4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 24

ปี พ.ศ. 2566 ถึง 2568 ตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 5.5 ถึง 7.0% ต่อปี ขณะที่มูลค่าส่งออก (Export value) จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.5 ถึง 7.5% ต่อปี จากปัจจัย (Factor) หนุนหลายด้าน

ตัวอย่างเช่น อัตราการเจ็บป่วย (Sickness) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการเข้าสู่สังคมสูงวัย (Geriatric) และการเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) การเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ซึ่งไทยมีจุดแข็ง (Strength) ด้านค่ารักษาพยาบาลและคุณภาพการบริการ (Service quality) เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

ยิ่งกว่านั้น กระแสการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive health-care) ที่กำลังแพร่หลายโดยเฉพาะหลังวิกฤต (Crisis) ของไวรัส COVID-19 รวมถึงความต้องการเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ Medica equipment) ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญของไทย และที่สำคัญ คือ นโยบายภาครัฐ (Public policy) ที่ส่งเสริม (Promote) ให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (International medical hub)

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของรัฐให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ของภูมิภาค (Regional center) ในอาเซียน [ASEAN = Association of South-East Asia Nations] ปัจจัยข้างต้น สะท้อน(Reflect) โอกาสการเติบโต (Growth opportunity) ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Medical-device industry) ในประเทศไทย 

ปัจจัยท้าทาย (Challenge) ของธุรกิจที่อาจจำกัด (Limit) การเติบโตของอุตสาหกรรม เช่น ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ของไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs (= Small and medium-sized enterprise) ซึ่งผลิตวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Medical supplies)นับเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced technology)

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องนำเข้า (Import) อุปกรณ์การผลิต (Production machine) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงอาจเผชิญความเสี่ยง (Risk) จากความผันผวน (Fluctuation) ของค่าเงิน (Foreign exchange) และต้นทุน (Cost) สินค้านำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

รวมถึงอาจมีข้อจำกัดด้านเงินทุน (Capital) และท้ายสุด คือ ภาระ (Burden) ต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวสู่ (Transition) การผลิตเครื่องมือแพทย์ที่เน้นใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ (Bio-degradable) ตามธรรมชาติ เพื่อลดมลภาวะ (Pollution) ทางสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนสู่สังคมไร้ขยะ (Zero-waste society) ของโลก

หน่วยวิจัยธนาครกรุงศรีอยุธยา ได้ประเมินผลประกอบการของธุรกิจโดยรวมจะขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยแยกเป็น 3 มิติ ดังนี้

  1. ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์
  2. ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์
  3. ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, January 14].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, January 14].