1. ตลาดโรงพยาบาล - ตอนที่ 5

ข้อมูลจากศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รายงานว่า ลูกค้ากลุ่มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) เป็นลูกค้าสำคัญที่สร้างรายได้ให้โรงพยาบาลเอกชน ให้เติบโตในช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่เมื่อเกิดวิฤตการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) มาตรการของรัฐในการคุมเข้มการเข้า-ออกประเทศ ทำให้รายได้ส่วนนี้ปรับลดลงจากการงดเดินทางระหว่างประเทศ

ต่อมารัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศ และเริ่มเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในช่วงครึ่งปีหลัง พ.ศ. 2565 โดยการยกเลิกใบผ่านประเทศ (Thailand Pass) ส่งผลให้รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนที่พึ่งพารายได้จากผู้ป่วยต่างชาติในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง กลับมาคึกคักอีกครั้ง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2565 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในปี พ.ศ. 2566 และต่อเนื่องในปีถัดๆ ไป

จากข้อมูลของเครือข่ายกรุงเทพดุสิตเวชการ (Bangkok Dusit Medical Services: BDMS) อันประกอบด้วย กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช, กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท, กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาล BNH, และกลุ่มโรงพยาบาล Royal (ในประเทศกัมพูชา) รวมทั้งสิ้นเกือบ 50 แห่ง พบว่า รายได้จากผู้ป่วยต่างชาติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และขยายตัวอย่างก้าวกระโดดมาตั้งแต่ไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2565 ดังนั้น คาดว่าการเปิดประเทศจะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ตลาดกลุ่มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ทยอยฟื้นตัวชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 รายได้ (Revenue) จากการดำเนินธุรกิจและกำไรสุทธิ (Net profit) โดยรวม ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Security Exchange of Thailand: SET) แห่งประเทศไทยจำนวน 24 ราย มีรายได้รวม 125,499 ล้านบาท เติบโต +48.9% จากปี พ.ศ. 2564 และมีกำไรสุทธิรวม 24,226 ล้านบาท ก็เติบโตสูง +173.8% จากปี พ.ศ. 2564  

กลุ่มลูกค้าหลักที่มาใช้บริการเป็นผู้ป่วยชาวไทย และยังได้รับอานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ส่งผลดีต่อรายได้ของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีสัดส่วนผู้ป่วยต่างชาติสูงในโรงพยาบาลชั้นนำ อย่างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ [ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนโดดเดี่ยว (Stand-alone) ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด] และกลุ่ม BDMS [ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเครือข่าย (Net-work) ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด]

ข้อมูลจากแหล่งข่าว PPTVhd36 รายงานว่า กลุ่มผู้ใช้บริการนิยมเข้าโรงพยาบาลเอกชน มีการใช้ "ทุกสิทธิค่ารักษาสุขภาพ" ซึ่งช่วงปี พ.ศ. 2564 พบว่า 3 ประเภทสิทธิของการใช้บริการได้แก่

  1. สิทธิประกันสังคมสัดส่วน 2% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิด-19 [ปี พ.ศ. 2563]
  2. สิทธิบริษัทประกันสุขภาพสัดส่วน 3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิด-19 เช่นเดียวกับสวัสดิการจากนายจ้างที่เพิ่มขึ้น
  3. สิทธิบัตรทอง (30 บาทรักษาทุกโรค) สัดส่วน 5% ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 

อีกสัดส่วน 51.0% ที่เหลือเป็นของผู้จ่ายเงินเอง (Self-pay) จึงสรุปได้ว่า สิทธิประกันสังคมและสิทธิบริษัทประกันสุขภาพ [ซึ่งมีสัดส่วนรวมกัน 24.5% ของคนไทยที่ใช้บริการรักษาพยาบาล] ยังเป็นช่องทางสำคัญสำหรับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2023, April 28].
  2. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/179660 [2023, April 28].