ปอดอักเสบภูมิไวเกิน (ตอนที่ 2)

ปอดอักเสบภูมิไวเกิน-2

      

ซึ่งเราสามารถพบสารเหล่านี้ได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • ขนสัตว์
  • แอร์คอนดิชั่นนิ่ง เครื่องทำความชื้น (Humidifier) และ ระบบระบายอากาศ (Ventilation systems)
  • ขี้นก ขนนก
  • อาหารที่ปนเปื้อน เช่น เนย องุ่น ข้าวบาร์เลย์ อ้อย
  • ฝุ่นไม้
  • ฟางหรืออาหารสัตว์
  • ท่อน้ำร้อน
  • อื่นๆ

อย่างไรก็ดี โรคปอดอักเสบภูมิไวเกินไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียวหลังการสัมผัสกับฝุ่นสัตว์หรือพืช แต่เกิดจากการสะสมมาเป็นระยะเวลาพอสมควร แม้กระนั้นบางคนหรือร้อยละ 10-40 ที่ต้องเจอฝุ่นเหล่านี้อาจไม่แสดงอาการก็ได้ จนกว่าร่างกายจะมีการตอบสนองต่อฝุ่นที่อยู่ในปอดหรือที่เรียกว่า Sensitization หรือทำให้เนื้อเยื่อปอดเป็นแผล (Scar tissue) เกิดพังผืดสะสมในปอด (Pulmonary fibrosis) ทำให้ร่างกายหายใจได้ยากกว่าปกติ

ซึ่งหลังจากที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อฝุ่นที่อยู่ในปอด (Sensitization) แล้ว จะมีการตอบสนองได้ 3 ลักษณะ คือ

1. เฉียบพลัน (Acute / intense response)

2. กึ่งเฉียบพลัน (Sub-acute / recurrent response)

3. เรื้อรัง (Chronic / long-term response)

ทั้งนี้ อาการของโรคปอดอักเสบภูมิไวเกินแบบเฉียบพลันจะเกิดประมาณ 4-6 ชั่วโมงหลังการสูดดมฝุ่นเข้าไป และจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น

  • ไอแห้ง
  • หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก
  • เป็นไข้
  • สั่น
  • เหนื่อย

แหล่งข้อมูล:

  1. Hypersensitivity Pneumonitis. https://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/hypersensitivity-pneumonitis/[2020, February 11].
  2. Hypersensitivity Pneumonitis (Extrinsic Allergic Alveolitis). https://www.ccohs.ca/oshanswers/diseases/alveolitis.html [2020, February 11].
  3. Hypersensitivity Pneumonitis. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/hypersensitivity-pneumonitis [2020, February 11].