Methyldopa ที่ช่วยป้องกันสมองจากการสื่อประสาทให้ไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้หลอดเลือดตีบ
และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แพทย์มักจ่ายยามากกว่า 1 ชนิด ซึ่งผู้ป่วยต้องลองกินดูว่ายาตัวไหนเหมาะกับตนและเกิดประสิทธิผลที่ดีกว่ากัน
กรณีที่มีการใช้ยามากกว่า 3 ชนิด (ซึ่งหนึ่งในนั้นมักเป็นยาขับปัสสาวะ) แล้วยังไม่ได้ผล นั่นหมายความว่าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา (Resistant hypertension) ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุทุติยภูมิที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมกันหาสาเหตุนั้นเพื่อช่วยให้การรักษาได้ผล โดยอาจจะ
- ประเมินสาเหตุที่อาจเป็นไปได้
- ทบทวนยาที่กินและเลิกยาที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- คอยวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยหากเป็นกรณีเป็น White coat hypertension
- เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ลดเกลือ รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- เพิ่มยากลุ่ม Aldosterone antagonist เช่น ยา Spironolactone ซึ่งอาจช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา
สำหรับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงทำได้ด้วยการ
- ลดการกินเค็ม (ปริมาณเกลือน้อยกว่า 5 กรัมต่อวันตามคำแนะนำของ WHO)
- กินผักและผลไม้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
- ลดความเครียด
แหล่งข้อมูล:
- High blood pressure (hypertension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410 [2019, December 3].
- Hypertension. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension [2019, December 3].
- Everything you need to know about hypertension. https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109.php#management-and-treatment [2019, December 3].