ปวดหลัง ทรมานชีวิต (ตอนที่ 5)

ปวดหลังทรมานชีวิต-5

      

      ส่วนการรักษาอย่างอื่น ได้แก่

  • การทำกายภาพบำบัด (Physical therapy) ซึ่งประกอบด้วยหลายอย่าง เช่น การใช้ความร้อน อัลตราซาวด์ การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น และการคลายกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลังและช่องท้อง
  • ยาฉีดเข้าโพรงกระดูกสันหลัง (Cortisone injection) เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
  • การรักษาแบบไคโรแพรคติก (Chiropractic care)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การใช้เครื่องดึงถ่วงกระดูก (Traction)
  • การบล็อคเส้นประสาทเพื่อระงับความปวด (Nerve block therapies)
  • การกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง (Transcutaneous electrical nerve stimulation = TENS)
  • การนวด
  • การเล่นโยคะ
  • การผ่าตัด ซึ่งมีคนทำไม่มากนัก นอกจากกรณีที่จำเป็นหรือใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล เช่น ช่องไขสันหลังตีบแคบ กระดูกทับเส้น โดยการผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
  •       o การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง Vertebroplasty และ Kyphoplasty ซึ่งเป็นการรักษาแบบแผลเล็ก (Minimally invasive treatments) เพื่อซ่อมกระดูกสันหลังที่แตก

          [Vertebroplasty เป็นการรักษาโดยการฉีดซีเมนต์เข้าไปในบริเวณกระดูกสันหลังที่หักทรุด โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์เข้าไปขยายช่องภายในกระดูกสันหลัง แต่อาจจะใช้วิธีการจัดท่าขณะทำผ่าตัดให้หลังแอ่นมากขึ้น เพื่อช่วยให้กระดูกสันหลังสวนหน้าที่ยุบอ้าสูงขึ้นในระดับหนึ่ง ซีเมนต์ที่ฉีดจะแทรกเข้าไปตามช่องกระดูกและจับกันได้แข็งแรงมากขึ้น]

          [Kyphoplasty เป็นวิธีการฉีดซีเมนต์เข้าในกระดูกสันหลังที่หักยุบ โดยใช้บอลลูนเข้าไปขยายกระดูกที่หักยุบ ช่วยให้กระดูกที่หักยุบสูงขึ้นใกล้เคียงกับความสูงตามปกติ ซึ่งพบว่าวิธีนี้ทำให้ปัญหาการรั่วของซีเมนต์และภาวะแทรกซ้อนลดลง ในขณะที่อาการปวดหลังการผ่าตัดดีขึ้นมากกว่าร้อยละ90 โดยค่าใช้จ่ายของ Kyphoplasty จะสูงเมื่อเทียบกับ Vertebroplasty]

          o การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (Spinal laminectomy / spinal decompression) เป็นการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับไขสันหลัง โดยผ่าตัดเพื่อตัดเอาแผ่นกระดูก (Lamina) ในกระดูกสันหลังออกทั้งหมด ทำให้เกิดช่องว่าง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดบนไขสันหลังหรือเส้นประสาทไขสันหลัง การผ่าตัดนี้มักใช้เพื่อบรรเทาอาการโพรงกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ (Spinal stenosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด ชา หรืออ่อนแรง

          

    แหล่งข้อมูล:

    1. Back pain. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Low-Back-Pain-Fact-Sheet [2019, Jun 28].
    2. Low Back Pain Fact Sheet. https://en.wikipedia.org/wiki/Paraquat [2019, Jun 28].