ปวดขา (Leg pain)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 27 กันยายน 2558
- Tweet
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคหลอดเลือด โรคเส้นเลือด (Blood vessel disease)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- หลอดเลือดขอด หลอดเลือดขาขอด หลอดเลือดดำขอด (Varicose vein)
- ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- โรคเส้นประสาท (Peripheral neuropathy)
ปวดขา (Leg pain) เป็นอาการที่พบได้บ่อยทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีสาเหตุจากหลากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยเช่น
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
- ภาวะขาดน้ำของร่างกาย
- การใช้งานกล้ามเนื้อขาเกินกำลัง
- จากกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกขาได้รับบาดเจ็บ (เช่น กล้ามเนื้อฉีก เอ็นอักเสบ กระดูกขาร้าวจากการใช้งานเกินกำลังที่เรียกว่า Stress fracture)
- จากโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมถอยและการอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของขาเช่น เอ็น กล้ามเนื้อ ข้อกระดูก ประสาท และหลอดเลือด
- จากภาวะขาดเลือดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
- จากการคั่งของเลือดดำขาและการไหลเวียนโลหิตของขาไม่ดีจากโรคต่างๆเช่น หลอดเลือดดำขาขอด การสูบบุหรี่ และโรคหัวใจ
- จากปลายประสาทอักเสบเช่น จากโรคเบาหวาน และการดื่มสุราเรื้อรัง
- จากภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำของขา และ
- จากโรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูกสันหลัง
การดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดขาคือ
- พักการใช้งานของขาด้านที่ปวด
- นวดเบาๆในบริเวณที่ปวด
- ยกขาด้านที่ปวดสูงเสมอ
- ประคบอุ่นในบริเวณที่ปวด (แต่บางกรณีอาจประคบเย็นเช่น อาการปวดจากเป็นตะคริว หลังกล้ามเนื้อคลายตัว)
- กินยาบรรเทาปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)
- สวมรองเท้าและถุงเท้าที่เหมาะสม
- ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆให้ได้ดี และ
- เลิกบุหรี่และสุรา
ควรพบแพทย์หรือแพทย์โรคกระดูกเมื่อ
- ปวดขามากขณะใช้งาน (อาจจากกระดูกหัก Stress fracture)
- ขาบวม แดง ร้อน ร่วมกับมีไข้ (อาการของการติดเชื้อในเนื้อเยื่อของขาหรือมีลิ่มเลือดในหลอดดำเลือดขา)
- ขาเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำและ/หรือบวมและ/หรือเย็น (ขาขาดเลือด)
- มีอาการขาชาร่วมกับการปวดร้าวมาจากเอว (อาจจากโรคหมอนรองกระดูก)
- เจ็บปวดขาร่วมกับขาชา คันผิวหนังที่ขา และปัสสาวะมาก (ผลข้างเคียงจากโรคเบา หวาน)
Updated 2015, Sept 5