ตึกเป็นพิษ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 29 เมษายน 2563
- Tweet
สำหรับสาเหตุของโรคตึกเป็นพิษอาจได้แก่
- อาคารที่มีระบบถ่ายเทอากาศไม่ดี
- ระดับฝุ่นสูง
- ควันบุหรี่
- แสงไม่เพียงพอ
- เชื้อรา
- ฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่มักพบในเฟอร์นิเจอร์และพื้น
- แอสเบสทอส (Asbestos)
- สารเคมีในอากาศที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- ยาฆ่าแมลง
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
- โอโซนที่เกิดจากการใช้เครื่องพรินเตอร์และเครื่องแฟกซ์
- ความเครียดในที่ทำงานหรือโรงเรียน
- ความร้อนหรือความชื้นต่ำ
- เสียงดังรบกวน
- ขี้แมลงหรือสัตว์อื่น ๆ
เนื่องจากมีหลากหลายสาเหตุและสภาพอาการที่คล้ายกับโรคอื่น ดังนั้นในส่วนของการวินิจฉัยโรคจึงมักเป็นกระบวนการของการกำจัดตัวเลือกที่ไม่น่าจะใช่ออกไปก่อน เช่น โรคหอบหืด เป็นต้น
สำหรับการรักษาโรคตึกเป็นพิษเป็นไปเพื่อการบรรเทาและลดสาเหตุของการเกิดอาการ โดยยาที่ใช้ได้แก่ ยาแก้แพ้ที่บรรเทาอาการเคืองตา จมูก และผิวหนัง หรือยาแก้หอบหืดที่ใช้ช่วยบรรเทาอาการหายใจลำบาก นอกจากนี้ พนักงานและบริษัทอาจต้องร่วมกันพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ด้วย เช่น
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีน้ำหอมน้อยหรือไม่มีเลย
- ทำการดูดฝุ่นเป็นประจำ
- เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
- ตรวจสอบหาเชื้อรา
- เปลี่ยนหลอดไฟให้มีแสงที่เหมาะสม
และเนื่องจากว่า เราอาจไม่สามารถหาสาเหตุของสภาวะที่ทำให้ป่วยได้ ดังนั้นเราจึงอาจลดความเสี่ยงในการเป็นโรคตึกเป็นพิษได้ด้วยการ
- หยุดพักด้วยการออกไปนอกตัวอาคาร เช่น การไปกินข้าวนอกตึกที่ทำงานอยู่
- เปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศ
- พักผ่อนสายตาด้วยการมองไปนอกจอคอมพิวเตอร์
- ยืนขึ้นหรือลุกเดินไปรอบๆ สำนักงาน
- ระวังเรื่องการใช้สารเคมีภายในอาคาร เช่น น้ำยาฟอกผ้าขาว ยาฆ่าแมลง
แหล่งข้อมูล:
- Sick Building Syndrome. https://www.healthline.com/health/sick-building-syndrome [2020, April 26].
- Sick building syndrome. https://www.nhs.uk/conditions/sick-building-syndrome/ [2020, April 26].