ติดยา (Drug addiction)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 10 ธันวาคม 2558
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาเสพติด (Narcotic drug)
- ยานอนหลับ (Sleeping pill)
- ยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท (Transquilizer Drugs)
- กลุ่มยาแก้ปวดและยาพาราเซตามอล (Analgesics and Paracetamol)
- โอปิออยด์ (Opioid)
ติดยา (Drug addiction หรือ Substance use disorder หรือ Drug abuse) จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑืตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำว่า “ติดยาเสพติดให้โทษ” ว่า หมาย ถึง “การเสพเป็นประจำติดต่อกันและตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษนั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ”
ทางการแพทย์ “ติดยา” เป็นอาการผิดปกติทางสมองที่เกิดจากการบริโภคสิ่ง/สารเสพติด
- ที่ผิดกฎหมายเช่น เฮโรอีน
- ไม่ผิดกฎหมายเช่น สุรา บุหรี่ และ/หรือรวมไปถึงยาบางชนิดเช่น ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน ยานอนหลับบางชนิด ยาคลายเครียดบางชนิด โดยจะก่อให้เกิดอาการอยากและต้องพึ่งพาสิ่งนั้นๆอย่างต่อเนื่อง ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดผลข้างเคียง/ผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อ
- ด้านร่างกายเช่น อ่อนเพลีย ขาดอาหาร เบื่ออาหารรุนแรง ไม่มีแรง
- ไปจนถึงปัญหาทางอารมณ์/จิตใจเช่น ขาดสมาธิ ขาดสติ ประสาทหลอน หวาดระแวง ก้าวร้าว ความจำเสื่อม
ซึ่งอาการผิดปกติต่างๆเหล่านี้จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การงาน สังคม จนเป็นเหตุให้เสื่อมสมรรถภาพ เป็นภัยทั้งกับตนเอง ครอบครัวและสังคม และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต(ตาย) ได้จากภาวะหัวใจหยุดเต้น/หัวใจล้ม (Heart attack)
ทั้งนี้เมื่อเริ่มมีอาการติดยากล่าวคือ ขาดยาไม่ได้เช่น นอนไม่หลับถ้าไม่ได้กินยานอนหลับ และต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อการบำบัดรักษาแต่เนิ่นๆที่จะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีและด้วยวิธีรักษาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
บรรณานุกรม