น้ำมันรำข้าว (Rice bran oil)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 21 สิงหาคม 2561
- Tweet
- บทนำ
- องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันรำข้าวเป็นอย่างไร?
- ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?
- บริโภคน้ำมันรำข้าวอย่างปลอดภัยทำอย่างไรดี?
- เก็บน้ำมันรำข้าวอย่างไร?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ไขมัน อาหารหลักห้าหมู่:หมู่ที่ 5 ไขมัน (Five food groups: Fat)
- อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ (Healthy diet)
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
- ยาลดไขมัน (Lipid-lowering drugs)
- น้ำมันพืช (Vegetable oil)
- น้ำมันปาล์ม (Palm oil)
- น้ำมันถั่วเหลือง (Soybean oil)
บทนำ
น้ำมันรำข้าว(Rice bran oil) เป็นน้ำมันพืช(Vegetable oil) ที่สกัดได้จากรำข้าว มีกลิ่นอ่อนๆ และมีจุดเกิดควัน(Smoke point)ที่ 232 องศาเซลเซียส(Celsius) สามารถนำมาใช้ ผัด ทอดอาหารที่ต้องใช้ไฟแรง จึงทำให้เป็นที่นิยมในประเทศแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และบังคลาเทศ องค์ประกอบของน้ำมันรำข้าวจะคล้ายกับน้ำมันถั่วลิสง(Peanut oil)โดยมีสัดส่วนประเภทของไขมันดังนี้ เช่น
- ไขมันเชิงเดี่ยวหรือโมโนอันแซทูเรทเตด แฟต(Monounsaturated fats) 38%
- โพลีอันแซทูเรทเตด แฟต (Polyunsaturated fats) 37%
- กรดไขมันอิ่มตัว(Saturated fatty acids) 25%
ประโยชน์ด้านอื่นที่มนุษย์ได้จากน้ำมันรำข้าวคือ นำมาผลิตเป็นเนยเหลว(Ghee) ทำขี้ผึ้ง(Rice bran wax) ใช้เป็นส่วนผสมของ เครื่องสำอาง และสารขัดเงา เป็นต้น
อนึ่ง ‘รำข้าว(Rice bran)’ คือ ส่วนอยู่ที่ผิวเมล็ดข้าว(ติดเปลือกข้าว) ที่หุ้มตัวเนื้อเมล็ดข้าว มีสีออกน้ำตาล ส่วนนี้เรียกว่า Chaff (Rice husk) เป็นส่วนที่กระบวนการสีข้าวขาวจะสีทิ้งออกไป ดังนั้นรำข้าวจะประกอบด้วย ผิวที่หุ้มตัวเมล็ดข้าว/Chaff จมูกข้าว/ข้าวงอก(Rice germ หรือ Germinated rice) และเมล็ดข้าวที่แตกหักที่มักใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ แต่ทางการแพทย์พบเป็นส่วนมีวิตามินบี1ปริมาณสูง และเนื่องจากรำข้าวมีส่วนประกอบของจมูกข้าว/ข้าวงอก บางคนจึงรวม ‘น้ำมันจมูกข้าว หรือน้ำมันข้าวงอก(Germinated rice oil)’ อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ ‘น้ำมันรำข้าว’ ด้วย
องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันรำข้าวเป็นอย่างไร?
องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-กรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันรำข้าวเป็นดังนี้ เช่น
ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?
ในน้ำมันรำข้าว ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) อย่างเช่น แกมมา-โอรีซานอล(Gamma-oryzanol) อนุพันธ์ของวิตามินอีอีก2ตัวคือ Tocopherols และ Tocotrienols รวมถึง Phytosterols ที่มีคุณสมบัติในการลดไขมันเลวอย่างLDL
ในมุมมองของนักวิชาการ พอจะสรุปประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวที่มีต่อสุขภาพดังนี้
1 องค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคหัวใจอเมริกันระบุว่า น้ำมันรำข้าวมีส่วนประกอบ ของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหรือโพลีอันแซทูเรทเตดแฟต และไขมันอิ่มตัวอย่างเหมาะสม ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายลดลงได้จริง เป็นเหตุให้ลดความเสี่ยงเรื่องไขมันอุดตันในเส้นเลือด และยังเป็นการป้องกันภาวะ หัวใจวายอีกด้วย
2 น้ำมันรำข้าวเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเช่น Tocopherols และ Tocotrienols รวมถึงสารประกอบ Oryzanol ทำให้อนุมูลอิสระในร่างกายที่เป็น อันตรายหมดฤทธิ์ และลดโอกาสของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ
3 อนุพันธ์วิตามินอีในน้ำมันรำข้าว ยังสามารถเร่งการรักษาบาดแผล และช่วยฟื้นฟูสภาพของเซลล์ผิวหนังรุ่นใหม่ ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น และปกป้องผิวจากการถูกแสงแดดเผา นอกจากนี้ยังส่งเสริมทำให้ผิวหนังทนต่อสารพิษและต่อเชื้อโรคต่างๆได้มากขึ้น
4 เชื่อกันว่าการบริโภคน้ำมันรำข้าวอย่างเหมาะสม จะทำให้ร่างกายทนต่อสารกระตุ้น ให้เกิดอาการแพ้ในร่างกาย ซึ่งก็น่าจะมาจากเหตุผลของสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำ ข้าวนั่นเอง
5 แม้ว่าน้ำมันรำข้าวมีแคลอรีสูง แต่ด้วยความหนืดของน้ำมันชนิดนี้ ทำให้การดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารทำได้เพียงประมาณ 20% ของปริมาณที่รับประทาน การถูกดูดซึมน้อยลง ทำให้น้ำมันรำข้าวเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการควบคุมน้ำหนักตัว
บริโภคน้ำมันรำข้าวอย่างปลอดภัยทำอย่างไรดี?
เพื่อสุขภาพและประโยชน์ต่อร่างกาย การเลือกบริโภคน้ำมันรำข้าวอย่างปลอดภัย อาจใช้หลักง่ายๆในการพิจารณาดังนี้ เช่น
- ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวที่ใช้ปรุงอาหาร ควรตรวจสอบ เลขที่ผลิต
วัน-เดือน-ปีที่ผลิต วันหมดอายุ สามารถดูเลข อย. ที่ระบุมากับฉลากผลิตภัณฑ์
จากเว็บไซด์ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
เมื่อเข้าเว็บไซด์ ให้พิมพ์เลข อย.(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องปรากฏชื่อผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยา
- น้ำมันรำข้าวมีจุดเกิดควัน(Smoke point)ที่ 232 องศาเซลเซียส สามารถใช้ น้ำมันรำข้าวมาใช้ผัดหรือทอดอาหารที่ต้องการไฟแรงได้
- ไม่ควรบริโภคน้ำมันรำข้าวที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
- ไม่บริโภคน้ำมันรำข้าวที่หมดอายุหรือมีกลิ่นเหม็นหืน
- หยุดใช้น้ำมันรำข้าวเมื่อเกิดอาการแพ้
- สลับสับเปลี่ยนการใช้น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง และอื่นๆ เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างพวกวิตามินอี และ/หรือวิตามินเค อย่างครบถ้วน
- หันมาบริโภคอาหารประเภทนึ่งหรือต้มด้วยความร้อน สลับทดแทนการใช้น้ำมันพืช เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมไขมันในร่างกายที่อาจจะมีมากเกินไป
เก็บน้ำมันรำข้าวอย่างไร?
ควรเก็บน้ำมันรำข้าว ดังนี้ เช่น
- สามารถเก็บน้ำมันรำข้าวในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรือเก็บภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น ห้ามเก็บน้ำมันรำข้าวในช่องแช่แข็งตู้เย็น
- เก็บน้ำมันรำข้าวในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บน้ำมันรำข้าวให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่เก็บน้ำมันรำข้าวที่หมดอายุแล้ว
- ไม่ทิ้งน้ำมันรำข้าวลงพื้นดินหรือในแหล่งน้ำคูคลองตามธรรมชาติ
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Rice_bran_oil [2018,Aug4]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Phytosterol [2018,Aug4]
- https://www.organicfacts.net/health-benefits/oils/rice-bran-oil.html [2018,Aug4]
- http://www.veganbaking.net/articles/tools/fat-and-oil-melt-point-temperatures [2018,Aug4]
- https://www.merriam-webster.com/dictionary/rice%20bran [2018,Aug4]