1. ตลาดโรงพยาบาล - ตอนที่ 4

แหล่งข่าวจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา รายงานว่า ที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) ตามความต้องการ (Demand) ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทย และจากประเทศเพื่อนบ้าน (Neighboring) และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health-care tourism)

นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ (Government policy) โดยเฉพาะมาตรการยกเว้นภาษี (Tax-exemption) ส่งผลให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุน (Investment expansion) อย่างรวดเร็ว

โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเร่งขยายกิจการผ่านการซื้อหรือควบรวม (Acquisition or merger) เพื่อเปิดสาขาใหม่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดที่เป็นเมืองสำคัญ และเข้าไปถือหุ้น (Stock-holding) ในโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ เพื่อลงทุนหรือสร้างพันธมิตร (Alliance) ทางธุรกิจ

ผลลัพธ์ก็คือเกิดกลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ขึ้นหลายกลุ่ม (Net-work) เช่น กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ [ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มย่อยโรงพยาบาลสมิติเวช, กลุ่มย่อยโรงพยาบาลพญาไท, กลุ่มย่อยโรงพยาบาลเปาโล และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช], กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี, กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์, กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง, กลุ่มโรงพยาบาลสินแพทย์ เป็นต้น

การรวมกลุ่ม (Consolidation) ดังกล่าว เพิ่มความเข้มแข็ง (Strengths) และมีลูกค้าเป้าหมาย (Target group) ที่ชัดเจน ในขณะที่โรงพยาบาลขนาดกลางและเล็ก ต่างต้องเร่งปรับตัวไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialty) เพื่อเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche market)

โครงสร้างรายได้ของโรงพยาบาลเอกชน ส่วนมากมาจากค่ายา ซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดอยู่ที่ 35.2% ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ รายได้จากบริการทางการแพทย์ 20.0%, การวิเคราะห์ผลรวม (จากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และจากห้องตรวจทางรังสีวิทยา) 13.7%, ห้องพักผู้ป่วย 8.5%, และอื่นๆ อีก 22.6%

แหล่งข่าวจาก PPTVhd36 รายงานโดยอ้างอิงถึงศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี พ.ศ. 2565 ว่า ได้รับแรงหนุน (Push) ปัจจัยจากการรับรักษาคนป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และความต้องการรักษาโรคที่ไม่เกี่ยวกับโควิด-19 

นอกจากนี้ การที่รัฐบาลไทย มีนโยบายเปิดประเทศอย่างเต็มตัว ที่ทำให้รายได้จากคนไข้ต่างชาติทยอยฟื้นตัว ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2565 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน มีการขยายตัวในอัตราก้าวกระโดด (Acceleration) ถึง +42.5% จากปีก่อน (Year-to-year growth) อันเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (Economic recovery)

เป้าหมายในปี พ.ศ. 2566 คือการขยายตัวของโรงพยาบาลเอกชนที่น่าจะเพิ่มขึ้น +19.8% จากปีก่อน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเดินทางระหว่างประเทศที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนการเดินทางภายในประเทศก็สะดวกอยู่ขึ้นแล้ว แล้วยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของลูกค้ากลุ่มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ จากประเทศอาเซียน (ASEAN), จีน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, และตะวันออกกลาง ที่เชื่อมั่นในคุณภาพการรักษา, ค่ารักษาพยาบาล, และค่าครองชีพที่ไม่สูงมากเกินไปเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

แหล่งข้อมูล  

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2023, April 21].
  2. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/179660 [2023, April 21].