ปรอท (Mercury)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 15 สิงหาคม 2558
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาใส่แผล การเลือกชนิดยาใส่แผล (Open wound drug administration)
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- อีดีเทตแคลเซียมไดโซเดียม (Edetate calcium disodium)
ปรอท (Mercury) หรือ ภาษาลาตินคือ Hydrargyrum มีสัญลักษณ์ว่า Hg เป็นแร่ธาตุที่เป็นโลหะหนัก มีสีเงินวาว เป็นสารที่ไม่จำเป็นและยังมีพิษต่อร่างกาย มักปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม น้ำใช้ตามธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม ในอาหารทะเล และการทำเหมืองแร่
ทางการแพทย์ได้นำปรอทมาใช้เป็นสิ่งต่างๆทางการแพทย์เช่น เป็นส่วนผสมของยาใส่แผลเช่น ยาแดง ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต สารอุดฟัน
ทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้เป็นเครื่องวัดค่าความดันต่างๆเช่น ความดันอากาศ
ทางอุตสาหกรรมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมหลายชนิดเช่น ที่เกี่ยวข้องทาง ด้านอีเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
ถ้าร่างกายได้รับปรอทในปริมาณสูง (อาจจากการดื่ม กิน สัมผัส และ/หรือหายใจ) โดย เฉพาะอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในเด็ก พิษปรอทจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบประสาท ส่งผลให้สติปัญญาด้อยลง (ในเด็กจะมีพัฒนาการที่ล่าช้าร่วมด้วย) มีปัญหาใน ด้านความจำ สมาธิ ความเข้าใจ มีผลต่อประสาทตาทำให้เห็นภาพไม่ชัด มีผลต่อประสาทหูที่ส่ง ผลถึงการได้ยิน และมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในระยะยาวการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ (การศึกษาในคนยังไม่แน่ชัด) ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าวหรือสงสัยได้รับพิษจากปรอท ควรรีบไปโรงพยาบาล ทั้งนี้แพทย์วินิจฉัยภาวะพิษจากปรอทได้จากประวัติบริโภค/สัม ผัสสารปรอทร่วมกับอาการของผู้ป่วย และการตรวจปริมาณสารปรอทในเลือดและในปัสสาวะ
อนึ่ง ค่าปกติของปรอทในเลือดคือ 5 ng/mL (Nanogram per milliliter) และในปัสสาวะ คือ 20 ng/mL แต่ทั้งนี้ ค่าเหล่านี้อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละห้องปฏิบัติการ
บรรณานุกรม