ตาพร่ามัว (Blurred Vision) – Update
- โดย อาภาภรณ์ โชติกเสถียร
- 19 ตุลาคม 2567
- Tweet
สารบัญ
เกริ่นนำ
ที่มาของโรค
-
- สายตาผิดปกติ
- โรคสายตายาวตามวัย
- สายตาสั้นเทียม
- ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ
- การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อตา
- ต้อกระจก
- โรคต้อหิน
- โรคเบาหวาน
- โรคจอประสาทตา
- ภาวะวิตามินเอมากเกิน
- โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม
- การติดเชื้อที่ตา
- โรคภูมิต้านทานผิดปกติชนิดโจเกรน
- วุ้นตาเสื่อม
- จอตาลอก
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
- โรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะขาดเลือดชั่วคราว
- เนื้องอกในสมอง
- พยาธิท็อกโซคาร่า (Toxocara)
- เลือดออกภายในดวงตา
- หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ
- ปวดหัวไมเกรน
- กระพริบ
- พิษคาร์บอนมอนอกไซด์
- ตาน้อยเกิน
การรักษา
เกริ่นนำ
ตาพร่ามัว เป็นอาการทางสายตาที่ทำให้การมองเห็นลดความชัดเจนลง ส่งผลให้ความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ของสายตาลดลง
ตาพร่ามัวชั่วคราว อาจเกิดจากอาการตาแห้ง การติดเชื้อที่ตา แอลกอฮอล์เป็นพิษ น้ำตาลในเลือดต่ำ และความดันเลือดต่ำ อาการป่วยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวได้ประกอบด้วย สายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาวมาก หรือสายตาเอียง นอกจากนั้นอาการตาพร่ามัวยังพบได้ในผู้ป่วยโรคตาขี้เกียจ โรคสายตายาวตามวัย โรคสายตาสั้นเทียม โรคเบาหวาน ต้อกระจก โลหิตจางเพอร์นิเชียส (โรคโลหิตจางชนิดนี้ เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 และสามารถเกิดร่วมกับการขาดธาตุเหล็กด้วย) การขาดวิตามินบี12 การขาดวิตามินบี1 ต้อหิน โรคจอประสาทตา การบริโภควิตามินเอมากเกิน ไมเกรน โรคภูมิต้านทานผิดปกติชนิดโจเกรน ภาวะวุ้นในตาเสื่อม และยังอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองหรือเนื้องอกในสมองได้ด้วย
ที่มาของโรค
สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวมีได้หลากหลาย ดังนี้
- สายตาผิดปกติ สายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการปรับแก้ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง ทำให้เกิดตาพร่ามัวได้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุแรก ๆ ของความบกพร่องทางสายตาทั่วโลก หากผู้ป่วยไม่มีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ตาพร่ามัวเนื่องจากสายตาผิดปกติสามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้โดยการใช้แว่น หรือผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา
- โรคสายตายาวตามวัย จากความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตาที่ลดลง (กำลังเพ่งของเลนส์ตาจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การมองเห็นระยะใกล้ไม่ชัดเจนในผู้สูงวัย สาเหตุอื่นของการมองเห็นระยะใกล้ไม่ชัดเจนยังอาจเกิดจาก ความสามารถในการเพ่งน้อยกว่าปกติ หรือระบบการเพ่งไม่ทำงาน เป็นต้น
- สายตาสั้นเทียมที่เกิดจากความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตาผิดปกติ เลนส์ตาทำงานหนักเกิน และจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเพ่งของเลนส์ตา อาการเหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดตาพร่ามัวได้
- ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ สามารถก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวได้เช่นกัน
- การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อตา เช่น แอโทรพีน (atropine) หรือ ยาขยายหลอดลม (anticholinergics) อื่น ๆ สามารถก่อให้เกิดอาการสายตาพร่ามัวจากระบบการเพ่งไม่ทำงาน
- ต้อกระจก ฝ้าที่ปกคลุมทั่วเลนส์ตาทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว มองเห็นแสงรัศมีรอบดวงไฟ และเห็นแสงกระจายได้ ต้อกระจกจัดเป็นสาเหตุหลักของโรคตาบอดทั่วโลกด้วย
- โรคต้อหิน ความดันลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถทำให้ภาวะประสาทตาเสื่อม รุนแรงต่อเนื่อง จนนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาทตา การสูญเสียลานสายตา และตาบอดได้ ทั้งนี้ โรคต้อหินอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ความดันลูกตาไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน ในโรคต้อหินบางประเภทเช่น โรคต้อหินมุมเปิด ผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในมองเห็นทีละน้อย ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคต้อหินมุมปิด จะสูญเสียการมองเห็นแบบฉับพลัน และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการตาบอดในผู้พิการทางตาส่วนใหญ่
- โรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีพอ สามารถทำให้เลนส์ตาเกิดการบวมชั่วคราว จนเป็นสาเหตุของตาพร่ามัวได้ อาการจะกลับมาดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ กระนั้นการบ่อยให้เลนส์ตาบวมซ้ำบ่อย ๆ เชื่อว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดต้อกระจกได้
- โรคจอประสาทตา หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคเกี่ยวกับจอประสาทตาต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา ความดันโลหิตสูงขึ้นจอประสาทตา โรคจอประสาทตาจากภาวะเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell retinopathy) และโรคจอประสาทตาจากภาวะโลหิตจาง สามารถทำลายจอประสาทตา และนำไปสู่ความบกพร่องของลานการเห็น จนถึงขั้นตาบอดได้
- ภาวะวิตามินเอมากเกิน การบริโภควิตามินเอมากเกินไป สามารถก่อให้เกิดสายตาพร่ามัวได้
- โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เป็นสาเหตุของการสูญเสียความสามารถในมองเห็นความคมชัดของภาพ สายตาพร่ามัว (โดยเฉพาะขณะอ่านหนังสือ) การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว (เห็นเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง) และสีที่ซีดจาง โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมเป็นสาเหตุอันดับที่สามของโรคตาบอดทั่วโลก และเป็นสาเหตุหลักของโรคตาบอดในประเทศอุตสาหกรรมอีกด้วย
- การติดเชื้อที่ตา ตาอักเสบ หรือบาดเจ็บที่ตา
- โรคภูมิต้านทานผิดปกติชนิดโจเกรน การอักเสบจากระบบภูมิคุ้มกันตนเองเรื้อรัง สามารถทำให้ต่อมผลิตความชื้นอย่างต่อมน้ำตาเกิดความเสียหาย เป็นผลให้เกิดอาการตาแห้ง และพร่ามัวได้
- วุ้นตาเสื่อม อนุภาคเล็ก ๆ ที่ลอยตัดผ่านในดวงตา แม้ว่ามักเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ และไม่อันตราย แต่อาจเป็นสัญญาณของจอตาลอกได้
- จอตาลอก สัญญาณของจอตาลอกได้แก่ วุ้นตาเสื่อม การมองเห็นแสงไฟตัดผ่านลานสายตา หรือความรู้สึกเหมือนมีเงาหรือม่านบังอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่งของลานสายตา
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบ การอักเสบของเส้นประสาทตาที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือโรคเอ็มเอส (Multiple Sclerosis) สามารถทำให้ปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลางอักเสบได้ เช่น สมอง ไขสันหลัง และประสาทตา ส่งผลให้เกิดตราพร่ามัว หรืออาจมีอาการปวดขณะขยับหรือแตะที่เปลือกตา
- โรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะขาดเลือดชั่วคราว
- เนื้องอกในสมอง
- พยาธิท็อกโซคาร่า (Toxocara) พยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวได้
- เลือดออกภายในดวงตา
- หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดงในสมอง ซึ่งส่งเลือดไปยังเส้นประสาทตา
- ปวดหัวไมเกรน การเห็นแสง ประกายแสง แสงซิกแซกหรือฟันเลื่อย เป็นอาการนำทั่วไปก่อนเริ่มปวดศีรษะ อาการไมเกรนที่จอประสาทตา คืออาการที่เกิดขึ้นโดยเรามีอาการทางสายตาเท่านั้นแต่ไม่มีอาการปวดหัวร่วมด้วย
- กระพริบตาน้อยลง เป็นการปิดเปลือกตาที่เกิดขึ้นไม่บ่อย มักนำไปสู่ความผิดปกติของฟิล์มน้ำตา เนื่องจาการระเหยที่ยาวนานเกินไป ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการรับรู้ภาพ
- พิษคาร์บอนมอนอกไซด์ การได้รับออกซิเจนน้อยกว่าระดับปกติ สามารถส่งผลต่อหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย รวมทั้งการมองเห็น อาการอื่น ๆ ที่เกิดจากพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ได้แก่ เวียนศีรษะ เห็นภาพหลอน และไวต่อแสง
การรักษา
การรักษาจะเป็นการรักษาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาพร่ามัว หรือรักษาตามอาการ
อ่านตรวจทานโดย รศ. ดร. พญ. วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์
แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Blurred_vision [2024, October 19] โดย อาภากรณ์ โชติกเสถียร