4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 43

ผลิตภัณฑ์/นวัตกรรม (Innovation) การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced) เช่น หุ่นยนต์ (Robot) ดูแลผู้ป่วย ซึ่งช่วยประเมิน (Assess) ดูแล/ฟื้นฟู (Recover) ผู้ป่วย หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส,  ตู้ความดันบวก (Positive pressure) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และตู้ความดันลบ (Negative pressure) สำหรับผู้ป่วย

อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง (Powered air purifying respiratory: PAPR), เครื่องตรวจร่างกายแบบลดการสัมผัส Contactless self-service body check-up), รวมถึงผลิตภัณฑ์ช่วยยับยั้ง (Deter) และป้องกัน (Protect) เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น ไวรัส SARs (= Severe Acute Respiratory Syndrome) -COV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19, H1N1 (ไข้หวัดใหญ่ [Influenza]) และ RSV [Respiratory syncytial virus] เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ผู้สูงอายุ (Elderly) ประมาณ 9 ล้านคน เป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) จำนวนมากกว่า 4 ล้านคน รองลงมาคือ โรคเบาหวาน (Diabetes) จำนวนมากกว่า 2 ล้านคน

กลุ่มการผลิตเครื่องมือแพทย์ (Medical device) มีผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 11 กลุ่ม ได้แก่

  1. ผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ (Geriatric)
  2. ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูร่างกาย (Rehabilitation)
  3. เครื่องมือรักษาผิวพรรณและความงาม (Skin care and aesthetics)
  4. วัสดุสิ้นเปลืองที่มีนวัตกรรม (Innovative supplies)
  5. วัสดุฝังใน (Implant)
  6. ชิ้นส่วนของเครื่องวินิจฉัยทางไฟฟ้าและรังสี (Electrical and radiation diagnostics)
  7. หุ่นยนต์ทางการแพทย์และระบบอัตโนมัติ (Robotic and automation)
  8. ทันตกรรม (Dentistry)
  9. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
  10. แก้วตาเทียม (Intraocular lens) และ
  11. น้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัย (Reagent and diagnostics kit)

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการผลิต (Production base) ในไทย เช่น นักลงทุน (Investor) ชาวญี่ปุ่น สนใจใช้ไทยเป็นฐานการผลิตหน้ากากอนามัย (Medical mask) และอุปกรณ์ตรวจและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (Percutaneous coronary intervention: PCI)

ส่วนเกาหลีใต้ มีโครงการลงทุนธุรกิจการแพทย์ขนาดใหญ่ (Maga-project) ในวงเงิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ร่วมกับนักลงทุนไทย เช่น บริษัท เจเนไซน์ อิงค์ ร่วมกับบริษัท คินเจน โฮลดิ้งส์ ของไทย ผลิตวัตถุดิบในการผลิตยาชีววัตถุ (Biological products) ทดแทน (Substitute) ยาเคมี

สำหรับเยอรมัน เช่น บริษัท HAASE Investment ร่วมกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ (ไทย) ผลิตตัวทำปฏิกิริยาชีวภาพ (Biological reaction) ในการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) และการผลิตรากฟันเทียม (Dental implant)

ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced therapy medical products: ATMPs) เป็นเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงที่นำมาใช้ในการบำบัด, บรรเทา (Alleviate), ฟื้นฟู (Recover), หรือรักษา (Treat) ความเจ็บป่วยที่มีความจำเพาะ (Specific) ต่อโรค (Disease) หรือตัวผู้ป่วย (Patient) มากขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, October 22].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, October 22].