นมแม่ : สมองและสุขภาวะ (Breastfeeding: Brain & Well-being)

สารบัญ

  • เกริ่นนำ
  • Breastfeeding
  • Brain สมองคือผู้บัญชาการ
  • Well-being สุขภาวะ

เกริ่นนำ

เมื่อ 50  ปีที่แล้ว ความคาดหวังการดูแลรักษาทารกและเด็กที่อยู่ในโรงพยาบาล เราให้ความสำคัญกับการหายจากโรค ไม่ตาย การติดตามหลังการรักษาก็เน้นการยุติของโรค ส่งผลให้ปัจจุบันเรามีอัตราการเสียชีวิตของทุกกลุ่มอายุลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มทารกแรกเกิด  ปัจจุบันอัตราตายทารกแรกเกิด ลดเหลือเพียง 4.2 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ในขณะที่เป้าหมายระดับโลกในปี ค.ศ. 2030  ตั้งไว้ที่ 12 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน  อัตราการเสียชีวิตที่ลดลง ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มอายุดีขึ้น  

ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงของเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีผลการกำเนิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรม คือโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สูงขึ้นมาก จนครองเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตคนไทยในปัจจุบัน  สุขภาพในเด็กโตก็เช่นกัน พบปัญหาทุพโภชนาการ 2 ลักษณะในเวลาเดียวกัน ( โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร - Double Burden of Malnutrition)  โรคกลุ่ม NCDs โรคกลุ่มสุขภาพจิตในระดับสูง ตัวอย่าง  ข้อมูลจากสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 พ.ศ. 2562 พบปัญหา 3 อันดับแรกคือ โรคซึมเศร้า ปัญหาความรัก การฆ่าตัวตาย ไม่นับปัญหายาเสพติด การติดเกมส์ ฯลฯ  ดังนั้นการตั้งเป้าลดอัตราตาย หรือการหายจากโรคเป็นหลัก อย่างเดิมไม่เพียงพอ จำเป็นต้องปรับให้ความสำคัญกับ การเพิ่มการบริหารจัดการให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย และต้องเริ่มตั้งแต่เกิด   

องค์การสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลกจึงได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2558-2573 (ค.ศ. 2015-2030) เพื่อให้คนเติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยเป้าหมายสุขภาพ 17 เป้าหมาย  และ เป้าหมายที่ 3 คือ Good Health and Well-being  การให้ความสำคัญกับ ชีวิตที่มีสุขภาพดีและมีสุขภาวะที่ดีด้วย

จะมีการอธิบายถึงสุขภาวะที่ดีในตอนท้าย โดยทั่วไปหมายถึง การมีร่างกาย อารมณ์ จิตใจ จิตวิญญาณที่ดีในทุกกลุ่มอายุ  สุขภาวะที่ดี ในกลุ่ม ทารกและเด็กเล็ก  จะเป็นรากฐานของการพัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ และสุขภาพที่ดีในอนาคต   มีการศึกษาที่  พบว่าการลงทุนในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเอาใจใส่รอบด้านในแนวทางสุขภาวะและให้มีการเรียนรู้ควบคู่ ในช่วงปฐมวัย 6 ขวบปีแรก จะมีผลตอบแทนถึง 6.7-17.6 เท่าของการลงทุน  ยิ่งลงทุนตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ยิ่งให้ผลคุมค่า  และเมื่อเทียบระหว่าง ช่วงอายุ 3 ขวบปีแรก กับ ช่วงอายุ 4-5 ขวบ  ช่วงอายุแรกจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า คือสูงถึงร้อยละ 13 และ ร้อยละ 7 ตามลำดับ (Heckman Study)

  1. Breastfeeding

จุดเด่นประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่นมผสมไม่สามารถเลียนแบบได้มีหลายประการ   ในที่นี้จะกล่าวถึงจุดเด่นด้านภูมิคุ้มกัน เริ่มจากน้ำนมโคลอสตรัม และแผ่นสรุป Top 5 Reasons & Top 7 Components ซึ่ง Dr. Diane Spatz ผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่เด็กป่วย จาก Children Hospital of Philadelphia เป็นผู้สรุปไว้เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้ทบทวน ความสำคัญของ สาร Human Oligosaccharides (Nutrition Reviews; 72(6):377-389)   ว่าน้ำนมแม่มีสาร HMOs จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เมื่อเทียบกับในนมวัวที่มีเพียงน้อยนิด (8% VS < 0.1%)

นมผสม ที่มีการเติมสาร Oligosaccharides ก็เติมได้ไม่มาก สารกลุ่มนี้เป็นตัวช่วยในกลไกการป้องกันการติดเชื้อทั้งทางเดินอาหารทางเดินหายใจ และการช่วยให้การทำงานของ เยื่อบุต่างๆ ให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ โดยเฉพาะ กลุ่ม Sialyllactose  กลุ่ม Sialyllated Oligosaccharides น้ำนมแม่จะมีปริมาณสารเหล่านี้ในระดับ 13,300-23,000 – 3,500-14,000 มก.ต่อลิตร มีสูงสุดในระยะ Colostrum ในขณะที่นมผสมใช้เลี้ยงทารกสามารถเติมได้สูงสุดก็เพียง 400-8,000 มก. ต่อลิตร  

พอมาในระยะ 5-10 ปีนี้ การศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์สุขภาพได้ทำให้เราได้พบความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อการเกิดความอุดมสมบูรณ์ของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีมากมายและน่าอัศจรรย์ที่จุลินทรีย์เหล่านี้ โดยเฉพาะจุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหาร -  Gut Microbiome การมีผลต่อสุขภาพที่ดีทั้งระยะสั้นและระยะยาวในโครงการ CHILD STUDY ของประเทศแคนาดา พบว่าการเสียสมดุลของไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อ ปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน หอบหืด เบาหวาน ภูมิแพ้และปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ไม่นับหน้าที่ของไมโคร ไบโอม ที่ช่วยในการดูดซึมอาหาร สร้างวิตามิน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยระบบเมตาโบลิซึมการเผาผลาญอาหารต่าง

  นมแม่ นมดัดแปลงสำหรับทารก
หอบหืด 1 1.7
อ้วน 1 2
ออทิสติก 1 1.81

ดูโอกาสเกิดโรค ตารางด้านซ้าย นมแม่เป็น key factor สำคัญ ที่สามารถสร้างความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของทารก โดยนมแม่เป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์สุขภาพ และตัวนมแม่ก็มีจุลินทรีย์สุขภาพที่มีปนจากขบวนการคลอดและการดูดนมจากเต้า จุลินทรีย์สุขภาพจะเข้าไปฝังในลำไส้ทารก  และมีกลไกสื่อสารกับระบบการอักเสบกับอวัยวะต่างๆ แม้แต่สมอง ลดปัญหา NCDs ดังกล่าวข้างต้น  โดยต้องเน้นว่า การให้ลูกคลอดปกติ ไม่ผ่าท้อง( โดยไม่จำเป็น) และการให้ลูกดูดนมจากเต้า ส่งเสริมให้เกิดชุมชนจุลินทรีย์สุขภาพที่แข็งแรง  ในร่างกายทารก  เป็นการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับทารกและเด็กเล็ก ผศ. พญ.อรภา  สุธีโรจน์ตระกูล  คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมนำเสนอในการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ เดือนมีนาคมที่ผ่านมา  ข้อมูลรายละเอียดทั้งของ พญ.รัชดาและพญ.อรภา สามารถเข้าสืบค้นใน www.thaibf.com หรือค้นใน digital library. ThaiBF.com ขอย้ำว่า การจะได้ประโยชน์จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงสุดต้องให้ความสำคัญกับแม่ที่มีสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดี ลูกได้นมแม่อย่างเดียวล้วนๆ 6 เดือน ได้อาหารตามวัย ควบคู่กับนมแม่จนถึงอายุ 1 ปี และได้อาหารหลัก 3 มื้อ ได้นมแม่เสริม จนอายุ 2 ปีหรือนานกว่า   

  1. Brain สมอง คือผู้บัญชาการ

สมอง เมื่อแรกเกิดสมองทารกจะมีจำนวนเซลล์สมอง ประมาณ 86,000 ล้านเซลล์ (86 billion neurons) และมีเซลล์พี่เลี้ยง เช่น  Glia cell อีกประมาณ 85,000 ล้านเซลล์ (85 billion non-neuronal and endothelial cells) หลังเกิดที่สมองมีการเจริญเติบโตจนมีน้ำหนักเพิ่มมาก เป็นผลจากการขยายใยประสาทและการเพิ่มจุดเชื่อมต่อ ซึ่งตัวกระตุ้นให้เกิดคือ อาหารที่เด็กได้รับ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นรายวัน  นอกเหนือจากอิทธิพลจาก Gene การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างหนาแน่น จากเดิมเราคิดว่าเกิดประมาณ 20,000-30,000 จุดต่อวินาที ปัจจุบันพบว่าสามารถสูงถึง 1 ล้านจุดต่อวินาที     Center on  Developing Children  มหาวิทยาลัย Harvard ได้สรุปแนวทางหลักของการพัฒนาสมองในช่วงนี้คือ 

  • Experiences build brain architecture
  • Serve & return interaction shapes brain circuity
  • Toxic stress derails healthy development

จะเห็นว่า ประสบการณ์จากการเลี้ยงดู การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก  การระมัดระวังไม่ให้เกิดภาวะตกอยู่ในความเครียด  ( toxic stress) เป็นแนวทางสำคัญในขบวนการเลี้ยงดูเด็ก  ซึ่งขบวนการเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกร่างกาย  ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและสุขภาพเด็ก และมีข้อมูลการศึกษาล่าสุด เผยแพร่ July 11, 2023 ในวารสาร Neuroscience เรื่อง Breast Milk Component Boosts Infant Brain Connectivity  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale  พบว่าสาร “Myo-inositol” ซึ่งเป็นสาร bioactive ในน้ำนมแม่ มีผลกระตุ้นให้เกิด การเชื่อมต่อ (Synapses) เส้นใยประสาท จะมีมากในระยะเริ่มต้นน้ำนมแม่คือสัปดาห์แรก และขึ้นกับอาหารที่แม่ได้รับ นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ ในการแสดงให้เห็นความสำคัญประโยชน์นมแม่ในการเสริมสร้างโครงสร้างสมองซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับ ปลูกฝังการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

  1. Well-being สุขภาวะ

สุขภาวะ (Well-being) มีความหมายและคำจำกัดความหลากหลาย เข้าใจง่ายๆ คือ สภาวะที่คนคนหนึ่งจะอยู่ได้ แล้ว มีสุขภาพดี มีความสุขรู้สึกตัวเองมีคุณค่าและมีความรื่นรมย์  อ้างอิงราชกิจจานุเบกษา “สุขภาวะ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” “สุขภาวะ”  ถูกบรรจุไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  Sustainable Development Goals–SDGs  ค.ศ. 2015-2030  เป้าหมายที่ 3 คือ Good Health and Well-being  ให้ความสำคัญในการสร้างหลักประกันว่าคนในทุกกลุ่มอายุ จะมีสุขภาพที่ดีและมีสุขภาวะ (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) กลุ่มอายุทารก ซึ่งอยู่ในกลุ่มอายุ เด็กเล็ก ( 0-5 ปี) เราจะมีบทบาทในการให้การดูแลรักษาอย่างไรที่แสดงถึงเราเอาใจใส่ให้เกิด สุขภาวะในวัยทารก คำตอบเบื้องต้น คือการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แม่และลูกได้อยู่ในสิ่งแวดล้อม และ การได้รับการปฏิบัติที่ทำให้แม่ลูกมีสุขภาพที่ดี มีความสุข ไม่กลัว ไม่เครียด ฯลฯ  เพราะเหตุการณ์ กระบวนการในช่วงนี้  นับแต่ปฏิสนธิ จะหมายถึงการสร้างฐานต้นทุนโครงสร้างสมอง ที่จะฝังจำ ผ่านการเชื่อมโยงของใยประสาท นับครั้งไม่ถ้วน (ถึงล้านครั้งต่อวินาที)  ที่จะมีผลส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะ บุคลิกของเด็กไปตลอดชีวิต (What happens during early childhood lays the foundation for a lifetime) ถ้าเราทำได้ดี ก็จะเป็น ต้นทุนเพื่อจะเติบโตเป็นคนทีมีสุขภาพดีและมีสุขภาวะสุขสมบูรณ์ อ่านถึงตรงนี้ ท่านเชื่อไหมว่าทำได้ ?

องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวไว้ว่า  ณ ปัจจุบัน ที่ประเทศส่วนใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิต (survive) ได้มาก ดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิด 1 เดือนแรก จาก 12  ใน ค.ศ. 2000 เป็น 4.22 ต่อการเกิดมีชีพ  1,000 ราย  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ค.ศ. 2030 ตั้งไว้ที่ 12 ต่อการเกิดมีชีพ 1000 ราย  จึงถึงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญกับการให้การดูแลอย่างเอาใจใส่ – Nurturing care  เพื่อให้เด็กได้มีการเติบโตและมีพัฒนาการในทางที่ถูกต้อง รอบด้าน เพื่อให้เด็กมีต้นทุนคนมีสุขภาพดี สุขภาวะสุขสมบูรณ์  หรือจะกล่าวว่าให้มีต้นทุนเพื่อเติบโตเต็มศักยภาพ และทันกับการเปลี่ยนแปลง กรอบการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Nurturing care for every newborn) ประกอบด้วยการให้เอาใจใส่ในขบวนการเลี้ยงดู 5 ด้าน คือการให้เด็กได้รับการดูแล 1) ด้านสุขภาพ  2) ด้านโภชนาการ 3) ด้านการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่  4) การให้เด็กมีความรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ และ 5) การมีโอกาสได้เรียนรู้ ซึ่งทารกและเด็กเล็กมักจะขาดการเอาใจใส่เรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง ทั้ง 5 ด้านเป็นด้านที่เชื่อมต่อกัน ไม่ใช่ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง (Interrelated & indivisible) กรณีทารกแรกเกิดเราจะให้การดูแลอย่างไรตามกรอบแนะนำของ Nurturing Care for Every Newborn

1) Good Health หมายถึง การให้การดูแลรักษา ปัญหาความเจ็บป่วย การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ  

2) Adequate Nutrition หมายถึง การได้รับนมแม่อย่างถูกต้องและเพียงพอ

3) Responsive Care หมายถึง การใส่ใจกับสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณ หิว ง่วง เจ็บ เครียด เบื่อ กลัว และเราพร้อมให้การ ตอบสนองทันที

4) Safety and Security หมายถึง การได้รับการดูแลภายใต้อากาศที่อบอุ่น มีสุขอนามัยที่ดี ลดสิ่งที่จะทำให้เกิดความเครียด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ และไม่แยกจากแม่

5) Opportunities for Early Learning หมายถึง การดูแลที่มีการกระตุ้นสมอง อย่างนุ่มนวล ผ่านการสัมผัส กอด แตะ เสียงพูดคุยเบาๆ 

การทำความเข้าใจความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความสำคัญของสมองและการให้ขบวนการเลี้ยงดู ทั้งสามเรื่องถ้าจัดการให้ดี ร่วมกับการเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของทารกและเด็ก จะทำให้ขบวนการให้การรักษาการดูแลและเลี้ยงดู จะเป็นไปอย่างเข้าใจ จิตวิทยาพัฒนาการทารกและเด็กเล็ก ผู้บรรยายได้จัดทำกรอบความเชื่อมโยง  ขอขอบคุณ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่จัดทำกรอบปิรามิด ลำดับขั้นพัฒนาการ (epigenesis)  เผยแพร่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความสำคัญของสมองที่กำลังโต ขบวนการให้การดูแลไม่ว่าจะเป็นการให้การรักษาพยาบาล การให้การเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่นุ่มนวล เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกทารกและเด็กเล็ก เหมือนแนวทางของกรอบ Nurturing care for every newborn จะนำเด็กให้เติบโตอย่างสู่สุขภาวะที่ดี
(Breastfeeding/ Brain & Well-being) มีต้นทุนในการพัฒนาทักษะความสามารถคุณลักษณะ บุคลิกในอนาคต  เพื่อพร้อมอยู่ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21

The first day, the first month -once -in-a-lifetime opportunity

ข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม 

  1. Jenabi E, Bashirian S, Salehi AM, et al. Not breastfeeding and risk of autism spectrum disorders among children: a meta analysis. Clin Exp Pediatr. 2023 Jan; 66(1): 28 10.3345/cep.2021.01872. Epub 2022 Jul 19.
  2. Fehr K, Moossavi S, Sbihi H, et al. Feeding Practices Are Associated with the Co Occurrence of Bacteria in Mothers' Milk and the Infant Gut: the CHILD Cohort Study. Cell Host Microbe. 2020 Klop Aug 12; 28(2):285 297. e 4.
  3. Black MM, Walker SP, Fernald LCH, et al. Early Childhood Coming of Age. Science through the life-course. The Lancet 2016; Published: October 4, 2016. http://dx.doi.org/10.1016/S0140- 12 6736(16)31. 13
  4. Bahney, J., and C.S. Bartheld. 2014. Validation of the isotropic fractionator: Comparison with unbiased stereology and DNA extraction for quantification of glial cells. Journal of Neuroscience Methods222: 165–174.
  5. Building Better Brains: The Core Story of Early Brain and Child Development. Material developed by AAP- American Academy of Pediatrics.  Revised Aug 2018
  6. Brain Architecture Key Concept from Center on Developing Child, Harvard University. https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/brain-architecture/
  7. Orla Doyle, Colm P. Harmon, James J. Heckman, and Richard E. Tremblay. (2009). Investing 20 in Early Human Development: Timing and Economic Efficiency. NIH Public Access. Published 21 online Jan 21, 2009. doi: 10.1016 /j.ehb.2009.01.002 22