ตะกั่ว (Lead)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 สิงหาคม 2558
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคเลือด (Blood Diseases)
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- โลหิตจาง เลือดจาง ซีด (Anemia)
ตะกั่ว (Lead หรือภาษาลาตินเรียกว่า Plumbum มีสัญลักษณ์ว่า Pb ) เป็นแร่ธาตุที่เป็นโลหะหนัก เป็นสารพิษ และเป็นแร่ธาตุที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายอาจได้รับจากที่ปน เปื้อนในดิน แหล่งน้ำ จากการเกษตร (เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช) โรงงานอุตสาหกรรม (เช่น อุตสาหกรรม แบตเตอรี) เครื่องใช้บางชนิด (เช่น แบตเตอรี สีทาบ้าน) เครื่องเล่นเด็ก ควันรถยนต์ เป็นต้น
อาการจากได้รับสารตะกั่วต่อเนื่อง (อาจจากการดื่ม กิน สัมผัส และ/หรือหายใจ) จนเกิดพิษต่อร่างกายเช่น สติปัญญาด้อยลง (ในเด็กจะพบมีการพัฒนาการช้า การเจริญเติบโตช้า) สับ สน ความเข้าใจในสิ่งต่างๆลดลง ก้าวร้าว มีปัญหาการได้ยิน ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนไม่หลับ ปวดท้องเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง และภาวะซีด ส่วนการเกิดโรคมะเร็ง การศึกษายังได้ผลไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้เมื่อมีอาการดังกล่าวหรือสงสัยได้รับพิษตะกั่ว ควรรีบไปโรงพยาบาล
แพทย์วินิจฉัยภาวะพิษจากสารตะกั่วได้จากประวัติบริโภค/สัมผัสสารตะกั่ว ร่วมกับอา การของผู้ป่วย และการตรวจปริมาณสารตะกั่วในเลือดและในปัสสาวะ
อนึ่ง ค่าปกติของตะกั่วในเลือดคือ
- ในผู้ใหญ่: น้อยกว่า 20 Microgram/deciliter (dL)
- ในเด็ก: น้อยกว่า 5 Micrograms/dL
บรรณานุกรม