น้ำมันคาโนล่า (Canola oil)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 4 ตุลาคม 2561
- Tweet
- บทนำ
- องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันคาโนล่าเป็นอย่างไร?
- ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่าต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?
- ผลเสียของน้ำมันคาโนล่าต่อร่างกายมีอะไรบ้าง?
- บริโภคน้ำมันคาโนล่าอย่างปลอดภัยอย่างไรดี?
- เก็บน้ำมันคาโนล่าอย่างไร?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- น้ำมันพืช (Vegetable oil) น้ำมันสัตว์ (Animal oil)
- น้ำมันปาล์ม (Palm oil)
- น้ำมันถั่วเหลือง (Soybean oil)
- น้ำมันมะกอก (Olive oil)
- น้ำมันมะพร้าว (Coconut oil)
บทนำ
น้ำมันคาโนล่า(Canola oil) เป็นน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดผักกาดก้านขาว(Rapeseed) จากสถิติตั้งแต่พ.ศ.2560–2561 พบว่าน้ำมันคาโนล่ามีปริมาณการบริโภคมากเป็นอันดับที่3 รองจาก น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศ แคนาดา จีน อินเดีย เยอรมัน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
น้ำมันคาโนล่าที่ผ่านกรรมวิธีการบีบสกัดอย่างถูกต้อง ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับกับผู้บริโภคหลายประเทศด้วยองค์ประกอบของไขมันอิ่มตัวที่มีปริมาณต่ำ มีไขมันไม่อิ่มตัวเป็นปริมาณมาก และมีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวต่อไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็น 2 ต่อ 1 (Monounsaturated fat : Polyunsaturated fat = 2 : 1) มีจุดเกิดควัน(Smoke point) อยู่ที่ 238 องศาเซลเซียส(Celsius) จึงทำให้น้ำมันคาโนล่าสามารถนำมาใช้ทอดผัดอาหารที่ต้องใช้ไฟแรง หรือไม่ก็ใช้ปรุงรับประทานกับอาหารจำพวกสลัด ซึ่งในบางประเทศได้นำน้ำมันคาโนล่ามาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลอีกด้วย
องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันคาโนล่าเป็นอย่างไร?
องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-กรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันคาโนล่าเป็นดังนี้ เช่น
ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่าต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?
ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่าต่อสุขภาพ เช่น
1. น้ำมันคาโนลาอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวสองชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ
- Alpha-linolenic acid (ALA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยทำหน้าที่ช่วยลดไขมันเลวในเลือดอย่างเช่น LDL
- Linolenic acid (LA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 ที่จำเป็นต่อ สมอง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ด้วยคุณค่าทางโภชนาการดังกล่าว ทำให้น้ำมันคาโนลาได้รับการสนับสนุนด้านความปลอดภัยต่อการบริโภคของประชาชนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
2. การบริโภคน้ำมันคาโนลาในแต่ละวันจะทำให้ได้รับวิตามินอี ที่ช่วยปกป้องร่างกายจากสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคมะเร็ง
3. น้ำมันคาโนลาอุดมไปด้วย วิตามินอี และวิตามินเค ช่วยสนับสนุนและขจัดปัญหาของผิวหนัง เช่น ริ้วรอย สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ และส่งผลช่วยให้ผิวนุ่มเปล่งปลั่งและดูเยาว์วัย
4. น้ำมันคาโนลามีราคาไม่แพงเหมือนกับน้ำมันมะกอก ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย น้ำมันคาโนลาจึงจัดเป็นสารอาหารประเภทไขมันที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการผิวแห้งให้กับ ผู้คนจำนวนมาก
5. น้ำมันคาโนลาอ่นๆครึ่งถ้วย ใช้นวดเส้นผมแล้วปิดด้วยหมวกคลุมผมอาบน้ำทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วสระออกด้วยแชมพูพร้อมกับน้ำอุ่น จะทำให้สภาพเส้นผมนุ่มเงางามและยังช่วยดูแลเรื่องรังแคพร้อมกับป้องกันผมแตกปลายไปพร้อมๆกัน
ผลเสียของน้ำมันคาโนล่าต่อร่างกายมีอะไรบ้าง?
ผลเสียของน้ำมันคาโนล่าต่อร่างกาย เช่น
- ในน้ำมันคาโนล่ามีองค์ประกอบของกรดไขมันที่มีชื่อเรียกว่า Erucic acid ซึ่งจัดเป็น กรดไขมันโอเมก้า 9 อีกหนึ่ง/ชนิดที่การบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้น้ำมันคาโนล่ายังมีกรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งการบริโภคเป็น ปริมาณมากกลับจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจคล้ายกับ Erucic acid นอกจากนี้ยังส่งผลให้มี ความดันโลหิตสูง มีโรคเบาหวาน และโรคอ้วนตามมา
บริโภคน้ำมันคาโนล่าอย่างปลอดภัยอย่างไรดี?
การเลือกบริโภคน้ำมันคาโนล่าอย่างปลอดภัยอาจใช้หลักง่ายๆ ดังนี้
- ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันคาโนล่าที่ใช้เป็นน้ำมันพืชเพื่อปรุงอาหาร ควรตรวจสอบ เลขที่ผลิต วัน-เดือน-ปีที่ผลิต วันหมดอายุ สามารถดูเลข อย.(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่กำกับมากับฉลากผลิตภัณฑ์จากเว็บไซด์ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx เมื่อเข้าเว็บไซด์ให้พิมพ์เลข อย. ที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ จะต้องปรากฏชื่อผลิตภัณฑ์ ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยา
- น้ำมันคาโนล่ามีจุดเกิดควัน(Smoke point)ที่ 238 องศาเซลเซียส สามารถนำ น้ำมันคาโนล่ามาใช้ทอดอาหารที่ใช้ไฟแรงได้ ห้ามบริโภคหรือใช้น้ำมันคาโนล่า ที่ใช้ซ้ำ ด้วยมีการสูญเสียคุณค่าทางอาหารไปแล้วจากการใช้ในครั้งแรก และเสี่ยง ต่อการได้รับสารประกอบที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายตามมา
- ไม่บริโภคน้ำมันคาโนล่าที่หมดอายุ หรือที่มีกลิ่นเหม็นหืน
- หยุดใช้น้ำมันคาโนล่าเมื่อเกิดอาการแพ้น้ำมันนี้
- สลับสับเปลี่ยนการใช้น้ำมันชนิดอื่นๆไปกับการใช้น้ำมันคาโนล่า เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
- หันมาบริโภคอาหารประเภท นึ่งหรือต้มด้วยความร้อน สลับทดแทนการใช้น้ำมันพืช
เก็บน้ำมันคาโนล่าอย่างไร?
ควรเก็บน้ำมันคาโนล่าดังนี้ เช่น
- สามารถเก็บน้ำมันคาโนล่าภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น หรือจะเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส แต่ห้ามเก็บในช่องแช่แข็งตู้เย็น
- เก็บน้ำมันคาโนล่าในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บน้ำมันคาโนล่าให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ทิ้งน้ำมันคาโนล่าลงในแหล่งน้ำ หรือในคูคลองตามธรรมชาติ
บรรณานุกรม
- https://www.statista.com/statistics/263937/vegetable-oils-global-consumption/ [2018,Sept15]
- https://www.healthline.com/nutrition/canola-oil-good-or-bad#section2 [2018,Sept15]
- https://jonbarron.org/diet-and-nutrition/healthiest-cooking-oil-chart-smoke-points [2018,Sept15]
- https://www.canolacouncil.org/oil-and-meal/canola-oil/health-benefits-of-canola-oil/ [2018,Sept15]
- https://www.stylecraze.com/articles/amazing-health-benefits-of-canola-oil/#gref [2018,Sept15]
- https://www.engineeringtoolbox.com/oil-melting-point-d_1088.html [2018,Sept15]
- https://www.livestrong.com/article/153341-canola-oil-side-effects/ [2018,Sept15]