ตาขี้เกียจ (Amblyopia) - Update
- โดย สมพิศ สุวรรณภารต
- 10 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
สารบัญ
- เกริ่นนำ (Introduction)
- อาการ (Symptoms)
- สาเหตุ (Causes)
- ตาเข (Strabismus)
- ค่าสายตาที่แตกต่างกันของตาสองข้าง (Refractive)
- สิ่งกีดกันหรือปิดกั้นการมองเห็น (Deprivation or occlusion)
- พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology)
- การวินิจฉัย (Diagnosis)
- การรักษา (Treatment)
- อายุที่มากขึ้น
- ระบาดวิทยา (Epidemiology)
- การวิจัย (Research)
เกริ่นนำ
Amblyopia หรือที่เรียกกันว่า “ตาขี้เกียจ” นั้น คือการมองเห็นที่ผิดปกติโดยที่สมองล้มเหลวในการประมวลผลภาพที่รับจากตาข้างหนึ่งและเลือกที่จะรับภาพจากตาอีกข้างหนึ่ง ซึ่งทำให้ความสามารถในการมองเห็นของตาข้างหนึ่งลดลง อาการตาขี้เกียจนี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ความสามารถในการมองเห็นของตาหนึ่งข้างของเด็กและผู้ใหญ่ลดลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาขี้เกียจนี้สามารถเป็นสภาวะใดก็ได้ที่รบกวนจุดโฟกัสของตาในวัยเด็กตอนต้น ซึ่งสภาวะนี้สามารถเกิดจากศูนย์ถ่วง,ตำแหน่งของตาที่บกพร่อง (ตาเหล่, ตาเข) หรือ รูปทรงของตาที่ผิดปกติ ซึ่งตัวอย่างที่ยกมานี้ทำให้ตายากที่จะโฟกัส, ตาข้างนึงมีสายตาที่สั้นหรือยาวกว่าตาอีกข้าง (มุมหักเหของแสงผิดปกติ) หรือ เลนส์ของตาหนึ่งข้างที่พร่ามัว (สิ่งกีดขวางการมองเห็น) ถึงแม้ภายหลังจะมีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของอาการตาขี้เกียจ แต่ความสามารถในการมองเห็นก็ไม่ถูกทำให้กลับคืนมาในทันทีเนื่องจากการทำงานของตานั้นเกี่ยวข้องกับสมอง อาการตาขี้เกียจนี้สามารถตรวจเจอได้ยาก ดังนั้นการทดสอบความสามารถในการมองเห็นจึงถูกแนะนำให้กับเด็กทุกคนที่มีอายุราว 4 - 5 ปี
การตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้มีการรักษาจนหายขาดได้ แว่นตาอาจเป็นการรักษาที่จำเป็นสำหรับเด็กบางกลุ่ม ถ้าการใช้แว่นตาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเยียวยารักษา แพทย์จะใช้การรักษาโดยการกระตุ้นหรือบังคับให้เด็กใช้ตาข้างที่อ่อนแอ โดยการใช้แผ่นแปะตาข้างที่แข็งแรงและ/หรือหยอดยาขยายรูม่านตาลงในตาข้างที่แข็งแรง หากไม่ทำการเยียวยารักษาใดๆเลยอาการตาขี้เกียจนี้ก็จะยังคงอยู่. แต่ถ้าหากรอเวลาจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงทำการรักษา โดยทั่วไปแล้วการรักษาจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า
อาการตาขี้เกียจนี้จะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 5 ปี ประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอาการผิดปกตินี้มีประมาณ ร้อยละ 1 - 5 ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด ในขณะที่การเยียวยารักษาช่วยปรับปรุงความสามารถในการเห็นให้ดีขึ้นแต่โดยทั่วไปแล้วการเยียวยารักษาไม่ได้ทำให้ตาข้างที่อ่อนแอกลับมาเป็นปกติได้ อาการตาขี้เกียจนี้ได้ถูกอธิบายครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 ผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจนี้จะขาดคุณสมบัติในการเป็นนักบินหรือตำรวจ คำว่า Amblyopia ในภาษากรีกแปลว่า การเห็นที่พร่ามัว
อาการ
หลายคนที่มีอาการตาขี้เกียจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการไม่มากมักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นตาขี้เกียจจนกว่าจะตรวจพบเมื่อมีอายุมากขึ้นเพราะตาข้างที่แข็งแรงของพวกเขาสามารถมองเห็นได้ปกติ โดยทั่วไปคนที่มีอาการตาขี้เกียจจะมีความสามารถในการมองภาพสามมิติที่ค่อนข้างแย่ เพราะการมองภาพดังกล่าวต้องใช้ความสามารถของตาทั้งสองข้าง ยิ่งไปกว่านั้นตาข้างที่อ่อนแอของพวกเขาอาจจะมีความสามารถในการรับรู้ความแตกต่างของรูปแบบต่างๆได้ในระดับแย่, มีความสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆทั้งในระยะไกล้และไกลในระดับแย่, มีความสามารถในการตอบสนองต่อความแตกต่างและการเคลื่อนไหวในระดับต่ำ
อาการตาขี้เกียจถูกกำหนดลักษณะจากการทำงานที่ผิดปกติสองสามอย่างในกระบวนการตรวจจับของดวงตารวมถึง การลดลงของความคมชัดในการมองเห็น, การตอบสนองต่อความแตกต่าง, การตรวจจับตำแหน่งที่ผิดปกติ เช่นเดียวกันกับการเกิดภาพซ้อน ภาพลวงตา, การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, และความบกพร่องในการตรวจจับรูปร่าง นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจจะมีภาพที่เห็นจากการมองของทั้งสองตาที่ผิดปกติ เช่น ความบกพร่องในการมองภาพสามมิติ และการรวมข้อมูลภาพที่เห็นจากสองตาที่ผิดปกติ อีกทั้งผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจจะมีบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตาหนาแน่นกว่าศูนย์กลางของจอประสาทตาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนปกติ
ความบกพร่องที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้เป็นของตาข้างที่ขี้เกียจโดยเฉพาะส่วนความบกพร่องที่ไม่แสดงอาการของตาข้างที่ดีกว่านั้นได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้าแล้ว
ผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจมีปัญหาของความสามารถในการมองเห็นโดยใช้สองตา เช่น มีการรับรู้ความลึกของภาพสามมิติที่จำกัดและมักมีความลำบากในการมองภาพสามมิติที่ซ่อนอยู่ในจอแสดงผลที่เรียกว่าออโตสเตอริโอแกรม อย่างไรก็ดีการรับรู้ความลึกจากการเห็นของตาข้างเดียวในเรื่องที่เกี่ยวกับ ขนาด สิ่งแวดล้อม (ฉากหลัง) และ ตำแหน่งของวัตถุที่เคลื่อนที่ในระยะไกล้ไกล นั้นยังคงปกติ
สาเหตุ
อาการตาขี้เกียจเกิดจาก 3 สาเหตุหลักดังนี้
- ตาเขหรือตาเหล่
- ค่าสายตาของตาสองข้างที่ต่างกัน เช่น สายตาสั้น,สายตายาว และสายตาเอียง
- สิ่งที่กีดกันความสามารถในการมอง ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมีมาในช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงวัยรุ่น เช่น เลนส์ตาที่ขุ่นมัวจากต้อกระจก
-
- ตาเขหรือตาเหล่
บางครั้งก็ถูกเรียกอย่างไม่ถูกต้องว่าตาขี้เกียจ คือภาวะที่ตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยปกติแล้วอาการตาเขจะทำให้ตาข้างที่ใช้บ่อยมีความสามารถในการเห็นเป็นปกติแต่ตาข้างที่เขหรือเหล่จะมีความสามารถในการเห็นที่ผิดปกติ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของภาพที่ส่งขึ้นตรงไปยังสมองจากสองตา อาการตาเขเป็นอาการที่ไม่ปรากฏเด่นชัดจนกว่าผู้ป่วยจะโตเป็นผู้ใหญ่มักเป็นสาเหตุให้เกิดการเห็นภาพซ้อนเพราะตาทั้งสองข้างไม่ได้จดจ้องไปที่วัตถุเดียวกัน สมองของคนที่เป็นเด็กนั้นยืดยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่าสมองของผู้ใหญ่จึงสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อกำจัดภาพซ้อนโดยการทิ้งภาพที่ได้รับจากตาข้างที่อ่อนแอ (ตาที่เข) การตอบสนองที่ยืดยุ่นและรวดเร็วเช่นนี้ของสมองไปขัดจังหวะพัฒนาการปกติของสมองทำให้เกิดเป็นตาขี้เกียจ หลักฐานล่าสุดบ่งชี้ถึงสาเหตุหนึ่งของอาการตาขี้เกียจในเด็กทารกว่าขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ถูกป้อนให้เปลือกสมองส่วนการมองเห็น
ผู้ที่เป็นตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเขมีแนวโน้มที่จะมีการเคลื่อนไหวของตาที่บกพร่องเมื่ออ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งเมื่อพวกเขาใช้ตาข้างที่ปกติ พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่ของตามากกว่าคนปกติ และมีความเร็วในการอ่านที่ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออ่านข้อความที่เขียนด้วยตัวอักษรขนาดเล็ก
แพทย์จะรักษาอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเขโดยการใช้แว่นสายตาเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น หรือ กระตุ้นผู้ป่วยให้มีการใช้งานตาที่เขโดยใช้แผ่นปิดตาปิดตาข้างที่แข็งแรง หรือ หยอดยาขยายรูม่านตาให้ตาข้างที่แข็งแรง การรักษาโดยการหยอดยาขยายรูม่านตาคือการใช้ยาหยอดตาอะโทรปิน (Atropine) หยอดตาเพื่อให้ตาข้างที่แข็งแรงขยับเขยื้อนไม่ได้ชั่วคราว, ขยายม่านตาและทำให้ตาข้างที่ดีดังกล่าวเห็นภาพมัวไม่ชัด ถึงแม้ว่าการรักษาแบบนี้เป็นสิ่งที่เสี่ยงแต่มันก็ช่วยป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ถูกกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนเพราะใส่แผ่นปิดตา การที่จะรักษาเพื่อทำให้ตาทั้งสองข้างมองไปในทิศทางเดียวกัน (ไม่เข, ไม่เหล่) นั้นจะใช้วิธีการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการตาเขที่ผู้ป่วยเป็น
-
- ค่าสายตาของตาสองข้างที่แตกต่างกัน
อาการตาขี้เกียจที่เกิดจากค่าสายตาที่ผิดปกตินี้เป็นผลมาจากค่าสายตาของตาทั้งสองข้างที่แตกต่างกัน (ภาวะหักเหแสงที่ผิดปกติระหว่างตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างในประสิทธิภาพระหว่างตาทั้งสองข้าง ตาข้างที่ให้ภาพชัดกว่าแก่สมองจะกลายเป็นตาหลักที่ถูกใช้งานประจำ ส่วนภาพที่ได้จากตาอีกข้างจะเป็นภาพมัวไม่ชัด (สมองจึงปฏิเสธภาพดังกล่าวโดยอัตโนมัติ) ซึ่งเป็นผลให้ระบบการมองเห็นครึ่งนึงมีพัฒนาการที่ผิดปกติ โดยปกติแล้วอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากค่าสายตาที่ต่างกันนี้จะมีความรุนแรงที่น้อยกว่าอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเข อาการตาขี้เกียจประเภทนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยแพทย์ปฐมภูมิเพราะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าและไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการตาเข ในการรักษาค่าสายตาของตาสองข้างที่แตกต่างกันนั้นจะใช้เลนส์/จอแสดงภาพนำภาพที่ต่างกันสำแดงต่อตาทั้งสองข้างซึ่งจะปรับทำให้การเห็นของตาทั้งสองข้างเป็นปกติ เช่น การรักษาโดยใช้คอนแท็คเลนส์ สำหรับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติในเด็กก็เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาในกรณีที่การรักษาแบบปกติล้มเหลวเนื่องจากภาวะที่ตาสองข้างมองวัตถุเดียวกันแต่เห็นภาพต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หรือ เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรักษา หรือ เนื่องจากทั้งสองอย่าง
โดยส่วนมากแล้วอาการตาขี้เกียจจะเป็นส่วนผสมของค่าสายตาที่ต่างกันของตาสองข้างและอาการตาเข ในบางกรณีความสามารถในมองเห็นระหว่างตาทั้งสองข้างสามารถแตกต่างกันได้ ในจุดที่ตาข้างหนึ่งมีความสามารถในการมองเห็นเป็นสองเท่าโดยเฉลี่ย ในขณะที่ตาอีกข้างกลับบอดสนิท
-
- สิ่งที่กีดกันหรือปิดกั้นการมองเห็น
อาการตาขี้เกียจที่เกิดจากการถูกกีดกันการมองเห็นมีสาเหตุมาจากตัวกลางที่แสงผ่านภายในลูกตากลับทึบแสง เช่น กรณีของต้อกระจกหรือกรณีที่กระจกตาได้รับความเสียหายหรือเป็นรอย ซึ่งความทึบแสงดังกล่าวนี้ไปขัดขวางการมองเห็นของดวงตาและขัดขวางพัฒนาการของดวงตา ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการตาขี้เกียจจะยังคงมีอยู่ถึงแม้ว่าตัวการที่ทำให้ทึบแสงจะถูกกำจัดไปแล้วก็ตาม บางครั้งการที่เปลือกตาตกมาบังรูม่านตาหรือปัญหาอื่นที่เป็นสาเหตุให้เปลือกตาด้านบนปิดกั้นความสามารถในการมองเห็นของเด็กซึ่งทำให้เกิดอาการตาขี้เกียจเร็วขึ้น อาการตาขี้เกียจจากการถูกปิดกั้นการมองเห็นนี้อาจเป็นเนื้องอกหลอดเลือด (ปานแดง) ที่ปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดของดวงตา สาเหตุที่เป็นไปได้อื่นที่ทำให้เกิดอาการตาขี้เกียจเนื่องจากการถูกกีดกันหรือปิดกั้นการมองเห็นนั้นรวมถึงภาวะวุ้นในตาเสื่อมและภาวะไม่มีเลนส์ตา อนึ่งอาการตาขี้เกียจเนื่องจากถูกกีดกันการมองเห็นนั้นมีน้อยกว่าร้อยละสามของผู้ป่วยที่มีอาการตาขี้เกียจทั้งหมด
พยาธิสรีรวิทยา
อาการตาขี้เกียจเป็นปัญหาพัฒนาการในสมองซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาระบบประสาทในลูกตา (ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะทำให้เกิดอาการตาขี้เกียจแต่เมื่อปัญหานี้ได้รับการแก้ไขโดยใช้ยามาบำบัดรักษา อาการตาขี้เกียจก็จะยังคงอยู่) สมองส่วนการมองเห็นที่ได้รับภาพจากตาข้างที่อ่อนแอไม่ได้ถูกกระตุ้นอย่างเหมาะสมและไม่ได้พัฒนาศักยภาพในการมองเห็นให้สมบูรณ์ ซึ่งการตรวจสอบสมองโดยตรงยืนยันสิ่งที่เกิดนี้ได้ เดวิด เอช ฮูเบล (David H. Hubel) และ ทอสเต็น วีเสล (Torsen Wiesel) ชนะรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาหรือ เวชศาสตร์ ใน พ.ศ. 2524 สำหรับการทำงานของพวกเขาที่แสดงให้เห็นถึงบริเวณที่ได้รับความเสียหายของคอลัมน์ตาข้างที่ถนัด (ลายเส้นของเซลล์ประสาทที่อยู่ในเปลือกสมองส่วนการเห็น) ของลูกแมวที่ถูกกีดกันการมองเห็นในระหว่างช่วงอายุที่เป็นช่วงอันตรายของชีวิต ช่วงเวลาที่อันตราย (ช่วงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากเพราะหากเกิดอะไรขึ้นในช่วงนี้จะแก้ไขไม่ได้) สูงสุดของชีวิตมนุษย์จะนับจากแรกเกิดถึงสองปี
การวินิจฉัยโรค
อาการตาขี้เกียจสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจพบความสามารถในการมองเห็นที่ต่ำในตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งไม่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางโครงสร้างของดวงตา และต้องแยกความผิดปกติทางการมองเห็นอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการมองเห็นที่ลดลงออกไปก่อน อาการนี้สามารถระบุได้จากความแตกต่างของความคมชัดในการมองเห็นระหว่างตาสองข้างตั้งแต่สองระดับขึ้นไป (เช่น เมื่อทดสอบด้วยแผ่นทดสอบสายตาสเนลเลน) ในกรณีที่ได้แก้ไขค่าสายตาให้ดีที่สุดแล้ว สำหรับเด็กเล็ก การวัดความคมชัดในการมองเห็นทำได้ยาก จึงต้องประเมินโดยการสังเกตปฏิกิริยาของผู้ป่วยเมื่อปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง รวมถึงสังเกตความสามารถของผู้ป่วยในการมองตามวัตถุด้วยตาเพียงข้างเดียว
การทดสอบการมองเห็นภาพสามมิติ เช่น การทดสอบแบบแลง (Lang stereo test) ไม่สามารถใช้เป็นการทดสอบที่เชื่อถือได้เพื่อคัดแยกอาการตาขี้เกียจ ผู้ที่ผ่านการทดสอบแบบแลงอาจไม่มีอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเข แต่อาจมีอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากค่าสายตาที่ผิดปกติหรือการถูกกีดกันการมองเห็นก็ได้ การตรวจด้วยเครื่องสแกนการหักเหแสงของจอประสาทตาทั้งสองข้าง (Binocular retinal birefringence scanning) อาจช่วยตรวจพบอาการตาขี้เกียจที่สัมพันธ์กับภาวะตาเข ตาเขเล็กน้อย หรือความบกพร่องในการจับจ้องวัตถุได้ตั้งแต่ในเด็กเล็ก การวินิจฉัยและรักษาอาการตาขี้เกียจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การสูญเสียการมองเห็นอยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้นจึงแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองอาการตาขี้เกียจในเด็กทุกคนที่มีอายุระหว่าง 3 - 5 ปี
การรักษา
การเยียวยารักษาอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเข และอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากค่าสายตาที่ต่างกันของตาสองข้างนั้นประกอบด้วยการแก้ไขความบกพร่องที่เกี่ยวกับสายตาโดยสวมใส่แว่นตาที่เหมาะกับค่าสายตาตามคำสั่งของแพทย์ และการบังคับให้มีการใช้งานตาข้างที่อ่อนแอโดยปิดตาข้างที่ดีหรือใส่ยาขยายรูม่านตาลงในตาข้างที่ดี หรือใช้ทั้งสองวิธี การใส่ยาขยายรูม่านตาจะให้ผลการรักษาเหมือนกับการปิดตาข้างเดียว ซึ่งหากทำการปิดตาข้างเดียวนานเกินไป หรือใส่ยาขยายรูม่านตามากเกินไปในการทำการรักษาอาการตาขี้เกียจ จะส่งผลให้เกิด “ตาขี้เกียจย้อนกลับ” ดังนั้นการรักษาโดยการปิดตาข้างเดียวจึงทำได้แค่ 4 – 6 ชั่วโมงต่อวัน และจะทำการรักษาอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ความสามารถในการมองเห็นได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น. อย่างไรก็ตามถ้าความสามารถในการมองเห็นไม่ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันก็จะไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไปในการปิดตาข้างเดียวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน
ส่วนอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากการถูกกีดกันการมองเห็นนั้นจะได้รับการรักษาโดยการเอาสิ่งที่ขัดขวางการมองเห็นออกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามด้วยการปิดตา หรือหยอดยาขยายรูม่านตาให้กับตาข้างที่ดีเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้งานตาข้างที่ขี้เกียจ ยิ่งเริ่มทำการรักษาเร็วเท่าไร (รักษาตอนที่เพิ่งเริ่มเป็น) การรักษาก็จะยิ่งง่ายขึ้นและเร็วขึ้นเท่านั้นและจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตน้อยลงด้วย นอกจากนี้ถ้าเริ่มทำการรักษาในช่วงแรกที่เริ่มมีอาการ โอกาสที่จะมีความสามารถในการมองเห็นเหมือนคนที่มีค่าสายตาปกติก็จะมากขึ้น
อนึ่ง ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 บริษัทบาร์เมอร์ (หนึ่งในผู้ให้บริการประกันสุขภาพของประเทศเยอรมัน) ได้เปลี่ยนกรมธรรม์ของบริษัทเพื่อให้ครอบคลุมราคาทุนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นตาขี้เกียจที่ได้รับการรักษาแบบปิดตาข้างเดียวแล้วแต่มีอาการไม่ดีขึ้น โปรแกรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังตาข้างดีในขณะที่ผู้ป่วยปิดตา
หลักฐานสำหรับการบำบัดความสามารถในการมองเห็นนั้นยังไม่มีความชัดเจน ณ ปี พ.ศ. 2554
-
- อายุที่มากขึ้น
การรักษาผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 9 ปีจนถึงวัยผู้ใหญ่สามารถทำได้ผ่านการฝึกการรับรู้แบบประยุกต์ จากหลักฐานเบื้องต้นพบว่าการฝึกการรับรู้นี้อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่
ระบาดวิทยา
อาการตาขี้เกียจจะเกิดขึ้นร้อยละ 2 - 5 ของประชาการในประเทศแถบตะวันตกซึ่งในประเทศอังกฤษนั้นร้อยละ90ของการนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพทางการมองเห็นในเด็กนั้นเกี่ยวข้องกับอาการตาขี้เกียจ
อย่างไรก็ตามร้อยละ 1 – 4 ของเด็กชาวตะวันตกนั้นมีอาการตาขี้เกียจ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ถูกเลือกเพื่อการวินิจฉัย
การวิจัย
การศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อสาธารณะ ได้เสนอว่าการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะซ้ำเป็นระยะ (Repetitive transcranial magnetic stimulation) อาจช่วยปรับปรุงความสามารถในการแยกความแตกต่างของภาพและความละเอียดในการมองเห็นของตาข้างที่มีอาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ได้ชั่วคราว วิธีการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและผลการศึกษายังรอการยืนยันจากนักวิจัยท่านอื่น ทั้งนี้อาจได้ผลการรักษาที่เทียบเคียงกันโดยใช้การกระตุ้นสมองแบบอื่น เช่น การกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (Anodal transcranial direct current stimulation) และการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเป็นชุด (theta burst rTMS)
การศึกษาในปี พ.ศ. 2556 สรุปว่าหลักฐานที่สอดคล้องกันชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์การมองเห็นที่ไม่สัมพันธ์กันของตาทั้งสองข้างมีบทบาทสำคัญในการเกิดอาการตาขี้เกียจและความบกพร่องที่หลงเหลืออยู่ อีกการศึกษาหนึ่งในปีเดียวกันพบว่า การเล่นเกมเทตริส (Tetris) ที่ได้รับการดัดแปลงให้ตาแต่ละข้างมองเห็นส่วนประกอบของเกมที่แตกต่างกัน อาจช่วยในการรักษาอาการนี้ในผู้ใหญ่ได้ นอกจากนี้ ผลของการบำบัดในรูปแบบนี้อาจเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการกระตุ้นสมองแบบไม่รุกล้ำ ดังที่แสดงในการศึกษาล่าสุดที่ใช้การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าตรง (Anodal tDCS)
การทบทวนวรรณกรรมโดยองค์กรคอเครนในปี พ.ศ. 2557 พยายามประเมินประสิทธิผลของการรักษาด้วยการปิดตาในผู้ป่วยที่มีอาการตาขี้เกียจจากการถูกกีดกันการรับความรู้สึก แต่ไม่พบการทดลองใดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรวมในการทบทวน อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาที่ดีจากการปิดตาในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการรักษาเป็นสำคัญ
อ่านตรวจทานโดย รศ. ดร. พญ. วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์
แปลและเรียบเรียบจาก https://en.wikipedia.org/wiki/amblyopia [2024, November 11] โดย สมพิศ สุวรรณภารต