1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 29

โรงพยาบาลเอกชนที่มีแผนขยายจำนวนเตียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มีเพิ่มเติมดังนี้

  • รพ. อินทรรัตน์ จำนวน 152 เตียง
  • รพ. หทัยราษฎร์ จำนวน 126 เตียง
  • รพ. วัฒนแพทย์ กระบี่ จำนวน 59 เตียง

ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน (Medical service competitiveness index) ดูจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. สภาพแวดล้อมและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Business environment and strategy)
  2. ปัจจัยการผลิต (Factors of production)
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and innovation)
  4. การผลิต
  5. ความยั่งยืน (Sustainability)
  6. การบริหาร (Management)
  7. ผลิตภัณฑ์และตลาด (Product and market)
  8. ผลงาน (Performance)
  9. โอกาสในอนาคต (Future prospect)

ซึ่งประเทศไทยด้อยกว่าสหรัฐอเมริกาในทุกข้อ ยกเว้นข้อ 7 และด้อยกว่าญี่ปุ่น ในทุกข้อ ยกเว้นข้อ 2, 6, และ ข้อ 8 แต่เด่นกว่าประเทศอื่นๆ (สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินเดีย) ในข้อ 2, 5, 6, 7, 8, และ 9

ดัชนีชี้วัดความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์ (Medical service readiness index) อันประกอบด้วย

  • กลยุทธิ์และการจัดองค์กร (Strategy and organization)
  • โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart hospital)
  • ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Smart operations)
  • บริการอัจฉริยะ (Smart service)
  • บริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven service)
  • ความสามารถของบุคลากร (People’s capability)
  • สายโซ่อุปทาน (Supply chain)

ในภาพรวม (Overall) ประเทศไทยได้คะแนน 2.0 [จากคะแนนเต็ม 4.0] ในปี พ.ศ. 2558, เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 ในปี พ.ศ. 2562, และเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ในปี พ.ศ. 2567  

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2024, February 22].
  2. https://www.imd.org/centers/wcc/world-competitiveness-center/rankings/ [2024, February 22].