ทองแดง (Copper)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 1 สิงหาคม 2558
- Tweet
- อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ (Healthy diet)
- โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
- โลหิตจาง เลือดจาง ซีด (Anemia)
- โรคกระดูก (Bone disease)
- โรคเลือด (Blood Diseases)
ทองแดง (Copper หรือภาษาลาตินคือ Cuprum ซึ่งย่อเป็นสัญลักษณ์ว่า Cu) เป็นแร่ธาตุ อาหาร/เกลือแร่จำเป็นของเนื้อเยื่อทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ในปริมาณน้อยมากต่อวัน โดยมีหน้าที่หลายอย่างเช่น ช่วยธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง, ช่วยการทำงานของเส้นประ สาทและของหลอดเลือด, ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และช่วยการสร้างกระดูก
ทองแดงมีในอาหารหลากหลายชนิด แต่ที่มีมากเช่น ในธัญพืช ถั่ว มันฝรั่ง หอย เนื้อแดง ไต ตับ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อรับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ได้ครบถ้วนในแต่ละวัน ร่างกายจะได้รับธาตุอาหารทองแดงอย่างพอเพียง
องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) ได้แนะนำปริมาณทองแดงที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันดังนี้
- เด็กแรกเกิด - 6 เดือน: 200 Micrograms (ไมโครกรัม/mcg)
- อายุ 7 - 12 เดือน: 220 mcg
- อายุ 1 - 3 ปี: 340 mcg
- อายุ 4 - 8 ปี: 440 mcg
- อายุ 9 - 13 ปี: 700 mcg
- อายุ 14 – 18 ปี: 890 mcg
- อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 900 mcg
ทั้งนี้ ค่าปกติของทองแดงในร่างกายจะแตกต่างกันได้ในแต่ละห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไป จะอยู่ในเกณฑ์ดังนี้
- ค่าปกติของทองแดงในเลือด: 1.6 - 2.4 μmol/L (Micromole/litre) หรือ 10 - 15 μg/ dL (Microgram/decilitre)
- ค่าปกติจากการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง: 0.3 - 0.8 μmol หรือ 20 - 50 μg
อนึ่ง:
- เมื่อร่างกายขาดธาตุทองแดงจะส่งผลให้มีอาการโลหิตจาง เส้นประสาทอักเสบ หลอดเลือดผิดปกติ ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และ/หรือโรคกระดูกพรุน
- เมื่อบริโภคทองแดงจากการเสริมอาหารด้วยวิตามิน/เกลือแร่มากเกินไป อาจพบผลข้าง เคียงได้เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดท้อง ท้องเสีย รสชาติอาหารผิดเพี้ยน
บรรณานุกรม
1. http://emedicine.medscape.com/article/2087780-overview [2015,July4]
2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002419.htm [2015,July4]
3. http://www.livestrong.com/article/464532-the-effects-of-too-much-copper-to-humans/ [2015,July4]