ผื่นภูมิแพ้ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ผื่นภูมิแพ้-3

      

โดยมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผิวหนังอักเสบ เช่น

  • อายุ
  • อาชีพ
  • สภาพแวดล้อม
  • ประวัติครอบครัว
  • สภาพร่างกาย
  • หอบหืด

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบได้ดังนี้

  • การตรวจร่างกาย
  • สอบประวัติสุขภาพ
  • การทดสอบบนผิวหนัง (Skin patch test)
  • การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนังไปตรวจ (Skin biopsy)

ซึ่งการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้

  • ใช้ยาลดอาการแพ้และคัน เช่น ยาต้านฮีสทามีนอย่าง Diphenhydramine
  • การรักษาโดยการส่องไฟ (Phototherapy)
  • การทาครีมสเตียรอยด์เพื่อลดอาการคันและอักเสบ เช่น Hydrocortisone
  • การทาครีมหรือโลชั่นสำหรับผิวแห้ง
  • การแช่ตัว (Oatmeal baths) เพื่อลดอาการคัน

สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบก็คือ การป้องกันตัวเองจากสิ่งที่ทำให้แพ้เป็นผื่น เช่น สวมเสื้อผ้าที่ปกป้องผิวกายกรณีที่ต้องทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีหรือสารที่ทำให้ระคายเคือง ส่วนกรณีที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สิ่งที่ทำได้คือ การไม่ให้เกิดการประทุกระจาย (Flare-ups) ด้วยการ

  • ไม่เกาบริเวณที่เป็น เพราะอาจทำให้เป็นแผลติดเชื้อ
  • ป้องกันไม่ให้ผิวแห้งด้วยการใช้สบู่อ่อน ทาโลชั่นให้ผิวชุ่มชื้น
  • ใส่เสื้อผ้าฝ้ายสบายเพื่อป้องกันการระคายเคืองผิว หลีกเลี่ยงการใส่ผ้าขนสัตว์ (Wool)
  • ลดความเครียด

แหล่งข้อมูล:

  1. What Is Dermatitis? https://www.healthline.com/health/dermatitis [2020, August 19].
  2. Dermatitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dermatitis-eczema/symptoms-causes/syc-20352380[2020, August 19].
  3. Dermatitis. https://dermnetnz.org/topics/dermatitis/ [2020, August 19].