นกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) - Update

สารบัญ

  • เกริ่นนำ
  • สัญญาณและอาการ
  • ผลกระทบทางจิตวิทยา
  • สาเหตุ
  • การวินิจฉัย
  • การรักษา
  • การจ่ายยา
  • การบำบัด
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก
  • การใช้เทสโทสเทอโรน
  • กระบอกสุญญากาศ
  • ไวเบรเตอร์/เครื่องสั่น
  • การผ่าตัด
  • แพทย์ทางเลือก
  • ความเป็นมา
  • มานุษยวิทยา

เกริ่นนำ

นกเขาไม่ขัน คือ โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction: ED or Impotence) เป็นภาวะเวลานาน (Duration) ไม่พอ หรือความพึงพอใจ (Satisfaction) ไม่มี จากการแข็งตัวขององคชาต (Penile erection) ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ (Sexual activity) ซึ่งเป็นปัญหาทางเพศที่พบมากที่สุดในผู้ชายและสามารถทำให้เกิดความเครียดทางจิตใจ (Psychologial distress) เนื่องจากมีผลต่อภาพลักษณ์ตนเอง (Self-image) และความสัมพันธ์ทางเพศ โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนมากมีปัจจัยหลักคือ ปัจจัยความเสี่ยง (Risk factor) ทางร่างกาย และ ปัจจัยความเสี่ยงที่สามารถคาดการณ์ (Predictive) ได้  ปัจจัยเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ปัจจัย ทางหลอดเลือด (Vascular), ระบบประสาท (Neurological), ลักษณะเฉพาะของอวัยวะเพศชายของแต่ละคน, ฮอร์โมน, และ การใช้ยา (Medication) ปัจจัยคาดการณ์ที่สำคัญในการทำให้องคชาตไม่แข็งตัวได้แก่ ความชรา, โรคหัวใจ, เบาหวาน (Diabetes), ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน (Obesity), ระดับไขมัน (Lipid) ผิดปกติในเลือด, ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonalism), การสูบบุหรี่, ภาวะซึมเศร้า (Deprression), และการใช้ยาประมาณ 10% ของผู้ป่วยมีสาเหตุมาจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า, ความเครียด, และปัญหาในความสัมพันธ์

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้นจะไม่นับรวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัว (Rigidity) ของอวัยวะ เพศอื่นๆ เช่น ภาวะองคชาตแข็งค้าง (priapism) มีรายงานว่าผู้ชายประมาณ 75% ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ไม่ได้มารับการรักษาเนื่องจากความอับอาย (Embarrassment) และ 18% ของผู้ชาย ที่มีอายุ 50-59 ปี และ 37% ของผู้ชายที่มีอายุ 70-75 ปี เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ต้องแก้ไขจากสาเหตุของโรค การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการแก้ไขปัญหาทางจิตใจ ในหลายกรณี จะใช้การรักษาโดยอาศัยยา โดยเฉพาะยากลุ่ม PDE5 (PDE5 inhibitors) อาทิเช่น ซิลเดนาฟิล (sildenafil) ยาเหล่านี้ทำหน้าที่ขยายหลอดเลือด ช่วยอำนวยความสะดวก ในการเพิ่มกระแส การไหลเวียนเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อฟองน้ำในองคชาต เปรียบเสมือนการเปิดวาล์วให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณการไหลของน้ำในสายสูบน้ำฉีดอัคคีภัย การรักษาที่ใช้ไม่บ่อยซึ่งได้แก่ การสอดยาโพรสแตกแลนดิน (Prostaglandin E-1) ลงในท่อปัสสาวะ (Urethra) การฉีดยาช่วยคลายกล้ามเนื้อและขยายหลอดเลือด (Vasodilators) เข้าไปในอวัยวะเพศชายโดยตรง, การผ่าตัดใส่แกนองคชาติเทียม (Penile implant), การใช้กระบอกสุญญากาศ (หรืออีกชื่อคือ ปั๊มอวัยวะเพศชาย), และการผ่าตัดหลอดเลือด

สัญญาณและอาการ

นกเขาไม่ขัน มีลักษณะอาการคือการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือรักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย (Penis) ให้มีความแข็งพอและนานพอสำหรับทำกิจกรรมเพศให้สุขสม ได้รับการนิยามว่า "ความไม่สามารถ ในการทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวและรักษาการแข็งตัวให้มีความแข็งเพียงพอที่จะทำให้มีกิจกรรมเพศที่สุขสมเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน"

ผลกระทบทางจิตวิทยา

นกเขาไม่ขัน มักมีผลต่อสุขภาพจิตใจของผู้ชายและคู่สมรสของพวกเขา ผู้ชายส่วนมากมักไม่ได้เข้ารับ การรักษา (Treatment) เนื่องจากความรู้สึกอับอาย เป็นจำนวนมากถึง 75% ที่ถูกตรวจวินิจฉัย ว่าเป็น นกเขาไม่ขัน แต่ไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุ

  1. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และผู้ชายที่มีโรคหัวใจมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะประสบปัญหา โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่กินอาหารที่ทำจากพืชมีความเสี่ยง เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศต่ำ
  2. ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านเศร้า เอสเอสอาร์ไอ (SSRIs), กลุ่มยาที่ใช้รักษาภาวะหรือโรคหลายชนิด เช่น รักษาความดันโลหิตสูง, ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติบางชนิด, โรคต้อหิน (beta blockers), ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ (antihistamines), ยาแอลฟา2-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (alpha-2 adrenergic receptor agonists), ยาไทอะไซด์ (thiazides), กลุ่มยาที่มีผลต่อฮอร์โมน (Hormone modulators), และกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานฮอร์โมนเพศชาย (5α-reductase inhibitors)
  3. โรคระบบประสาท (เช่น โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน, โรคลมชักกลีบขมับ, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคในกลุ่มพาร์กินสัน เช่น โรคที่มีการฝ่อหลายระบบของสมอง (Multiple system atrophy)
  4. กลุ่มโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำขององคชาต (Cavernosal disorders) เช่น โรคเพโรนีย์ (Peyronie's) เป็นความผิดปกติบริเวณองคชาตจากการที่เนื้อเยื่อผิดปกติจนเกิดพังผืดแข็ง ทำให้องคชาตผิดรูปปจากเดิม อย่างเห็นได้ชัด
  5. ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia) ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก โปรแลคติโนมา (Prolactinoma) เป็น เนื้องอกต่อมใต้สมองชนิดสร้างฮอร์โมน ซึ่งคอยสร้างฮอร์โมนโปรแลคติน เป็นต้น
  6. สาเหตุทางจิตใจ เช่น ความกังวลในการทำงาน, ความเครียด, และความผิดปกติทางจิตอื่นๆ
  7. การผ่าตัด (เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากออก)
  8. ความชรา หลังจากอายุ 40 ปีจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงขึ้นมาก แม้ว่าจะมีหลายโรคที่เกิดขึ้นในวัยชรา เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย, โรคหัวใจและหลอดเลือด, หรือเบาหวาน, รวมถึงอื่นๆ แต่โรค เหล่านี้ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
  9. โรคไต เนื่องจากโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และโรคไตเรื้อรังมีกลไกโรคที่เหมือนกัน คือเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหลอดเลือดและฮอร์โมน ซึ่งอาจก่อโรคร่วมอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและ บาหวาน ที่อาจทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  10. ลักษณะการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับ ED เนื่องจากทำให้เกิดภาวะหลอด เลือดแดงอุดตันง่ายขึ้น โดยที่การสูบบุหรี่สามารถทำให้อวัยวะเพศหดตัวและก่อโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศ ทำให้งานวิจัยกล่าวถึงยาสูบว่า เป็นสารระงับอารมณ์ทางเพศเลยทีเดียว
  11. COVID-19 โดยการวิจัยเบื้องต้นบ่งชี้ว่าการติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจมีผลต่อสุขภาพทางเพศ และการสืบพันธุ์
  12. การผ่าตัดสำหรับหลายๆโรค อาจทำลายโครงสร้างทางร่างกายภาย ที่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวขององคชาต, ทำให้เส้นประสาทเสียหาย, หรือทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะแทรกซึมที่พบได้บ่อยในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าต่อมลูกหมากเองจะไม่จำเป็นต่อการแข็งตัว เท่าที่รู้ ในกรณีของการผ่าตัดไส้เลื่อนในส่วนมาก (ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด) การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด สามารถนำไปสู่การฟื้นฟูความสามารถทางเพศของผู้ที่มีความสามารถทางเพศต่ำก่อนการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ที่มีความสามารถทางเพศในระดับปกติก่อนการผ่าตัด ส่วนมากไม่ได้รับผลกระทบใด

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยังอาจเกี่ยวข้องกับการขี่จักรยานเนื่องจากปัญหา ทั้งทางประสาทและทางหลอดเลือดที่เกิดจากการบีบอัด ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นดูเหมือนจะเป็นประมาณ 1.7 เท่า

ความกังวลว่าการดูสื่อลามกสามารถทำให้เกิดอาการนหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีข้อสนับสนุนน้อย ซึ่งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาตามการศึกษาจากงานเขียนในปี 2015 ของ Gunter de Win ผู้เป็นศาสตราจารย์ ชาวเบลเยียมและนักวิจัยเรื่องเพศไว้ว่า "โดยปกติผู้ตอบคำถามที่ชม ‘รายการ 60 นาที’ ต่อสัปดาห์และคิดว่า ตนเองติดสื่อลามกมีความน่าจะเป็นมากกว่าที่จะรายงานว่าไม่ค่อยมีอารมณ์ทางเพศมากกว่าผู้ที่ชมสื่อลามกอย่างสบายๆ ไม่เครียดเป็นเวลา 160 นาทีต่อสัปดาห์"

ในกรณีที่เกิดไม่บ่อย ยา เช่น SSRIs, isotretinoin (accutane) และ finasteride (propecia) ได้รายงาน ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดโรคจากยาจำพวกอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งรวมถึงอาการนหย่อน สมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ซึ่งเรียกว่า post-SSRI sexual dysfunction (PSSD), post-retinoid sexual dysfunction/post-Accutane syndrome (PRSD/PAS), และ post-finasteride syndrome (PFS) ซึ่งสภาวะเหล่านี้ ยังคงไม่มีความเข้าใจ อย่างถ่องแท้และขาดการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ามันจะได้รับการบอกเล่าว่ามีสาเหตุมาจากแหล่งเดียวกัน ก็ตาม

การวินิจฉัย

ในหลายๆ กรณี การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยพิจารณาจากประวัติอาการของบุคคล ในกรณีอื่นๆ จะมีการตรวจร่างกายและการตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อกำจัดสาเหตุที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือ ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูง

เบื้องต้นขั้นตอนแรกคือการแยกแยะสาเหตุระหว่างสมรรถภาพทางกายและสภาวะทางจิตใจของอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยตัดสินจากการแข็งตัวขององคชาตโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเป็นไปไดของสาเหตุทางจิตใจสำหรับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การแข็งตัวเต็มที่ในบางโอกาส เช่น การแข็งตัวขององคชาต ในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งเป็นช่วงที่ (ถ้าหากมีปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วย) จะส่งผลน้อยลง แต่มักแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างทางกายกำลังทำงานปกติ ในทำนองเดียวกัน การบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยมือ ก็ใกล้เคียงกับการบำบัดความวิตก หรือ ความหย่อนสมรรถภาพแบบฉับพลัน ซึ่งอาจแสดงถึงสาเหตุทางจิตใจสำหรับโรค หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหยุดการทำงานของอวัยวะเพศคือเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่รู้จักดีของโรคระบบประสาท โรคหยุดการทำงานของอวัยวะเพศยังเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ไม่ดี, พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดี, โรคอ้วน, และโดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน การตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงทางหัวใจและหลอดเลือดเช่น การสูบบุหรี่, โรคไขมันในเลือดสูง, ความดัน โลหิตสูง, และโรคพิษสุราเรื้อรัง ก็ช่วยได้เช่นกัน ในบางกรณี ไส้เลื่อนขาหนีบที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อนอาจ เป็นประโยชน์ เนื่องจากมันสามารถมีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับเรื่องเพศในผู้ชาย และสามารถรักษาได้ง่าย

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คือ

  1. การออกกำลังกาย โดยเฉพาะแบบแอโรบิก เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในช่วงวัยกลางคน
  2. การให้คำปรึกษาสามารถใช้ได้หากสาเหตุที่เป็นฐานเป็นด้านจิตใจ รวมถึงวิธีลดความเครียด หรือ ความกังวลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
  3. การรับประทานยาและกระบอกสุญญากาศเป็นวิธีรักษาในระดับแรก ตามด้วยการฉีดยาลงในอวัยวะ เพศชาย
  4. การผ่าตัดใส่แกนองคชาติเทียม และ การศัลยกรรมหลอดเลือด เป็นประโยชน์สำหรับคนไข้บางกลุ่ม การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัดไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางกายภาพที่เป็นฐานได้ แต่ใช้ตามความจำเป็นก่อนการมีเพศ สัมพันธ์

การจ่ายยา

ยา PDE5 รวมถึงซิลเดนาฟิล (Viagra), วาร์เดนาฟิล (Levitra), และทาดาลาฟิล (Cialis) เป็นยาที่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์โดยใช้รับประทาน ณ ปี ค.ศ. 2018 ซิลเดนาฟิลมีจำหน่ายในสหราช อาณาจักรโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ นอกจากนี้ ครีมที่ผสมอัลพรอสตาดิลกับตัวช่วยในการซึมผ่าน DDAIP ได้รับการอนุมัติในแคนาดา เป็นตัวแรกในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ส่วนการฉีดยาใน อวัยวะเพศชายสามารถใช้หนึ่งในยา ต่อไปนี้: ปาปาเวอรีน, เฟนโทลามีน, และพรอสตาไกลดิน E1 หรือที่รู้จักกันในนามอัลพรอสตาดิล นอกจากการ ฉีดยาแล้ว ยังมีบำรุงอัลพรอสตาดิลที่สามารถสอดใส่ ลงท่อปัสสาวะได้ หลังจากใส่ลงไป การแข็งตัวขององคชาต สามารถเริ่มต้นในเวลา 10 นาทีและคงอยู่ได้ถึง 1 ชั่วโมง ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหยุดการทำงานของอวัยวะเพศ อาจมีผลข้างเคียงที่เรียกว่า ไพรอะพิซึม (Priapism)

การบำบัด

  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave)

          เป็นกระบวนการที่ส่งผ่านคลื่นสั้นๆที่มีความถี่สูง ผ่านผิวหนังและเข้าสู่องคชาต คลื่นเหล่านี้จะทำลายเศษตะกอนไขมันในหลอดเลือด ซึ่งส่งเสริมการเกิดของหลอดเลือดใหม่ ทั้งกระตุ้นการซ่อมแซมและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ การรักษาด้วยการส่งคลื่นกระแทกเหมาะสำหรับผู้ชายที่มีสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศจากโรคหลอดเลือด (vasculogenic ED) ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของหลอดเลือดที่มีผลต่อการไหลเวียนโลหิต ไปยังเนื้อเยื่อในอวัยวะเพศชาย การรักษานี้ไม่เจ็บปวดและไม่มีผลข้างเคียง การรักษาด้วยการส่งคลื่นสะเทือนรวมสามารถ ทำให้ค่าแบบวัดดัชนีสากลของการทดสอบสมรรถภาพทางเพศ (IIEF [International Index of Erectile Function]) ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

  • การใช้เทสโทสเทอโรน (Testosterone)

ผู้ชายที่มีระดับเทสโทสเทอโรนต่ำอาจมีอาการนกเขาไม่ขัน การใช้เทสโทสเทอโรนอาจช่วยรักษา การแข็งตัวของ องคชาตได้ ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีโอกาสที่จะมีระดับโทรโมนต่ำสองเท่าของผู้ชายที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน และมีโอกาสที่จะมีอาการนกเขาไม่ขันเป็น 3 เท่าของผู้ชายที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

  • กระบอกสุญญากาศ (Pump)

กระบอกสุญญากาศหรือปั๊มอวัยวะเพศชายในทางการแพทย์ ช่วยในการแข็งตัวขององคชาต ด้วยการดึงเลือดเข้าสู่องคชาตโดยการใช้ความดันด้านลบ ประเภทเครื่องชนิดนี้บางครั้งเรียกว่าปั๊มอวัยวะเพศชาย และอาจ ช้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ กระบอกสุญญากาศหลายประเภทที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) ต้องใช้ภายใต้ใบสั่งจากแพทย์ หากวิธีการรักษาด้วยยาล้มเหลว ปั๊มสุญญากาศออกแบบมาเพื่อใช้ในการทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ ด้วยวงแหวนที่ขนาดพอดีกับส่วนโคนขององคชาตเพื่อรักษาสภาพการแข็งตัว ของอวัยวะเพศ ปั๊มอวัยวะเพศชายในทางการแพทย์นี้ ควรแยกจากปั๊มอวัยวะเพศชายอื่นๆ (ที่ไม่มีวงแหวน) ซึ่งไม่ใช่เพื่อการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพชั่วคราว แต่อาจกล่าวอ้างว่าจะเพิ่มความยาวของอวัยวะเพศชาย หากใช้บ่อยๆ หรือสั่นเพื่อใช้เป็นวิธีช่วยตัวเองในทางเพศ โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติม ยิ่งไปกว่านั้นหากใช้อุปกรณ์เหล่านี้จนองคชาตพองหรือแข็งตัวมากไป ก็อาจต้องรับการผ่าตัด

  • ไวเบรเตอร์/เครื่องสั่น (Vibrator)

ไวเบรเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 19 ในฐานะเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อบรรเทาความปวดประสาทและการรักษาโรคต่างๆ บางครั้งอธิบายว่าเป็นเครื่องนวดร่างกาย (Massager)  โดยใช้บน ร่างกายเพื่อสร้างการกระตุ้นทางเพศ หลายการทดลองในผู้ป่วยพบว่า ไวเบรเตอร์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น MysteryVibe's Tenuto และ Reflexonic's Viberect ซึ่งเป็นไวเบรเตอร์ที่ได้รับการลงทะเบียนโดย FDA สำหรับบำบัดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  • การผ่าตัด (Surgery)

มักจะใช้เมื่อการรักษาแบบอื่นล้มเหลว  วิธีผ่าตัดโดยปกติคือการผ่าตัดใส่แกน งคชาตเทียมโดยการสอดแกนประดิษฐ์ลงไปในองคชาติ บางแหล่งข้อมูลแสดงว่าการผ่าตัดที่ฟื้นความสามารถในการไหลเวียนโลหิต เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนบางกลุ่ม

แพทย์ทางเลือก

FDA ไม่แนะนำการใช้วิธีการรักษาทางเลือกสำหรับการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่โฆษณาว่าเป็น "ไวอากร้าสมุนไพร" หรือผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ "ธรรมชาติ" แต่ไม่มีการ ทดลองทางคลีนิกหรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่สนับสนุนถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย และสารเคมีสังเคราะห์ที่คล้ายกับไซเลนาฟิล ก็พบเป็นสารตัวผสมในผลิตภัณฑ์มากจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ FDA ได้เตือนผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศใดๆ ที่อ้างว่าทำงานได้เหมือนผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ใบรับรอง มีความน่าจะเป็นที่จะมีสารปนเปื้อนดังกล่าว จากการสัมภาษณ์ ในรายงานระบุว่า โสม "มีผลเล็กน้อยต่อ การแข็งตัวขององคชาต หรือความสุขสมทางเพศ ซึ่งน้อยพอๆ กับ ยาหลอก (Placebo) เลยทีเดียว”

ความเป็นมา

ความพยายามในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีมาตั้งแต่เมื่อ 1,000 ปีก่อนที่ผ่านมา  ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 8 ผู้ชายสมัยโรมันและกรีกสวมเครื่องรางที่ทำจากอวัยวะเพศของแพะและไก่ เชื่อว่าเครื่องรางเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นสิ่งช่วยเพิ่มความกำหนัดและช่วยในเรื่องทางเพศ ในศตวรรษที่ 13 อัลเบิร์ตัส แมกนัส (Albertus Magnus) แนะนำให้บริโภคอวัยวะเพศของหมาป่าย่างเพื่อรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในช่วงสิ้น มัยคริสตศตวรรษ ที่ 16 และ 17 ในฝรั่งเศส ถือว่าโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในเพศชายได้รับการพิจารณาว่าเป็นความผิด และเป็นเหตุผลทางกฎหมายสำหรับการหย่าร้าง ข้อปฏิบัติที่รวมถึงการตรวจสอบข้อกล่าวหา โดยผู้เชี่ยวชาญของศาลถูกตัดสินว่าไม่เหมาะสมในปี ค.ศ. 1677

การตีพิมพ์สำคัญครั้งแรกที่อธิบายการแพทย์ในความผิดปกติทางเพศอย่างกว้างขวาง คือการตีพิมพ์ครั้งแรกของรายการฉบับแรกของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิตใจในปี ค.ศ. 1952 ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ความเชื่อพื้นฐานด้านการแพทย์กล่าวว่า 90-95% ของผู้ป่วยที่เป็น ED นั้นเกี่ยวข้องกับจิตใจ แต่ ในคริสตทศวรรษที่ 1980s การวิจัยได้เปลี่ยนทิศทางไปในทิศทางตรงข้าม โดยการค้นหาสาเหตุทางกายภาพของปัญหาทางเพศ ที่เกิดขึ้นในคริสตทศวรรษที่ 1920s และ 1930s การอธิบายด้วยเหตุผลทางกายภาพ มากกว่าเหตุผลทางจิตใจ ยังคงครอบคลุมในงานพิมพ์ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2022

การรักษาในปี คริสตทศวรรษ 1980s สำหรับ ED รวมถึงการฝังเครื่องปรับสถานะเทียมและการฉีดยาเข้าไปในถังเลือด อุปกรณ์สร้างแรงดันลูกกลิ้งชนิดแรกที่ประสบความสำเร็จหรือ ปั๊มอวัยวะเพศ ถูกพัฒนาโดย วินเซ็นต์ มารี มองดัต (Vincent Marie Mondat) ในต้นคริสตทศวรรษที่ 1800s อุปกรณ์ที่สร้างมากขึ้นจากปั๊ม จักรยานพัฒนาโดย กิดดิงส์ ออสบอน (Geddings Osbon) นักเทศน์นิกาย Pentecostal ในคริสตทศวรรษ 1970s จน มาถึงปี ค.ศ. 1982 เขาได้รับการอนุมัติจาก FDA ในการขายผลิตภัณฑ์ในตลาด จอห์น อาร์ บริงคลี่ (John R. Brinkley) จุดประกายการรักษาโรคไร้สมรรถภาพในสหรัฐอเมริกาในปีคริสตทศวรรษ 1920s และ 1930s ด้วยรายการวิทยุ ที่แนะนำการปลูกถ่ายต่อมแพะและการฉีด "Mercurochrome" เป็นทาง เลือกในการคืนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย รวมถึงการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ เซอร์จ เวอรอนอฟ (Serge Voronoff)

การรักษาทางยาสมัยใหม่สำหรับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในปี ค.ศ. 1983 เมื่อนักสรีรศาสตร์ชาวอังกฤษ ไจลส์ บรินด์ลีย์ (Giles Brindley)  ถอดกางเกงของเขาและแสดงให้ผู้ชมในสโมสรยูโรไดนามิคส์ (Urodynamics Society) ที่ตกใจให้เห็นการแข็งตัวของอวัยวะเพศ จากการเสพยาเสพติด ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ที่ได้รับการอนุมัติเป็นยาจากบริษัท Pfizer โดย FDA ในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นยาที่ขายได้รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์  ยา sildenafil ส่วนใหญ่แทนที่การรักษา ด้วย SSRIs สำหรับโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศในเวลานั้น และทำให้การตลาดเภสัชกรรมแบบพิเศษปรากฏมากขึ้น ซึ่งเน้นความหมายแฝงในทางสังคมของโรคหย่อนสมรรถภาพกับ Viagra [ของ Pfizer] มากกว่าผลกระทบของยาตัวนี้ต่อร่างกาย

มานุษยวิทยา

การวิจัยทางมนุษยศาสตร์นำเสนออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศว่าไม่ใช่โรค แต่เป็นสัญญาณของการ เปลี่ยนแปลงที่ปกติและบางครั้งยินดีในการสมรสของช่วงวัยที่ดีของผู้สูงอายุ การศึกษาของ วินต์เซล (Wentzell) ที่ผู้ชายเม็กซิกัน 250 คน อายุ 50 ปี และ 60 ปีพบว่า "ส่วนใหญ่ไม่เห็นว่าการที่องคชาต มีความสามารถในการแข็งตัวลดลงเป็นโรคทางชีวภาพ" ผู้ชายที่ถูกสัมภาษณ์บรรยายถึงการลดลงของความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศว่า "เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอายุที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม" เรื่องราวนี่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายผู้สูงอายุที่น่านับถือย่อมมีการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องครอบครัวเข้าสู่ "ระยะชีวิตที่ 2"  ซึ่งผู้ชายเม็กซิกันในรุ่นนี้มักจะพยายามมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส การลดลงของความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศเป็นวิธีช่วยในการเอาชนะความเชื่อเรื่องดังกล่าว ซึ่งช่วยให้พวกเขาเข้าสู่ "ระยะชีวิตที่ 2" อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอายุ 56 ปีคนหนึ่งที่กำลังจะเกษียณจากบริการสาธารณสุขกล่าวว่าตอนนี้ "ฉันจะมอบตัวเอง ให้แก่ ภรรยา, บ้าน, การทำสวน, การดูแลหลาน—วิถีดั้งเดิมของเม็กซิกัน" วินต์เซล พบว่าการรักษาโรคหย่อน สมรรถภาพทางเพศไม่เหมาะกับมุมมองสังคมของผู้ชายเหล่านี้ และวัตถุประสงค์ในช่วงชีวิตนี้

ในคริสตศตวรรษที่ 20 และ 21 นักมานุษยศาสตร์ได้ศึกษาว่าการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ขึ้นอยูกับการมีตำแหน่งในสถาบันทางสังคม การเสนอการรักษาให้กับคนที่เหมาะสม จะฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ นักมานุษยศาสตร์มองว่าการแพทย์ที่มุ่งเน้นทางทางชีวภาพสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นคืนสมรรถภาพทางเพศของร่างกาย โดยการละเมิดความเชื่ออย่างการดูแลเรื่องสุขภาพและการแก่ชรา การพึ่งพาแต่การแพทย์ตะวันตก จะทำให้เกิดจุดบอดที่จะทำให้เราไม่เห็นว่า นี่เป็นเรื่องที่เหมาะสมของช่วงอายุนี้ นักมานุษยศาสตร์ยังมองว่า การเลือกที่จะรับการรักษาทางคลินิกของผู้ชายมีแนวโน้มมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก "สังคม, เศรษฐกิจทางการเมือง, ประวัติศาสตร์, และ วัฒนธรรม" มากกว่าจะเป็นทางเลือกจากจิตใจของพวกเขาเอง การปฏิเสธไม่รักษาโรคหย่อนสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการท้าทายมุมมองที่ระบบสังคมทางการแพทย์ควบคุม ให้ผู้คนมองว่าการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นโรคอย่างหนึ่ง

อ่านตรวจทานโดย นพ. รุ่งโรจน์ ตรีมิติ

แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Erectile_dysfunction [2024, February 13] โดย กันตนพ สว่างวงษ์