ปวดเท้า (Foot pain)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ปวดเท้า

ปวด/เจ็บเท้า (Foot pain) เป็นอาการพบบ่อยในทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ สาเหตุที่ทำให้ปวดเท้าที่พบบ่อยคือ ใส่รองเท้าไม่เหมาะสม รัดหรือหลวมเกินไป ใช้เท้ามากเกินเหตุโดย ไม่ได้พักเท้า มีตาปลาหรือมีหูดที่เท้า มีรูปเท้าผิดปกติตั้งแต่เกิด ฝ่าเท้าแบนผิดปกติ

สาเหตุอื่นที่พบได้คือ เอ็นและ/หรือเนื้อเยื่อต่างๆของเท้าอักเสบจากใช้เท้ามากเกินเหตุ มีโรคข้ออักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆเช่น โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์ มีปุ่มกระดูกงอกที่เท้า (มักพบในผู้สูงอายุ) ภาวะกระดูกร้าวจากใช้งานเท้ามากเกินไป (Stress fracture) จากปลายประสาทอักเสบเช่น จากโรคเบาหวาน จากเท้าขาดเลือดจากปัญหาการไหลเวียนโลหิตเช่น โรคหลอดเลือดขอดของขาหรือจากโรคหลอดเลือดอักเสบ โรคหลอดเลือดแดงแข็งเช่น ในโรคเบาหวาน นอกจากนี้คือการแบกรับน้ำหนักของเท้าจากโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดเท้าคือ

  • พักการใช้งานเท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบนเท้า
  • พันผ้ายืด (Elastic bandage) รอบเท้าเพื่อช่วยพยุงเท้า
  • เลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน
  • ยกเท้าให้สูงเมื่อนั่งหรือนอน
  • กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)

ควรพบแพทย์/แพทย์โรคกระดูกเมื่อ

  • ดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการปวดเท้าไม่ดีขึ้นภายใน 3 - 4 วัน
  • เจ็บ/ปวดเท้ามากขึ้นเรื่อยๆ
  • เท้าบวม
  • นิ้วเท้าสีเขียวคล้ำและ/หรือเท้าเย็นผิดปกติ
  • เท้ามีอาการของการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน อาจมีไข้)
  • อาการปวดเท้าเกิดหลังมีอุบัติติเหตุเพราะอาจมีกระดูกเท้าร้าวได้
  • เมื่อเป็นโรคเบาหวานเพราะอาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคเช่น ปลายประสาทอัก เสบและ/หรือหลอดเลือดเท้าอักเสบ

บรรณานุกรม

  1. Foot painhttp://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003183.htm[2015,May9]
Updated 2015, May 9