น้ำตาลหลังมื้ออาหาร (Postprandial glucose)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 16 กรกฎาคม 2560
- Tweet
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
- เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus)
- เบาหวานกับการตั้งครรภ์ (Diabetes mellitus and pregnancy)
- ยาลดน้ำตาลในเลือด (Antihyperglycemic agent)
- เบาหวานขึ้นตา เบาหวานกินตา (Diabetic retinopathy)
- ยาอินซูลิน (Insulin)
น้ำตาลหลังมื้ออาหาร/น้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร/น้ำตาลกลูโคสหลังมื้ออาหาร(Postprandial glucose ย่อว่า PPG) คือการที่เมื่อเราบริโภคอาหาร หลังจากการดูดซึมอาหารจากระบบทางเดินอาหารในระยะเวลาเป็นนาที ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อยๆสูงขึ้น ซึ่งในคนปกติ ระดับน้ำตาลนี้จะค่อยๆลดลงจนเป็นปกติภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ยกเว้นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่นำตาลในเลือดยังคงสูงกว่าค่าปกติ แพทย์จึงใช้การตรวจค่าน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารที่เรียกว่า “Postprandial glucose test” และเมื่อตรวจค่าน้ำตาลเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารจะเรียกว่า “Two - hour postprandial glucose test” เป็นอีกวิธีที่ใช้ช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวานในบางคนที่ไม่สามารถงดอาหารได้นานถึง 8 ชั่วโมงหรือนานมากกว่า ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานสำหรับคนทั่วไป ที่เรียกว่า “Fasting blood sugar(FBS) หรือ Fasting plasma glucose (FPG)”
ค่าปกติของ น้ำตาลในเลือดที่2ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร มักแปลตามอายุ โดย
- เด็กแรกเกิดถึงอายุ 50 ปี รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์ คือ 140 mg/dL (milligram/deciliter)
- อายุมากกว่า 50-60ปี, คือ 150 mg/dL
- มากกว่า 60 ปีขึ้นไป, คือ 160 mg/dL
ซึ่งถ้าผลการตรวจได้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่านี้ ก็ใช้ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคเบาหวานของแพทย์ไม่ได้ใช้การตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่จะใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น อาการผู้ป่วย ค่าน้ำตาลในเลือด การมีน้ำตาลในปัสสาวะ ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด และอาจรวมถึง ค่าน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเลือกการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีใด จะขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆไป
บรรณานุกรม