ตัดเต้า (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ตัดเต้า-3

      

      อย่างไรก็ดี การผ่าตัดเต้านมก็มีความเสี่ยงที่ควรพิจารณาด้วยกันหลายปัจจัย เช่น

      ความเสี่ยงที่เกิดขี้นทันทีหลังการผ่าตัด

  • เลือดออกหรือติดเชื้อ
  • มีน้ำคั่งอยู่ใต้แผล
  • แผลหายช้า
  • เป็นแผลเป็น

      ความเสี่ยงในระยะยาว

  • การผ่าตัดเต้านมออกอาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียความรู้สึกที่เต้านม ทำให้มีผลต่อกิจกรรมทางเพศ
  • ผู้หญิงที่การผ่าตัดเต้านมออกจะไม่สามารถให้นมลูกได้
  • หลังการผ่าตัดเต้านมออก ผู้หญิงบางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือหดหู่ในรูปร่างของตน
  • แม้ว่าการผ่าตัดเต้านมออกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ร้อยละ 90 แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะไม่เป็นมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด เพราะบางครั้งเชื้ออาจกระจายไปยังกระดูกไหปลาร้าและรักแร้ เนื่องจากแพทย์อาจไม่สามารถตัดเซลล์มะเร็งออกได้หมด

      ดังนั้น ก่อนการทำการผ่าตัดจึงควรปรึกษาและขอความเห็นจากแพทย์คนที่สอง (Second opinions) ด้วย

      สำหรับทางเลือกอื่นในการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ได้แก่

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เช่น การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) การตรวจเอ็มอาร์ไอ
  • การผ่าตัดรังไข่ (Prophylactic oophorectomy) ซี่งจะช่วยลดความเสี่ยงทั้งการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ได้ประมาณร้อยละ 50 หากทำการผ่าตัดก่อนอายุ 50 ปี
  • การกินยาต้านฮอร์โมน ซึ่งได้แก่

- Tamoxifen เป็นยาที่ได้รับการรับรองจาก FDA ใช้กับผู้หญิงก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน (จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงสูงกินยานี้เป็นเวลา 5 ปี สามารถลดความเสี่ยงได้ประมาณร้อยละ 50)

- Raloxifene เป็นยาที่ได้รับการรับรองจาก FDA ใช้กับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงสูงกินยานี้เป็นเวลา 5 ปี สามารถลดความเสี่ยงได้ประมาณร้อยละ 38)

- Exemestane ใช้สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงสูงกินยานี้เป็นเวลา 5 ปี สามารถลดความเสี่ยงได้ประมาณร้อยละ 65)

- Anastrozole ใช้สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • งดแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่มีภาวะวัยหมดประจำเดือน (Menopause) ควรหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยยาฮอร์โมน (Hormone therapy) บางตัว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Prophylactic Mastectomy. https://www.breastcancer.org/treatment/surgery/prophylactic_mast [2018, February 4].
  2. .
  3. Preventive (prophylactic) mastectomy: Surgery to reduce breast cancer risk. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/mastectomy/in-depth/prophylactic-mastectomy/art-20047221 [2018, February 4].
  4. Surgery to Reduce the Risk of Breast Cancer. https://www.cancer.gov/types/breast/risk-reducing-surgery-fact-sheet [2018, February 4].