ทีโอฟิลลีน (Theophylline)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 8 พฤษภาคม 2557
- Tweet
- บทนำ
- ยาทีโอฟิลลีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาทีโอฟิลลีนย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาทีโอฟิลลีนอย่างไร?
- ยาทีโอฟิลลีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคปอด (Lung disease)
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
- โรคหืด (Asthma)
- โรคภูมิแพ้ (Allergy)
- โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis)
บทนำ
ทีโอฟิลลีน เป็นสารที่สกัดได้จากใบชา ถูกค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี ค.ศ.1888 (พ.ศ. 2431) จากนั้นมีการนำมาพัฒนาโดยมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นภายใน ปีค.ศ.1900 (พ.ศ. 2443) ในครั้งแรกทีโอฟิลลีนถูกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ จากนั้นก็นำมาใช้รักษาโรคหืด ด้วยมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและปอดคลายตัว ส่งผลให้ภาวะหลอดลมเกร็งตัวทุ เลาเบาบางลง
หลังจากร่างกายได้รับยาทีโอฟิลลีน ยาจะถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างที่อวัยวะตับ และ50% ของระดับยาในร่างกายจะถูกกำจัดออกโดยทางปัสสาวะภายในเวลา 5-8 ชั่วโมง
ในต่างประเทศสามารถพบรูปแบบของการจัดจำหน่ายยานี้ ทั้งชนิดรับประทาน ชนิดฉีด และชนิดเหน็บทวาร
ทีโอฟิลลีน จัดอยู่ในหมวดยาอันตราย การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น ไม่สมควรซื้อยามาใช้เอง
ยาทีโอฟิลลีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาทีโอฟิลลีน มีคุณสมบัติดังนี้ คือ
- รักษาอาการหอบหืด
- รักษาโรคถุงลมโป่งพอง
ยาทีโอฟิลลีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาทีโอฟิลลีน คือ จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของสาร Phospho diesterase ส่งผลให้เกิดการเพิ่มของ cAMP (Cyclic adenosine monophosphate, สารใช้ในกระบวนการทำงานของกล้ามเนื้อ) ในระดับเซลล์ และส่งผลให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมในที่สุด นอกจากนี้ทีโอฟิลลีนยังกระตุ้นให้เกิดการขับปัสสาวะ กระตุ้นการทำงานของสมองและหัวใจ ทำให้กรดหลั่งในกระเพาะอาหารอีกด้วย
ยาทีโอฟิลลีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาทีโอฟิลลีนในประเทศไทย มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบของยาเดี่ยวและยาในรูปผสมกับตัวยาอื่น เช่น ผสมกับยาละลายเสมหะ
- รูปแบบยาเดี่ยว
- ชนิดเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัม
- ชนิดเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน ขนาด 200 และ 250 มิลลิกรัม
- ชนิดแค็ปซูลขนาด 125, 200 และ 400 มิลลิกรัม
- รูปแบบผสมกับยาอื่น
- ชนิดเม็ดขนาด 60 และ150 มิลลิกรัม
- ชนิดน้ำขนาด 150 มิลลิกรัม ต่อ 15 ซีซี
ยาทีโอฟิลลีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาทีโอฟิลลีน คือ
- ขนาดรับประทานเริ่มต้นผู้ใหญ่ รับประทาน 400 – 600 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นปรับขนาดรับ ประทานเป็น 600 – 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ขนาดเริ่มต้นในเด็กอายุ 12 – 16 ปี รับประทาน 400 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นปรับขนาดรับประ ทานเป็น 600 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน
- ขนาดเริ่มต้นในเด็กอายุ 6 – 12 ปี รับประทาน 200 – 400 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นปรับขนาดรับประทานเป็น 400 – 600 มิลลิกรัมต่อวัน (อายุ 9 – 12 ปี ) และปรับการรับประทานเป็น 400 มิลลิกรัมต่อวัน (อายุ 6 – 9 ปี )
- ขนาดเริ่มต้นในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป รับประทาน 200 – 400 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นปรับขนาดรับประทานเป็น 400 – 600 มิลลิกรัมต่อวัน
ทั้งนี้ สามารถรับประทานยาทีโอฟิลลีนได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร หากเป็นยาชนิดออกฤทธิ์นาน ให้กลืนยาและดื่มน้ำตามปกติ ห้ามเคี่ยวยาเป็นอันขาด ขนาดรับประทานและระยะเวลาในการใช้ยา ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ทำการรักษา ห้ามปรับเปลี่ยนการรับประทานด้วยตนเอง
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาทีโอฟิลลีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาทีโอฟิลลีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพรายาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาทีโอฟิลลีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า
ยาทีโอฟิลลีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
อาจพบผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ของยาทีโอฟิลลีนได้ดังนี้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ มือสั่น/ตัวสั่น และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
มีข้อควรระวังการใช้ยาทีโอฟิลลีนอย่างไร?
ข้อควรระวังของการใช้ยาทีโอฟิลลีน คือ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยแผลในกระเพาะอาหาร
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคตับขั้นรุนแรง โรคลมชัก อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้ทีโอฟิลลีน
- ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยด้วยโรคไต หญิงตั้งครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาทีโอฟิลลีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาทีโอฟิลลีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยาของยาทีโอฟิลลีนกับยาอื่นๆ ได้แก่
- การใช้ยาทีโอฟิลลีนร่วมกับยาแก้ปวดบางประเภท อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอา การชัก โดยเฉพาะการนำมาใช้กับผู้ที่เคยมีประวัติด้วยโรคลมชัก ผู้ที่ติดเหล้า ผู้สูงอายุ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่สมอง หรือผู้ที่ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง ยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น Tramadol
- การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม สามารถลดประสิทธิภาพในการควบคุมความดันโลหิตของยาลดความดันโลหิตให้ด้อยประสิทธิภาพลงไป พร้อมกับมีอาการต่างๆเหล่านี้ตามมาเช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มือ/ตัวสั่น หายใจติดขัด/หายใจลำบาก เป็นต้น ยาลดความดันโลหิตที่กล่าวถึง เช่น Acebutolol, Atenolol, Esmolol, Metoprolol และ Nadolol เป็นต้น
- การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) บางประเภทสามารถทำให้ปริ มาณยาทีโอฟิลลีนในกระแสเลือดมีระดับสูงขึ้น จนอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง)ของทีโอฟิลลีนตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ชัก ใจสั่น ยาต้านแบคทีเรียดังกล่าว เช่น Cyprofloxacin, Enoxacin
- การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน สามารถกระตุ้นให้เกิดผลข้างเคียงของทีโอฟิลลีนติดตามมาเช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มีอาการมือ/ตัวสั่น เป็นต้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทีโอฟิลลีนร่วมกับการดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม
ควรเก็บรักษายาทีโอฟิลลีนอย่างไร?
สามารถเก็บยาทีโอฟิลลีนในอุณหภูมิห้อง บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาทีโอฟิลลีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ในประเทศไทย ชื่อการค้าของยาทีโอฟิลลีนและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อทางการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
Almarion (อัลมาเรียน) | Chew Brothers |
Almasal (อัลมาซอล) | Chew Brothers (Theo+salbutamal sulfate) |
Asiabron (เอเซียบรอน) | Asian Pharm (Theo+glyceryl) |
Asma-Dec (แอสมา-เดค) | Medicine Products (Theo+glyceryl) |
Asmasolon (แอสมาโซลอน) | Great Eastern |
Bronchil (บรอนชิล) | Siam Bheasach (Theo+Guaifenesin) |
Brondry (บรอนดราย) | Suphong Bhaesaj (Theo+glyceryl) |
Chintasma (จินทัสมา) | Chinta (Theophylline+glyceryl guaiacolate) |
Duralyn-CR (ดูรารีน-ซีอาร์) | Raptakos |
Forasma (ฟอราสมา) | The Forty-Two (Theo+glyceryl) |
Franol (ฟรานอล) | sanofi-aventis |
Mila-Asma (มิรา-แอสมา) | Milano (Theo+glyceryl) |
Nuelin SR (นิวลิน เอสอาร์) | iNova |
Polyasma (โพลีแอสมา) | Pharmasant Lab |
Polyphed (โพลีเฟด) | Pharmasant Lab (Theo+glyceryl) |
Qualiton (ควอลิตัน) | T.O. Chemicals (Theo+glyceryl guaiacolate) |
Sinmaline (ซินมาไลน์) | SSP Laboratories |
Sinoline (ไซโนไลน์) | SSP Laboratories |
S-Phylline (เอส-ฟิลลีน) | Umeda |
Temaco (เทมาโก) | Nakornpatana |
Theocap (ทีโอแคพ) | A N H Products |
Theolin (ทีโอลิน) | T. Man Pharma |
Theophylline Medicine Products (ทีโอฟิลลีน เมดิซีน โพรดักซ์) | Medicine Products |
Theori-200 (ทีโอรี-200) | Meditab |
Theotrim (ทีโอทริม) | Trima |
Xanthium (แซนเทียม) | SMB |
บรรณานุกรม
1. https://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=theophylline [2014,April20]
2. https://www.mims.com/THAILAND/drug/info/Franol/ [2014,April20].
3. https://www.mims.com/THAILAND/drug/info/Xanthium/[2014,April20].
4. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=theophylline [2014,April20].
5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a681006.html#storage-conditions [2014,April20].