นึกว่าโดนของเข้าแล้ว (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

นึกว่าโดนของเข้าแล้ว-2

      

      ผู้ที่เป็นเดอร์มอยด์ซีสต์ควรทำการพบแพทย์เมื่อ

  • ซีสต์มีอาการปวดหรืออักเสบ
  • ซีสต์โตขึ้นผิดปกติหรือมีสีเปลี่ยนไป
  • ต้องการเอาออกเพื่อความสวยงาม
  • กรณีที่ซีสต์แตก อักเสบ ทำให้ปวดหรือเป็นไข้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

      โดยแพทย์อาจวินิจฉัยอาการด้วยภาพวินิจฉัย (Imaging tests) เช่น ในกรณีของเดอร์มอยด์ซีสต์ที่ไขสันหลัง จะใช้การซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือในกรณีของเดอร์มอยด์ซีสต์ที่รังไข่ จะใช้การตรวจภายใน (Pelvic exam) การอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน (Pelvic ultrasound) การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound) เป็นต้น

      สำหรับการรักษาเดอร์มอยด์ซีสต์ทำได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ประวัติสุขภาพ
  • อาการ
  • ความเสี่ยงหรือการติดเชื้อ
  • ความรุนแรงของซีสต์
  • ความพอใจส่วนบุคคล

      โดยปกติเดอร์มอยด์ซีสต์จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างใด แต่อาจเกิดอาการแทรกซ้อนของเดอร์มอยด์ซีสต์ เช่น ในกรณีที่เกิดบริเวณไขสันหลังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ กรณีที่เกิดที่รังไข่อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก

      สำหรับการผ่าเอาเดอร์มอยด์ซีสต์ที่ใบหน้าออก ควรสังเกตถึงความแตกต่างที่บริเวณหน้าระหว่างเดอร์มอยด์ซีสต์และสิ่งผิดปกติอื่นด้วยอย่าง

  • เดอร์มอยด์ซีสต์มักสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เกิดและค่อยๆ โต
  • เดอร์มอยด์ซีสต์จะแข็งและไม่ปวดนอกจากกรณีที่ซีสต์แตก
  • เดอร์มอยด์ซีสต์จะไม่อยู่เพียงผิวๆ

      ทั้งนี้ เราไม่ควรเอาเดอร์มอยด์ซีสต์ที่หน้าออกเอง เพราะการเอาออกอาจทำได้ไม่หมดและทำให้กลับมาโตอีกได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการติดเชื้อและเลือดไหลไม่หยุดได้

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Dermoid Cyst. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/sdermoid-cyst#1 [2019, November 11].
  2. What You Should Know About Dermoid Cysts. https://www.healthline.com/health/dermoid-cyst [2019, November 11].