ปวดหลัง ทรมานชีวิต (ตอนที่ 4)

ปวดหลังทรมานชีวิต-4

      

การวินิจฉัยโรค (ต่อ)

  • ตรวจเลือด – เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือมีสาเหตุอะไรที่ทำให้ปวด เช่น มียีน HLA-B27 ที่เป็นสาเหตุของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดหรือไม่
  • สแกนกระดูก (Bone scan) – เพื่อดูว่ามีกระดูกงอกหรือแตกหัก
  • การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าด้วยเครื่อง Electromyography (EMG) – เพื่อยืนยันว่ามีหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือ ช่องไขสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis)

      ส่วนใหญ่การปวดหลังอย่างเฉียบพลัน อาการมักจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ หากกินยาและประคบด้วยน้ำร้อน แต่ไม่ควรนอนติดเตียง ควรทำกิจกรรมเบาๆ ตามปกติ เช่น การเดิน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจนว่า คนที่ปวดหลังแล้วยังคงทำกิจกรรมต่อแทนที่จะนอนติดเตียงนานเป็นสัปดาห์ จะมีอาการที่ดีขึ้น

      นอกจากนี้การนอนติดเตียงยังอาจทำให้อาการปวดหลังแย่ลงและอาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอย่างโรคซึมเศร้าหดหู่ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tone) ลดลง และลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

      ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยารักษาดังนี้

  • ยาแก้ปวด (Analgesic medications) เช่น ยา Acetaminophen ยา Aspirin และยากลุ่ม Opioids เช่น Codeine, Oxycodone, Hydrocodone และ Morphine

      ทั้งนี้ การใช้ยากลุ่ม Opioids ควรใช้ในระยะเวลาสั้นและภายใต้การควบคุมของแพทย์ เพราะยากลุ่มนี้สามารถทำให้ติดได้ ทั้งยังต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้ยังมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ง่วงซึม ท้องผูก ตอบสนองได้ช้าลง และ การตัดสินใจแย่ลง (Impaired judgment) อย่างไรก็ดียาเหล่านี้ใช้ไม่ค่อยได้ผลกับอาการปวดหลังที่เรื้อรัง

  • ยาแก้ปวดเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ยา Ibuprofen ยา Naproxen sodium ซึ่งต้องใช้ตามแพทย์สั่ง เพราะยาเหล่านี้สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงของการใช้ยาที่รุนแรงได้ เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ท้องเสีย การคั่งของน้ำในร่างกาย (Fluid retention) และต้องระวังการใช้ยา NSAIDs ที่ทำปฏิกริยาร่วมกับยาตัวอื่นด้วย
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants) ซึ่งอาจทำให้ง่วงได้
  • ยาทาเฉพาะที่แก้ปวด
  • ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) โดยเฉพาะยากลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น ยา Amitriptyline

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Back pain. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Low-Back-Pain-Fact-Sheet [2019, Jun 25].
  2. Low Back Pain Fact Sheet. https://en.wikipedia.org/wiki/Paraquat [2019, Jun 25].