ต้อลำไย ตาถั่ว แผลเป็นกระจกตา (Corneal opacity)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 7 เมษายน 2560
- Tweet
- กระจกตาอักเสบ (Keratitis) กระจกตาเป็นแผล (Corneal ulcer)
- กายวิภาคและสรีรวิทยาของตา (Anatomy and physiology of the eye)
- การตรวจตา การตรวจสุขภาพตา (Eye examination)
- ต้อกระจก (Cataract)
- ต้อหิน (Glaucoma)
- ต้อเนื้อ (Pterygium) ต้อลม (Pinguecula)
- คอนแทคเลนส์ (Contact lens)
ต้อลำไย จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง โรคตาที่เกิดจากกระจกตาขุ่น ส่วนตาถั่ว คือ ตาที่มีจุดขาวมัวๆอยู่กลางตาดำ ทำให้มองไม่ค่อยเห็น และ ศัพท์แพทย์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2547 ให้ความหมายว่า ต้อลำไย ตาถั่ว และแผลเป็นที่กระจกตา เป็นโรคเดียวกัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Leucoma of the cornea”
ต้อลำไย ทางการแพทย์ คือ โรคของกระจกตาที่ปกติมีลักษณะใส กลับมี ลักษณะขุ่นขาวคล้ายกับลำไย ทำให้แสงสว่างไม่สามารถผ่านไปสู่จอตาได้ จึงส่งผลให้เกิดการมองเห็นภาพไม่ชัด มัว หรืออาจถึงมองไม่เห็นถ้าจอตาขุ่นขาวมาก
สาเหตุของต้อลำไย มักเกิดจากกระจกตาติดเชื้อรุนแรง (เช่น จากโรคหัด),ลูกตาโดนกรดหรือด่าง, ลูกตาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, การติดเชื้อจากใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ, และภาวะขาดวิตามิน เอ รุนแรง จึงส่งผลให้เกิดเป็นแผลเป็นที่มีลักษณะขุ่นขาวขึ้นกับกระจกตา
การรักษา คือ การรักษาตามสาเหตุ แต่ถ้ากระจกตาเสียหายมาก การรักษา คือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา แต่การรรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การป้องกันการเกิดโรค
การป้องกันโรคนี้ คือ การหลีกเลี่ยงสาเหตุ ซึ่งที่สำคัญ คือ
- รู้จักรักษาความสะอาดตา
- ไม่ขยี้ตา ไม่ใช้มือสกปรกเช็ดตา ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
- รู้จักการใช้คอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธี
- รู้จักหลีกเลี่ยง และป้องกันอุบัติเหตุต่อลูกตา โดยเฉพาะในการเล่น หรือในการทำงาน
- กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ให้ครบถ้วนในทุกวันเพื่อป้องกันการขาดวิตามินต่างๆ
- เมื่อมีปัญหาทางตา ต้องรีบพบแพทย์/จักษุแพทย์เสมอ อย่างน้อยภายใน 2-3 วันหลังจากดูแลตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น แต่รีบพบแพทย์ทันทีที่อาการเลวลง และ/หรือเมื่อมีอุบัติเหตุที่ตา
บรรณานุกรม