ปวดหลัง ทรมานชีวิต (ตอนที่ 6 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 30 มิถุนายน 2562
- Tweet
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง (ต่อ)
o Discectomy / microdiscectomy เป็นการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก ใช้สำหรับกรณีหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท วิธีนี้เหมาะกับผู้รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลและผู้ที่มีอาการปวดจนไม่สามารถทำอะไรได้
o การผ่าตัดขยายรูรากประสาท (Foraminotomy) เป็นการลดแรงกดทับของเส้นประสาทจากช่องทางออกที่แคบลงเนื่องจากอายุที่มากขึ้น หรือจากหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนมาทับ
o Radiofrequency denervation เป็นการรักษาด้วยการใช้ความร้อนที่ได้จากคลื่นวิทยุความถี่สูงในการจี้ไปยังเส้นประสาทเพื่อไม่ให้ส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง โดยการสอดเข็มไปในผิวหนังเหนือกระดูกสันหลัง
o การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) เป็นการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังสองข้อหรือมากกว่าไม่ให้เคลื่อนไหว มีวิธีการเชื่อมกระดูกหลายอย่าง แต่ละอย่างจะมีการปลูกถ่ายกระดูก (Bone grafting) ไม่ว่าจะมาจากคนไข้เอง (Autograft) ได้จากผู้บริจาค (Allograft) หรือจากกระดูกเทียม เพื่อช่วยเชื่อมกระดูกที่เกี่ยวข้อง
o การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม (Artificial disc replacement)
สำหรับคำแนะนำในการรักษาสุขภาพหลังให้แข็งแรง ได้แก่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เช่น การเดิน การว่ายน้ำ โดยมีการวอร์มอัพหรือคูลดาวน์ก่อนและหลังการออกกำลังกาย
- ยืนตัวตรงให้สมดุลระหว่างขา ไม่งอตัว หากต้องยืนเป็นระยะเวลานานให้วางเท้าข้างหนึ่งบนที่วางเท้าและสลับข้างกัน เพื่อช่วยลดน้ำหนักที่กดลงบนหลัง
- นั่งหลังตรงโดยใช้เก้าอี้มีพนักพิงหลังและที่วางแขน อย่างอตัว หาหมอนหรือผ้าขนหนูม้วนเพื่อรองหลังให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าปกติ ให้เข่าและสะโพกอยู่ในระดับเดียวกัน และคอยเปลี่ยนท่าให้บ่อยหรืออย่างน้อยทุกครึ่งชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องหมุนหรือทำให้หลังตึง
- ใส่รองเท้าที่สบาย ส้นไม่สูงมาก
- นอนบนพื้นผิวแน่น (Firm surface) ในท่าหันข้างยกเข่าขึ้นเหมือนลักษณะของทารกที่อยู่ในครรภ์ เพื่อลดการกดลงบนกระดูกสันหลัง
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก กรณีที่ต้องยกให้ใช้เท้าช่วยรับน้ำหนัก หลังตรงไม่บิด ย่อเฉพาะเข่า ถือของให้ใกล้ตัวหรือหาคนมาช่วยยก และอย่าเอี้ยวตัวขณะยก
- กินอาหารที่มีประโยชน์ประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสเฟอรัส และวิตามินดี เพื่อบำรุงกระดูก
- รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี
- เลิกบุหรี่ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกระดูกสันหลังได้มากขึ้น ลดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย
แหล่งข้อมูล:
- Back pain. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Low-Back-Pain-Fact-Sheet [2019, Jun 29].
- Low Back Pain Fact Sheet. https://en.wikipedia.org/wiki/Paraquat [2019, Jun 29].