ฝนตก น้ำท่วม ไฟดูด (ตอนที่ 3)

ฝนตก_น้ำท่วม_ไฟดูด-3

      

      อาการของไฟดูดขึ้นกับความรุนแรงที่โดนดูด บางครั้งอาจไม่แสดงอาการภายนอกแต่อวัยวะภายในอาจถูกทำลายได้ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • หมดสติ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle spasms)
  • ชาหรือเป็นเหน็บ
  • หายใจลำบาก
  • ปวดศีรษะ
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็นหรือการได้ยิน
  • ผิวไหม้
  • ชัก
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

      นอกจากนี้ การโดนไฟดูดยังสามารถเป็นเหตุให้เกิดภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น (Compartment syndrome) ซึ่งเกิดเมื่อกล้ามเนื้อถูกทำลายแล้วทำให้แขนขาบวม ในทางกลับกันสามารถไปกดทับหลอดเลือดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาที่รุนแรง ทั้งนี้ ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้นอาจไม่สังเกตเห็นได้ทันทีหลังจากที่โดนไฟดูด ดังนั้น จึงต้องคอยสังเกตแขนและขาหลังการโดดไฟดูด

      และบางครั้งการถูกไฟดูดก็สามารถมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ทำให้เป็นแผลเป็นถาวร หรือถ้ากระแสไฟผ่านตาก็อาจทำให้เป็นต้อกระจกได้ นอกจากนี้ ไฟดูดบางอย่างสามารถทำให้มีอาการเจ็บ ชา เป็นเหน็บ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะมีการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน

      แพทย์อาจให้ทำการตรวจร่างกายของผู้ถูกไฟดูดด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram / ECG / EKG)
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count)
  • ตรวจปัสสาวะ (หาเอนไซม์ของกล้ามเนื้อเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน)
  • เอกซเรย์ (เพื่อดูว่ามีอวัยวะไหนแตกหักหรือเคลื่อนที่บ้าง)
  • ตรวจซีทีสแกน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. First Aid 101: Electric Shocks. https://www.healthline.com/health/electric-shock [2019, September 22].
  2. .
  3. Electric Shock Causes, Treatment, After Effects). https://www.emedicinehealth.com/electric_shock/article_em.htm#how_does_electric_shock_and_lightning_work [2019, September 22].
  4. .